รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว....จริงหรือ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หลาย ๆ คนคิดว่า อ้วน ก็แค่น้ำหนักตัวมาก ถ้าไม่เป็นโรคก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หารู้ไม่ว่า "สภาวะอ้วน" ถือว่าเป็นโรค โรคหนึ่ง เป็นภัยเงียบ ที่ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมถึงทำให้อายุสั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ!!!

รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว....จริงหรือ?

นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง รพ.ศิครินทร์ กล่าวว่า ผลกระทบของโรคอ้วนนั้น มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถแยกเป็น 9 หัวข้อหลัก ได้แก่

  1. ระบบหัวใจ และหลอดเลือดโดยน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะเพิ่มภาระการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และเกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด จนหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต (Ischemic stroke) เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด (Myocardial Infarction) และ หัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
  2. ระบบทางเดินหายใจ เชื่อหรือไม่ว่า แค่การนอนกรน ไม่ได้เป็นแค่ปัญหาต่อคนรอบข้าง แต่ยังส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดของตัวผู้ป่วยเอง โดยในผู้ป่วยโรคอ้วนกว่า 90% จะมีสภาวะนอนกรน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะการหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ทำให้เราขาดออกซิเจนเรื้อรัง ไม่เพียงแต่ทำให้เราพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ยังทำให้มีความจำสั้นลง ความดันในเลือดสูง ตลอดจนหัวใจล้มเหลวตามมาได้
  3. ระบบต่อมไร้ท่อ หรือ ฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกาย แน่นอนว่าทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าสภาวะโรคอ้วนจะตามมาด้วย โรคเบาหวานชนิดที่สอง (Diabetes Mellitus type 2) และ สภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลที่มีอยู่ในเส้นเลือดได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น แผลเรื้อรังที่ขา (Diabetic Foot), เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy), เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy)
  4. ระบบทางเดินน้ำดี ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี เกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดโรคไขมันเกาะตับ (Non-alcoholic fatty liver disease หรือ NAFLD) ที่เรารู้จักกันดี ไขมันก็ไม่ได้แค่ไปแปะอยู่ที่ตับเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้เกิดการอักเสบตลอดเวลา (Non-alcoholic steatohepatitis หรือ NASH) จนทำให้เกิดสภาวะตับแข็งตามมา (Cirrhosis) และโรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) ซึ่งก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถพบได้มากในผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากส่วนประกอบในน้ำดีที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับคลอเรสเตอรอล ที่สูงขึ้นทำให้เกิดนิ่วชนิดที่เรียกว่า Cholesterol Stone
  5. ระบบทางเดินอาหาร เมื่อเรามีไขมันสะสมอยู่มาก ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องมากขึ้น จนเกิดเป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) ตามมาซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมาได้ในอนาคต
  6. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เมื่อข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายต้องรับน้ำหนักมากขึ้น (Weight bearing joint) จะทำให้มีอาการปวดเข่า ข้อเท้า สะโพก ได้ และอาจจะส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ขึ้นตามมา โดยเมื่อยิ่งมีอาการปวด เรายิ่งออกกำลังกายได้ลดลง ก็ยิ่งทำให้น้ำหนักตัวเราเพิ่มมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก
  7. ระบบสืบพันธุ์ นอกจากโรคที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น ในเพศหญิงจะมีประจำเดือนมาผิดปกติจากโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) โรคอ้วนยังทำให้เกิดการมีบุตรยากทั้งในเพศชายและเพศหญิง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเราตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) อาการครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
  8. ระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อมีไขมันในร่างกายในปริมาณมาก จะสร้างสารที่เรียกว่า Pro-Inflammatory Cytokines ซึ่งสารชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว และสุดท้าย 9. ระบบไหลเวียนเลือด เมื่อเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลทำให้ความดันในหลอดเลือดดำที่ขาสูงขึ้น จนเกิดเป็นโรคเส้นเลือดขอด บริเวณขา ทำให้มีอาการขาบวมได้ ซึ่งในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เป็นแผลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency) หรือมีการอุดตันของเส้นเลือดดำที่ขา (Deep Vein Thrombosis)

ไม่เพียงแต่โรคอ้วนจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ยังทำให้เรามีอายุขัยที่สั้นลง!! มีงานวิจัยรายงานว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มี BMI > 40 ขึ้นไป ทำให้มีอายุขัยสั้นลงได้ถึง 14 ปี โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งหากเราสามารถแก้ไขโรคหรือดูแลสภาวะร่างกายต่าง ๆ ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ให้ดี เพียงแค่นี้ เราลดน้ำหนักลงมา ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย... จริงมั้ยครับ


ข่าวแพทย์เฉพาะทาง+ศิครินทร์วันนี้

SKR งบแกร่งปี 2567 รายได้โต 4.12% ทะลุ 6 พันลบ. บอร์ดเคาะปันผล 0.20 บาทต่อหุ้น พร้อมควัก 700 ลบ. ซื้อหุ้นคืน

บมจ.ศิครินทร์ โชว์ผลงานปี 2567 กำไรสุทธิ 664 ล้านบาท กวาดรายได้จากการดำเนินงานรวม 6,092 ล้านบาท เติบโต 4.12% แม้ต้องเผชิญแรงกดดันกรณีประกันสังคมปรับลดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ชี้กลุ่มลูกค้าทั่วไปรักษาโรคยากซับซ้อนผ่านสถาบันการแพทย์เฉพาะทางเติบโตดีต่อเนื่อง บอร์ดอนุมัติจัดสรรกำไร 412 ล้านบาท จ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น ขึ้น XD 29 เมษายนนี้ พร้อมประกาศซื้อหุ้นคืนวงเงิน 700 ล้านบาท นายสุริยันต์ โคจรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงก... รพ.เมดพาร์ค อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ชวนหมอทั่วไทยร่วมคัดกรองโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ — โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 (ครั้...

รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.ว... รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ — รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...

นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้า... ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน — นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...

เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝน... 5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ — เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...

โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็น... วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ — โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับ... โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน — ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...