กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ขับเคลื่อนการพัฒนาฟาร์มไข่ผำอินทรีย์ต้นแบบให้ได้มาตรฐาน Good Agriculture Practices (GAP) และ Participatory Guarantee System (PGS) และพัฒนาสู่ฟาร์มไข่ผำให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยนำร่องใน 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยยเอ็ด กาฬสินธุ์และ ขอนแก่น เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทย ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2568
ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการสถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ (สอช.) วศ. เปิดเผยว่า ไข่ผำ (Wolffia) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "คาเวียร์เขียว (Green Caviar)" เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งบางสายพันธุ์มีปริมาณสูงถึง 48.6% ทั้งยังได้รับการผลักดันให้เป็นพืชยุทธศาสตร์ในหมวดอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงไข่ผำในแหล่งน้ำธรรมชาติบางแห่ง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงจากปัญหาการปนเปื้อนจากสารเคมี โลหะหนัก และจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วศ. ได้ร่วมมือกับ มมส. ในการพัฒนาและยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์ต้นแบบ โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากภาครัฐและเอกชน พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพสามารถผลิตไข่ผำให้ได้มาตรฐาน GAP และ PGS ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตให้มีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
คณะนักวิจัย วศ. ได้เข้าพบ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ รองคณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาฟาร์มต้นแบบ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและเยี่ยมชมฟาร์มไข่ผำของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านเชียงงาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้วิธีเพาะเลี้ยงไข่ผำในบ่อดินโดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติจากเขื่อนลำปาว และวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปพืชสวนและพืชน้ำสำราญโรจน์ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ที่ใช้ระบบบ่อปูนซีเมนต์ซึ่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาลในการเพาะเลี้ยง การลงพื้นที่ดังกล่าวช่วยให้สามารถประเมินศักยภาพของระบบการเพาะเลี้ยงแต่ละรูปแบบ และหาแนวทางในการพัฒนาฟาร์มต้นแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรไทยในการแข่งขันในตลาดอาหารแห่งอนาคต ต่อยอดสู่ความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรมของประเทศ
โก โฮลเซลล์ (GO WHOLSALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร ที่มีความสดใหม่ตลอดเวลาเพื่อผู้ประกอบการ ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เร่งค้นหาโอกาสที่สดใหม่ ด้านการเฟ้นหาทรัพยากรบุคคล ลุยชี้แนะนักศึกษาถึงรั้วมหาวิทยาลัย เน้นทำงานตรงสายเสริมแกร่งผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ นำร่องที่แรก 'มหาวิทยาลัยมหาสารคาม'! นางสาวยิ่งลักษณ์ นิพนธ์ศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด กล่าวว่า โก โฮลเซลล์ มีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอทางเลือกที่สดใหม่
นักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีคว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันนวัตกรรมการท่องเที่ยว
—
นักศึกษาจากวิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าด้านธุรกิจบริการ...
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมอบโล่เชิดชูเกียรติครบรอบ 55 ปี ให้แก่ที่ปรึกษาด้านการตลาดและสื่อสารการตลาดของมหาวิทยาลัย
—
รศ.ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล รักษาการอธิการบดี ม...
ยิปซัมตราช้างจัด โครงการประกวดแบบภายใน บ้านซำบาย สไตล์ยิปซัมตราช้าง เสริมสร้างประสบการณ์ผ่านการออกแบบอย่างยั่งยืน
—
บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สระบุรี) ...
ยิปซัมตราช้าง มอบรางวัลผู้ชนะจาก "โครงการประกวดแบบภายใน บ้านซำบาย สไตล์ยิปซัมตราช้าง"
—
บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สระบุรี) จำกัด หรือ "ยิปซัมตราช้าง" น...
การจัดการทางการเงินเพื่อเสริมสร้างการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจชีววิทยาศาตร์ในการเข้าสู่ตลาดทุน
—
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี...
มมส จับมือ ทีซีซีเทค และ ยิบอินซอย ตั้งเป้าสู่การเป็น Digital Learning Hub ในภาคอีสาน
—
เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโล...