รับมืออย่างไร? เมื่อคุณแม่มือใหม่ "ซึมเศร้าหลังคลอด"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

รู้หรือไม่? ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นยินดีที่ได้พบหน้าลูกน้อย หลังจากเฝ้ารอคอยมาตลอดหลายเดือน คุณแม่จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่อาจต้องเจอกับภัยเงียบที่รออยู่ นั่นคือ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นผลจากการที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า เสียใจ หดหู่ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องยากลำบากในการรับมืออย่างมาก โดยอาการจะมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ในระยะยาว

รับมืออย่างไร? เมื่อคุณแม่มือใหม่ "ซึมเศร้าหลังคลอด"

อย่าเพิ่งตกใจ! หากหลังคลอดคุณแม่มีอาการเศร้า กังวล อ่อนไหว ขี้หงุดหงิด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือเหนื่อยล้าจากการดูแลลูกน้อย เพราะนั่นอาจเป็นแค่อาการของ "เบบี้บลูส์" (baby blues หรือ Postpartum Blues) ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เล็กน้อยและเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่มักเกิดภายใน 3-5 วันหลังคลอด และอาการจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ต้องรักษา

ในขณะที่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Perinatal Depression) เป็นภาวะผิดปกติทางอารมณ์ มักเกิดภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด มีอาการรุนแรง หรือกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน ซึ่งไม่สามารถหายเองได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทั้งคุณแม่และลูกน้อย ทำให้เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ร้องไห้มากผิดปกติ ไม่ยอมกินนม เป็นโรคสมาธิสั้น หรืออาจมีปัญหาพัฒนาการทางภาษา เป็นต้น แถมคนในครอบครัวอาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้า

เช็คให้ชัวร์! ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคุณแม่มีอาการอย่างไร?

  • กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและลูกได้
  • ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
  • ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก
  • รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก
  • อารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง
  • ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเกือบทั้งวัน หรือติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย หมดความสนใจในงานหรือกิจกรรมที่ทำ
  • อาการอื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้

การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น คุณแม่และคนใกล้ชิดต้องดูแลเตรียมความพร้อมทั้งก่อนและหลังคลอด เพื่อให้สามารถรับมือกับภาวะนี้ได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นซ้ำได้ถึง 50%

วิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาทิ

  • การทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หาเวลาพักระหว่างวัน
  • ให้คุณพ่อ/คนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก
  • ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง
  • มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง
  • ลดการรับข่าวสาร
  • ปรึกษาแพทย์

หากมีอาการรุนแรง ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมิน โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีดังนี้

  1. การทำจิตบำบัด การได้พูดคุยกับแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักวิชาการสุขภาพจิต ช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายผ่อนคลายความวิตกกังวล และร่วมกันหาวิธีรับมือกับสถานการณ์และอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
  2. การรักษาด้วยยา แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านความเศร้า ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของยาก่อนใช้ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยาร่วมกัน

โดย...แพทย์หญิงปัทมาพร ทองสุขดี

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital


ข่าวฮอร์โมน+เปลี่ยนวันนี้

รู้ไหม ผู้ชายก็มีฮอร์โมน? "วันฮอร์โมนโลก" สะเทือน! ผู้ชายไทยเสี่ยงพร่องฮอร์โมน เสี่ยงตายไวไม่รู้ตัว

รู้ไหม ผู้ชายก็มีฮอร์โมน ??? "วันฮอร์โมนโลก" สะเทือน! ผู้ชายไทยเสี่ยงพร่องฮอร์โมน เสี่ยงตายไวไม่รู้ตัว! หมอเตือน! อาการเหมือนแค่เหนื่อย แต่จริงอาจถึงขั้นชีวิตเปลี่ยน เนื่องในโอกาส วันฮอร์โมนโลก ซึ่งมูลนิธิฮอร์โมนและการเผาผลาญแห่งยุโรป European Hormone and Metabolism Foundation (ESE Foundation) และสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งยุโรป The European Society of Endocrinology ประกาศให้วันที่ 24 เม.ย. 2568 (ค.ศ. 2025) เป็นวันฮอร์โมนโลก บริษัท เบซินส์ เฮสธ์แคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมรณรงค์ให้คน

ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม ... เช็กลิสต์สุขภาพดีฉบับผู้หญิงยุคใหม่ — ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม "Accelerating Action" เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่...

ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์... ใจสั่น น้ำหนักลง ระวัง! "ไทรอยด์เป็นพิษ" — ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ สาเหตุอาจมาจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, การอัก...

"ฮอร์โมน" คำเล็ก ๆที่หลายคนอาจแค่ฟังผ่าน ... "เกิด แก่ ตาย" ไม่เจ็บป่วย สู่อายุยืนยาวอย่างสุขภาพดี เสริมฮอร์โมนช่วยได้!! — "ฮอร์โมน" คำเล็ก ๆที่หลายคนอาจแค่ฟังผ่าน ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าเจ้าฮอร์โมนเป็น...

โรงพยาบาลพญาไท 1 ภายใต้เครือโรงพยาบาลพญาไ... รพ. พญาไท 1 เปิดตัว "V-Women's Wellness" ศูนย์ดูแลสุขภาพสตรีครบวงจร — โรงพยาบาลพญาไท 1 ภายใต้เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ได้ส่งต่อความรักและความใส่ใจดูแลสุข...

โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากการที่เนื้อไตถูกท... 6 สัญญาณเตือนอันตราย! "ไตวายเรื้อรัง" — โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากการที่เนื้อไตถูกทำลาย ส่งผลให้ไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งการรักษาสมดุลของเหลว...

ผู้หญิงเสี่ยงเป็น "เนื้องอกมดลูก" ได้ทุกค... ผู้หญิงเสี่ยงเป็น "เนื้องอกมดลูก" ได้ทุกคน — ผู้หญิงเสี่ยงเป็น "เนื้องอกมดลูก" ได้ทุกคนเนื้องอกมดลูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ...