วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจ การค้า กระทรวงพาณิชย์ จัดการแข่งขันโครงการประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา ในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และหม่อมหลวงภู่ทอง ทองใหญ่ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล การแข่งขันครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 29 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 34 ทีม โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม "แล้วทุกคนจะร้องว่า ว้าวๆ PNG" จากวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ด้วยผลงานผลิตภัณฑ์อาหารว่างน้ำพริก 4 ภาคในรูปแบบสแนค
นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนระดับมัธยมปลายและอาชีวศึกษา ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและมีวิสัยทัศน์ในอนาคต โดยมุ่งส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการที่ครอบคลุมทั้งด้านการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ และความยั่งยืน ทั้งนี้ การที่เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จะช่วยให้เข้าใจการประกอบธุรกิจได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้น การออกแบบโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความสำเร็จทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แม้ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจอาชีพอิสระค่อนข้างมาก แต่การทำงานในองค์กรก็เป็นทางเลือกที่มีความมั่นคงในระยะยาว ซึ่งทักษะการเขียนโมเดลธุรกิจถือเป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่าจะทำงานในรูปแบบใด ทั้งการขอสินเชื่อหรือการนำเสนอโครงการในองค์กร ที่สำคัญยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจด้วย
" CIBA มีแผนต่อยอดโครงการฯ นี้ โดยจะนำทีมที่ชนะเลิศจากการประกวด ไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานในวิชาชีพและเห็นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนในสถานการณ์จริง พร้อมสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา ให้รุ่นน้องได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ใน CIBA DPU มากขึ้น " คณบดี CIBA กล่าว
นายพฤฒิพงศ์ เกตุปัญญา นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า เกณฑ์การประเมินการแข่งขันมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความยั่งยืน ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ แผนการตลาด และทักษะการนำเสนอ ทั้งนี้ ขอชื่นชมทีมผู้เข้าแข่งขันทุกทีมที่นำเสนอโมเดลธุรกิจได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนรุ่นใหม่มีความสามารถในการนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในด้านความยั่งยืน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ มีจุดเด่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลาย มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาด และใช้วัตถุดิบสมุนไพรจากท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากที่มีมูลค่าสูงในอนาคตได้
"การที่มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นแนวโน้มที่เยาวชนรุ่นใหม่มีความสนใจในการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศ และขอเชิญชวนให้สถาบันการศึกษาอื่นๆ ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งถัดไป เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพในอนาคต" นายพฤฒิพงศ์ กล่าว
ด้านทีม "แล้วทุกคนจะร้องว่า ว้าวๆ PNG" ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ ประกอบด้วย นางสาว ณัฐริกา น่วมทะนะ นายธนิต กองเป็ง และ นายศุภวัฒน์ กรีน นักเรียนสาขาการตลาด ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ร่วมกล่าวเปิดใจว่า โมเดลธุรกิจของทีม คือ ผลิตภัณฑ์ "4 แซ่บ" ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารว่างที่ผสมผสานสมุนไพรในรูปแบบน้ำพริก 4 ภาค โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นแคบหมูกรอบและผักกรอบ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมา เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีเวลาจำกัดในการทานอาหาร สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ การนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านวัตถุดิบสมุนไพรจากทั้ง 4 ภูมิภาค อาทิ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และมะขาม ซึ่งนอกจากจะให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรในการต้านโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังออกแบบให้พกพาง่าย เพียงฉีกซองก็สามารถทานได้ทันที มีการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแสกนคิวอาร์โค้ดด้านหลังซอง เพื่อรับชมคลิปวิดีโอแสดงบรรยากาศจากชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้า ส่วนในด้านความยั่งยืน ผลิตภัณฑ์นี้ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีแผนพัฒนาต่อยอดด้วยการเพิ่มอักษรเบรลล์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้พิการทางสายตา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (CIBA DPU) ขอเชิญน้อง ๆ นักเรียนในระดับ ปวช. ปวส. และ ม.ปลาย เข้าร่วมการแข่งขันเกมจำลองบริหารธุรกิจนวัตกรรมและความยั่งยืน ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลมูลค่ารวม 30,000 บาท พร้อมทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร โดยผู้เข้าแข่งขันจะได้รับการฝึกอบรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเล่นเกม และการเขียนแผนธุรกิจ BMC ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00-16.30 น. ณ
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7
—
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7 หนุน...
วิทยาลัยนานาชาติ DPU เปิดหลักสูตรใหม่ 'ภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ' ญี่ปุ่น-เกาหลี ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!!
—
วิทยาลัยนาน...
คณะการท่องเที่ยวฯ DPU จัดเวทีประชัน "HT MAKEUP GRAND COMPETITION 2025" ปี 2 เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการแต่งหน้าเสริมบุคลิกภาพให้นักศึกษา
—
คณะการท่องเที่ย...
CIBA DPU ลงนามความร่วมมือกับ ฟอร์ท คอร์ปฯ เจ้าของแบรนด์ดัง "เต่าบิน" เปิดประตูสู่การฝึกงานด้านนวัตกรรม พร้อมโอกาสร่วมงานในอนาคต
—
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย...
CADT DPU เผย บทสรุปเวทีสัมมนา "เส้นทางสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินของไทย" ความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนคือกุญแจสู่ Net Zero
—
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้า...
CADT DPU ร่วมกับ ชสบ. จัดสัมมนา "SDGs in Thailand Aviation Industry Forum : เส้นทางสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบินของไทย"
—
18 มี.ค.นี้ ที่ ห้องประชุมเฉ...