ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล "Grand Prize" สุดยอดนวัตกรรม เวที IPITEx 2025

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ผลงานวิจัย "GFPR Wiremesh วัสดุทดแทนเหล็กเสริม" ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล "Grand Prize" การประกวดสุดยอดนวัตกรรม เวที IPITEx 2025

ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล "Grand Prize" สุดยอดนวัตกรรม เวที IPITEx 2025

ผลงานวิจัยเรื่อง"Innovative composite bar mesh : GFRP wire mesh" วัสดุทดแทนเหล็กเสริมในการก่อสร้าง ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวภัคจิรา อ่อซ้าย นักศึกษาปริญญาเอก (หัวหน้าทีม),นางสาวสุวีรยา ประไพวรรณ์,นางสาวปิยฉัตร ทองจันทร์,นางสาวศิริกานต์ ชาลี,นายศอลีฮีน ฮาแว และนายกวินภพ นบนอบ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ Ms.Radhika Sridhar นักวิจัยหลังปริญญาเอก โดยมี อาจารย์ทนงศักดิ์ อิ่มใจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัล "Grand Prize" สุดยอดนวัตกรรม เวที IPITEx 2025

คว้ารางวัลชนะเลิศสูงสุด Best of the Best "Grand Prize 2025" ได้รับถ้วยรางวัลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร จากเวทีมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ (IPITEx 2025) ภายในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 (Thailand Inventors' Day 2025) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ 28 องค์กรนานาชาติและ 32 องค์กรไทยจัดขึ้น โดยมีทีมกว่า 700 ทีมจากทั่วโลกเข้าร่วม

นางสาวภัคจิรา อ่อซ้าย นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมโยธา มวล. ในฐานะหัวหน้าทีม เปิดเผยว่า ผลงานเรื่อง GFRP wire mesh เป็นวัสดุจากไฟเบอร์กลาสผสมเรซิน เพื่อใช้ทดแทนเหล็กเสริมที่ใช้ในการก่อสร้าง ช่วยลดปัญหาความเสี่ยงจากการเกิดสนิมที่ทำให้โครงสร้างเสื่อมสภาพเร็วขึ้น โดยคุณสมบัติเด่นของ GFPR Wiremesh คือมีความแข็งแรงและทนทานสูงเทียบเท่าหรือมากกว่าเหล็กเสริมบางประเภทและไม่เกิดสนิมเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรือน้ำ มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กเสริม ทำให้สะดวกต่อการขนส่งและติดตั้ง ทนต่อการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมี หรือในบริเวณที่มีความชื้นสูงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีการใช้โลหะหนักหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายในการผลิต

ทั้งนี้เมื่อ GFPR Wiremesh ถูกฝังในคอนกรีต จะช่วยป้องกันการแตกหักหรือการเสียรูปของโครงสร้างได้ดีขึ้นที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความทนทานต่อการใช้งานระยะยาว และสามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างหลากหลายประเภท เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่ใช้ในอาคารและสะพาน งานถนนและทางเดิน ฯลฯ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าเหล็กเสริมในหลายด้านทั้งด้านความทนทานและการลดต้นทุนระยะยาวด้วย

นางสาวภัคจิรา กล่าวต่อไปอีกว่า ทีมเรารู้สึกภูมิใจและตื่นเต้นมาก เนื่องจากทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรางวัลนี้นอกจากจะเป็นการยืนยันถึงความสามารถของเยาวชนไทยแล้ว ยังเป็นรางวัลตอบแทนจากความทุ่มเทที่ได้ทำมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งมั่นและพัฒนาตนเองต่อไป ที่สำคัญเวทีดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งในด้านการทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาภายใต้ความกดดัน การใช้ภาษาอังกฤษและการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่มีค่าที่จะนำไปใช้ในชีวิตการทำงานและการเรียนในอนาคต

"ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ สาขาวิศวกรรมโยธาและครอบครัว ที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในทุกๆ ด้านและเป็นกำลังใจให้พวกเราจนสามารถผ่านการแข่งขันและคว้ารางวัลครั้งนี้มาได้ และขอขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดงานที่สร้างโอกาสให้นักศึกษาอย่างเราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองผ่านการแข่งขันในเวทีคุณภาพเช่นนี้" นางสาวภัคจิรา กล่าวทิ้งท้าย


ข่าววิศวกรรมศาสตร์+สุดยอดนวัตกรรมวันนี้

แฮกสุดยอดไอเดียนิวเจน…ทรู เปิดโชว์เคสนวัตกรรมทำถึง ปลุกขยะ e-Waste คืนชีพ จากปฏิบัติการ "e- Waste HACK BKK 2024" เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นจริงของคนกรุงเทพฯ

บ่มเพาะนิวเจน สู่นวัตกรพลิกฟื้นขยะอิเล็กทรอนิกส์ คืนคุณค่าสู่สังคม…ทรู คอร์ปอเรชั่น เทคคอมปานีไทย แกะกล่อง 6 สุดยอดนวัตกรรมทำถึง ผู้ชนะโครงการ "e-Waste HACK BKK 2024" ได้แก่ 3 ทีมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3 ทีมระดับอุดมศึกษา แจ้งเกิดนวัตกรรุ่นใหม่จากความร่วมมือกับ สถานเอกอัครราชทูตสวีเดน ประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท เอสเค เทส ไทยแลนด์ จำกัด แฮกไอเดียนิวเจน ครีเอทผลงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการรีไซเคิลชิ้นส่วน e-Waste

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม... รอบที่ 3 รับสมัครนักศึกษาใหม่ รอบ Admission น้องๆนักศึกษาเตรียมตัวให้พร้อม — คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับนั...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโ... 'SPU Engineering Camp 2025' ม.ศรีปทุม พานักเรียนสัมผัสโลกวิศวกรรม เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง! — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการ "SPU Enginee...