Finnomena ชี้ช่องลงทุนรับมือสงครามการค้ารอบใหม่ "โดนัลด์ ทรัมป์" เล็งขึ้นภาษีสินค้าจีน 4 เท่า มองหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กของสหรัฐฯ และตลาดเวียดนาม อินเดีย คือทางออกที่จะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต
ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกภายในงาน Finnomena Private Ahead of the Game : Exclusive Insights into the U.S.-China Economic Power Play ว่า "เซอร์ไพรส์" ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้ที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ชนะขาดลอย ทั้งผล ป๊อปปูล่าโหวต สวิง สเตท ที่ชนะทั้ง 7 รัฐ ชนะสภาบน สภาล่าง ผู้ว่าการรัฐ เพราะความไม่พอใจของประชาชนเรื่องเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพง ที่กระทบกับคนทั่วไป และการเลือกตั้งครั้งนี้สื่อกระแสหลักมีผลน้อยมาก สื่อโซเชียลมีเดียกลับมีอิทธิพลมากขึ้น
สำหรับนโยบายการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 จะแตกต่างจากครั้งแรกมาก เพราะมีประสบการณ์จากการทำหน้าที่สมัยแรก และครั้งนี้ไม่ต้องคำนึงถึงการเลือกตั้งในสมัยหน้าอีกแล้ว ทำให้เริ่มต้นเหนือว่าครั้งก่อน สำหรับนโยบายสำคัญที่ต้องจับตามอง มีด้วยกัน 3 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายสงครามการค้า ที่ตอนหาเสียงประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว สินค้าทั่วโลก 10% และต้องจับตาว่าใครจะเป็นทีมเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนการค้า หากเป็นบุคคลที่ดูแลนโยบายสงครามการค้าจีนในสมัยแรกก็จะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เพราะที่ผ่านมาสามารถบรรลุเป้าหมาย 2 ข้อได้ คือ การได้เงินเพิ่มจากภาษีสินค้านำเข้า ทำให้สินค้าจากจีนย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนาม อินเดีย เม็กซิโก และเป้าหมายครั้งนี้ คืออยากให้โรงงานย้ายกลับสหรัฐฯ
"สงครามการค้ารอบนี้ มองว่าระยะสั้นจีนกระทบหนักแน่ นักเศรษฐศาสตร์มองว่าจะกระทบจีดีพีถึง 2% และประเทศอื่น ๆ ก็อาจจะโดนการปรับขึ้นภาษีประมาณ 10% ซึ่งไทยเองก็ต้องเตรียมการรับมือ แต่ระยะยาวหากนโยบายนี้ไม่ประสบความสำเร็จเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองก็จะมีปัญหา เป็นการทำลายตัวเอง แต่การกลับไปกลับมาของ "ทรัมป์" ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่"
นโยบายกีดกันเทคโนโลยี มองว่ามีความประนีประนอมมากขึ้น เพราะ "ทรัมป์"มองทุกอย่างเป็นธุรกิจสามารถเจรจากันได้ ไม่มีการกล่าวถึงการแบน TikTok และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ EV จีน ไปตั้งโรงงานในสหรัฐฯ ได้ แตกต่างจากรัฐบาล โจ ไบเดน ที่ไม่ยอมคุยในเรื่องนี้
นโยบายภูมิรัฐศาสตร์ สงคราม มองว่าสงคราม ความขัดแย้งทั่วโลกจะสงบมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา "ทรัมป์" ถือเป็น ประธานาธิบดีคนเดียวที่ไม่ก่อสงครามใหม่ ซึ่งทำให้ปัญหาตะวันออกกลาง ทะเลจีนใต้ จีน-ฟิลิปปินส์, จีน-ไต้หวัน จะมีความตึงเครียดน้อยลง และการคาดเดาความคิด "ทรัมป์" ทำได้ยากทำให้แต่ละประเทศสงวนท่าทีมากขึ้น
ดร.อาร์ม บอกด้วยว่า ในส่วนของประเทศไทย และโอกาสการลงทุนยังเปิดกว้างเพราะปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่ลดลง และการย้ายฐานการผลิตสินค้าบางส่วนจากจีนมาไทย เพื่อหนีสงครามการค้า แต่ก็ต้องรับมือกับสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดมากขึ้น
ด้านนายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Group บอกว่า โอกาสการลงทุนจากนโยบาย "ทรัมป์ 2.0" คือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของสหรัฐฯ ในกลุ่ม ธนาคาร พลังงาน สินค้าอุตสาหกรรม เพราะจะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีจาก 21% เหลือ 15% และมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน กลุ่มธุรกิจนี้ราคาหุ้นถือว่ายังปรับตัวขึ้นไม่ทำ All time high เหมือนกลุ่มอื่น โดยกองทุนที่แนะนำ : กองทุน ASP-USSMALL
ขณะที่นายวศิน ปริธัญ Managing Director บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในเครือ Finnomena Group บอกว่า ประเทศอินเดีย และเวียดนามจะได้รับอานิสงส์การย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามจะได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการยกระดับเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ล่าสุดคาดว่าจะยกระดับเป็น FTSE Russell ในเดือนกันยายนปีหน้า ทำให้แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุน : KKP VGF-UI / Principal VNEQ-A
ทั้งนี้ Finnomena ยังเปิดตัวบริการใหม่ "Private Call" - Robotic Investment (ROBIN) สำหรับกลุ่มลูกค้า Private Wealth & Ultra เท่านั้น ในการเข้าถึงกลยุทธ์การลงทุน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน โดยโมเดล ROBIN ผ่านการทดสอบ Backtest และ Forward (Live) Test ที่ผ่านการตรวจสอบนัยสำคัญทางสถิติ ช่วยเพิ่มความมั่นใจและโอกาสทำกำไร
โดย ROBIN เป็นการเทรดอย่างเป็นระบบและช่วยลดอคติที่เกิดจากการตัดสินใจของมนุษย์ กลยุทธ์ทั้งหมดถูกสร้างเพื่อซื้อและขายเฉพาะกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งโดยเฉพาะ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างยืดหยุ่น ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมวงแลกเปลี่ยนเขียนอ่านของผู้ที่รักหนังสือ The Writer's Life-brary พูดคุยกับ 'นฤเบศ' เจ้าของผลงาน "จิบถ้อยคำ" รวมความเรียง บทกวี สุนทรียนัยถ้อยคำ ดำเนินรายการโดย คุณพรหมพิริยา พาพรมมี กรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ กล่าวเปิดงาน พร้อมแขกรับเชิญ อาทิ 'คิ้วต่ำ' ในวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์ อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น G รับชมผ่านช่องทาง Facebook Live ได้ที่ Fanpage : Chulabook
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
—
บริษัท เบอร...
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025
—
นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...