ศิลป์-จีน ม.วลัยลักษณ์ ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้วัฒนธรรมจีน จ.ตรัง ยกระดับสู่เครือข่ายยูเนสโก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ ม.สงขลานครินทร์และภาคีเครือข่ายเทศบาลนครตรัง จัดโครงการ "ตรัง ดัง เด่น : เมืองแห่งการเรียนรู้อิสระเสรีบนทุนทางวัฒนธรรมจีน"ขับเคลื่อน จ.ตรัง เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ยกระดับสู่เครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก

ศิลป์-จีน ม.วลัยลักษณ์ ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้วัฒนธรรมจีน จ.ตรัง ยกระดับสู่เครือข่ายยูเนสโก

อาจารย์ ดร.เกตมาตุ ดวงมณี อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ตนและอาจารย์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พร้อมคณะทำงานและ ภาคีเครือข่ายเทศบาลนครตรัง จัดโครงการ "ตรัง ดัง เด่น : เมืองเรียนรู้อิสระเสรีบนทุนทางวัฒนธรรมจีน" สร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยมีปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ และนวัตกรชุมชน เล่าขานความเป็นมา วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและประสบการณ์ที่ร้อยเรียงผ่านกาลเวลาของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ จ.ตรัง ทั้งเรื่องตำนานอาหารจีนที่โด่งดังมาถึงปัจจุบันของจังหวัดตรัง อาทิ หมูย่างเมืองตรัง ขนมเค้ก เกาหยุก ตำนานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง รวมถึงกิจกรรมสำรวจแผนที่ทางวัฒนธรรม ศาลเจ้าของชาวจีน และตำนานวัฒนธรรมประเพณีชาวจีน อาทิ ประเพณีถือศีลกินผัก ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของชาวจีนเชื้อสายต่าง ๆ และชาวไทยในชุมชนและการสร้างระบบนิเวศในการเรียนรู้อิสระเสรีแก่บุคคลทุกช่วงวัยในทุกสถานที่ ทั้งในระดับครอบครัวหรือชุมชน ศิลป์-จีน ม.วลัยลักษณ์ ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้วัฒนธรรมจีน จ.ตรัง ยกระดับสู่เครือข่ายยูเนสโก

โดยมีความร่วมมือของเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน การใช้พื้นที่สาธารณะให้เป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำอัตลักษณ์วัฒนธรรมจีนไปสู่การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ และอนุรักษ์รวมถึงบริหารความเสี่ยงในการสาบสูญไปตามกาลเวลา และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้ของชุมชน เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนในท้องถิ่นดั้งเดิมกับเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เข้าถึงกลุ่มผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับชั้นการศึกษาและชุมชนโดยตรง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้คนมาสัมผัสเรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมข้างต้น ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ชุมชนเกิดความเสมอภาคพึ่งพาตนเองได้ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และนำไปสู่การเป็นประเทศที่มีความสุขในโลกดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับ จากทั่วทุกมุมโลกในอนาคต

ภายในโครงการได้จัดเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรม "ภาษา ภาพ อักษร : อัตลักษณ์ร่วมจีน" ที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนประจำปี 2568 ที่ผ่านมา ณ บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครตรัง อ.เมือง จ.ตรัง ภายในงานมีกิจกรรมการสาธิต การแสดง และการฝึกปฏิบัติศิลปะการเขียนพู่กันจีน การพูดภาษาจีน ศิลปะการวาดหน้ากากจีน และอาหารชาติพันธุ์จีน จากผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของภาษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจและประชาชนได้ร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ พร้อมบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนโดยมีนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน ในรายวิชาการแปลภาษาจีน ม.วลัยลักษณ์ ร่วมทำกิจกรรมเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีน เช่น การใช้ภาษาจีนในการสื่อสารและการปฏิบัติเขียนพู่กันจีนแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

อาจารย์ ดร.เกตมาตุ กล่าวในตอนท้ายว่า โครงการ "ตรัง ดัง เด่น : เมืองเรียนรู้อิสระเสรีบนทุนทางวัฒนธรรมจีน ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้ประเด็น "การยกระดับและขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)" ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในมิติการพัฒนาด้านการศึกษาแนวคิด "การศึกษาตลอดชีวิต" (Lifelong Learning) ที่มีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยกระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละภาคส่วนในจังหวัดจะผลักดันให้เกิดเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกต่อไป (UNESCO Global Network of Learning Cities: GNLC)


ข่าววิทยาเขตตรัง+การเรียนรู้วันนี้

นักศึกษา ม.อ.ตรัง คว้า 2 รางวัลจากโครงการ YICMG ครั้งที่ 7 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและกิจการพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ยูรวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ดร.สุธิภรณ์ ตรึกครอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ วิทยาเขตตรัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรกัญญา ง่วนสนสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมตัวแทนอาจารย์และนักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมโครงการ The 7th Youth Innovation Competition on Lancang

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 นักศึกษาคณะสถ... นักศึกษา สถาปัตย์ ม.อ.ตรัง คว้า 3 รางวัล ประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2022 — เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหา...

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ที่ ลานโปรโมช... สถาปัตย์ ม.อ.ตรัง คว้ารางวัลชมเชย ประกวดออกแบบบ้าน MT Design Award Season — เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ที่ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรท...

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 มหาวิทยาลัยสงขลานคร... ม.อ.ตรัง จัดงาน ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2565 ชูแนวคิด "นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน" — วันที่ 2 ธันวาคม 2565 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง นายชว...

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ ... ศูนย์ UDC ม.อ.ตรัง ร่วมจัดนิทรรศการ "วัดต้นแบบเพื่อชุมชนที่เป็นมิตรกับทุกคน" ในงาน WOW2022 — เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู ผู้อำนวยก...

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ที่บริษัท เทพไทยโป... คณะพาณิชยศาสตร์ฯ ม.อ.ตรัง ลงนาม MOU ทางวิชาการ กับ บจ.เทพไทยโปรดัคท์ — วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ที่บริษัท เทพไทยโปรดัคท์ จำกัด สำนักงานใหญ่ จังหวัดสงขลา ดร....

สงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตตรัง โชว์ศัก... เด็ก ม.อ. สุดเก่ง คว้ารางวัล The Best Creative Award จากเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ YICMG 2021 — สงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตตรัง โชว์ศักยภาพนักศึกษาคิ...

รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รอง... ทีม Young Old Expertise Exchanger ม.อ. คว้ารางวัล The Best Creative Award จากเวที YICMG 2021 — รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาล...