ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ที่เติบโตขึ้นในปัจจุบัน พิธีการศุลกากรที่มีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ ความเฟื่องฟูของตลาดผู้บริโภคและธุรกิจท้องถิ่นในประเทศไทยส่งผลให้การนำเข้าสินค้ากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสร้างโอกาสมากมายในการก้าวขึ้นสู่เวทีการค้าระดับสากล อย่างไรก็ตาม รายงานการวิจัยล่าสุดของ เฟดเอ็กซ์ ซึ่งร่วมมือกับ Forbes Insights ชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขและการเดินเอกสารศุลกากรที่ซับซ้อนได้ก่อให้เกิดความท้าทายต่อธุรกิจที่กำลังมองหาลูกค้าใหม่ในตลาดต่างประเทศ ดังนั้น บทความนี้จะพาทุกท่านเจาะลึกขั้นตอนการนำเข้าสินค้า รวมถึงวิธีการที่ เฟดเอ็กซ์ ช่วยอำนวยความสะดวกในขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้ดำเนินไปได้อย่างง่ายดายและไร้อุปสรรค ช่วยผู้ประกอบการชาวไทยหลีกเลี่ยงความล่าช้าและความเสียหายที่ไม่จำเป็นในพิธีศุลกากร เพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน และรับรองการขนส่งสินค้าที่ตรงเวลา
การเข้าใจในประเภทของพิธีการศุลกากร
เมื่อมีการนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทย ไม่ว่าจะในฐานะบุคคลหรือธุรกิจ ขั้นตอนแรกคือการกำหนดประเภทของการดำเนินพิธีศุลกากรสำหรับการขนส่ง
การดำเนินพิธีการศุลกากร ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ พิธีการแบบเร่งด่วน (Express Clearance) และพิธีการเต็มรูปแบบ (Formal Clearance) โดยการแบ่งประเภทของพิธีการ 2 รูปแบบนี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงประเภท มูลค่า และปัจจัยอื่น ๆ ของสินค้าที่ต้องการนำเข้า การเลือกประเภทของพิธีการฯ ที่ถูกต้องสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุน ความล่าช้า รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางด้านภาษีและใบอนุญาต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งกระบวนการนำเข้าและการดำเนินธุรกิจโดยรวม
พิธีการแบบเร่งด่วน (Express Clearance)
พิธีการแบบเร่งด่วน หรือ Express Clearance จะดำเนินการโดยบริษัทผู้ให้บริการด้านการขนส่ง เช่น เฟดเอ็กซ์ พิธีการประเภทนี้เหมาะสำหรับการขนส่งที่ต้องการความไวต่อเวลา มักเสร็จสิ้นภายในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียค่าดำเนินพิธีการศุลกากรและค่าธรรมเนียมคลังสินค้า พิธีการแบบเร่งด่วนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนก่อนการนำเข้า คล้ายกับการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ต้องมีการจัดส่งระหว่างประเทศ ซึ่งหมวดหมู่ของสินค้าในพิธีการแบบเร่งด่วนโดยทั่วไปแล้วจะเป็นจำพวก เอกสาร สินค้าตัวอย่าง สินค้าที่มีมูลค่า CIF (Cost, Insurance, Freight) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,500 บาท หรือสินค้าที่มีมูลค่า FOB (Free On Board)[1] ต่ำกว่า 40,000 บาท ไม่รวมสินค้าต้องห้ามหรือสินค้าต้องกำกัด
พิธีการเต็มรูปแบบ (Formal Clearance)
พิธีการเต็มรูปแบบ หรือ Formal Clearance คือพิธีการที่ผู้นำเข้าจำเป็นต้องลงทะเบียนโปรไฟล์ผู้นำเข้ากับกรมศุลกากร และมักจะดำเนินการร่วมกับบริษัทผู้ให้บริการด้านการขนส่ง[2] เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารที่ละเอียดและซับซ้อน รวมถึงการประสานงานกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด พิธีการเต็มรูปแบบเหมาะสำหรับผู้นำเข้าที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), เขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZs) และเขตปลอดอากร หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามปัจจัยส่วนบุคคล
พิธีการประเภทนี้มักจะใช้ระยะเวลาการจัดส่งนานกว่าพิธีการแบบเร่งด่วน เนื่องจากมีเอกสารและขั้นตอนเพิ่มเติม รวมถึงมีการตรวจสอบคุณสมบัติสำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้นำเข้า โดยสำหรับลูกค้าที่เคยลงทะเบียนนำเข้ากับกรมศุลกากรแล้ว จะใช้ระยะเวลาการจัดส่งมากกว่าพิธีการแบบเร่งด่วน 1-2 วันทำการ และสำหรับกรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนผู้นำเข้ากับกรมศุลกากร จะมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการลงทะเบียนและดำเนินพิธีการขั้นต่ำ 7-10 วันทำการ
หมวดหมู่ของสินค้าที่จัดส่งในพิธีการเต็มรูปแบบจะถูกจัดเก็บภาษีตามประเภทสินค้า ซึ่งอาจรวมสินค้าที่มีมูลค่า FOB มากกว่าหรือเท่ากับ 40,000 บาท หรือสินค้าต้องกำกัดที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
วิธีการนำเข้าสินค้าผ่านศุลกากรอย่างราบรื่น
แม้ว่าการดำเนินพิธีการศุลกากรจะมีความซับซ้อน แต่เคล็ดลับที่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ จะช่วยลดปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการชาวไทย
คู่มือการนำเข้าสินค้าของ เฟดเอ็กซ์: คู่มือที่จะช่วยให้คุณนำเข้าสินค้าได้อย่างมั่นใจ
สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาวิธีการช่วยเหลือเพื่อให้การนำเข้าเป็นไปอย่างง่ายดายมากขึ้น คู่มือการนำเข้าสินค้าของ เฟดเอ็กซ์ จะนำเสนอขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ พร้อมข้อมูลด้านพิธีการศุลกากรให้แก่ผู้ที่นำเข้าสินค้าเป็นครั้งแรก โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ภายในคู่มือนี้ จะช่วยลดปัญหาและความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
"การรับมือกับความยุ่งยากของพิธีการศุลกากรเป็นสิ่งที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มธุรกิจ SMEs" นายศศธร ภาสภิญโญ กรรมการผู้จัดการ เฟดเอ็กซ์ ประเทศไทย กล่าว "ที่ เฟดเอ็กซ์ เรามุ่งมั่นผลักดันการค้าระหว่างประเทศให้ราบรื่นและง่ายดายมากขึ้นสำหรับผู้นำเข้า ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่นำเข้าสินค้าครั้งแรก หรือผู้ที่มีประสบการณ์นำเข้ามาก่อนหน้านี้ ด้วยเครือข่ายทั่วโลกของเรา รวมถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในกฏระเบียบภายในประเทศและความต้องการของผู้บริโภค พวกเราพร้อมที่จะสนับสนุนข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นให้ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถทำการค้าขายระหว่างพรมแดนได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ส่งเสริมการเติบโตของประเทศและการขยายตัวสู่พรมแดนทั่วโลกไปพร้อม ๆ กันอย่างมั่นคง"
ลูกค้าที่นำเข้าสินค้ากับ เฟดเอ็กซ์ สามารถรับประสบการณ์ที่ราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการขนส่ง ไปจนถึงเมื่อสินค้ามาถึง เฟดเอ็กซ์ พร้อมดูแลทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทสินค้า การลงทะเบียน ไปสู่การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพิกัดภาษี ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ครบจบด้วยการประสานงานกับทาง เฟดเอ็กซ์ ที่เดียว นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมอีกมากมาย ได้แก่ การคำนวณภาษีสำหรับการจัดส่งแบบเร่งด่วน และการจัดการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าเป็นประจำจะได้รับสิทธิพิเศษจากตัวแทนออกของ (Clearance Broker) ซึ่งจะให้คำแนะนำและช่วยให้กระบวนการนำเข้าเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
เฟดเอ็กซ์ ยังนำเสนอบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่บริการขนส่งไปจนถึงโซลูชันเฉพาะด้าน และบริการอัตราค่าจัดส่งนาทีสุดท้ายสำหรับการจัดส่งที่มีน้ำหนักมาก[3] ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อความสะดวกสบายและรวดเร็วของขั้นตอนการจัดส่ง FedEx Ship Manager (FSM) จะช่วยประหยัดเวลาของลูกค้าด้วยการเตรียมความพร้อมการจัดส่งพัสดุและเอกสารทางออนไลน์ พร้อมรับอัตราราคาและระยะเวลาขนส่งที่แม่นยำ รวมถึงสามารถกำหนดเวลาเข้ารับพัสดุจากทางไกลได้ด้วยเช่นกัน
การหลีกเลี่ยงความล่าช้าจากกระบวนการศุลกากรเป็นข้อกังวลสำหรับธุรกิจหรือผู้ประกอบการชาวไทยที่มีการค้าขายระหว่างประเทศ ดังนั้น การเข้าใจในกฏระเบียบของกรมศุลกากร การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ตลอดจนการร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้ จะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งด้วยสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์เชิงรุกเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน และรับประกันการจัดส่งสินค้าที่ตรงต่อเวลา
[1] มูลค่าสินค้าที่แสดงในใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AWB) และใบกำกับสินค้าพาณิชย์
[2] บริษัทที่เป็นบุคคลที่สาม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและดำเนินการด้านการขนส่งสินค้าให้กับบริษัทหรือลูกค้าผู้จัดส่ง โดยมีหน้าที่ประสานงานกับผู้ให้บริการขนส่งหลายรายเพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลาที่กำหนด
[3] จัดส่งสินค้าขนาดใหญ่ข้ามประเทศด้วยบริการขนส่งของ เฟดเอ็กซ์ | เฟดเอ็กซ์ ประเทศไทย
ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของประเทศไทย" หรือ Best Trade Finance Bank พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จากผลสำรวจ Euromoney Trade Finance Survey 2025 (ยูโรมันนี่ เทรด ไฟแนนซ์ เซอร์เวย์ 2025) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 13,000 ราย จากธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก ธนาคารเอชเอสบีซี ยังได้รับการโหวตให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของโลก"
กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA
—
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ...
กสิกรไทยคว้า 2 รางวัลยอดเยี่ยมด้าน Trade Finance ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลเพื่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
—
ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนา...
"โกลเบล็ก" คัด 5 หุ้นเด่นติดโผกองทุน Thai ESGX เข้าลงทุน
—
บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ Sideway ออกข้าง แนะจับตาสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้...
"เมอร์เคิล แคปปิตอล" ชี้แรงกดดันของประเด็นภาษีสหรัฐฯ และเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน นักลงทุนหนีความเสี่ยง หันถือครองทองคำ และ Bitcoin เพิ่ม
—
ช่วงที่ผ่านมา ค่าเง...
JMART เตรียมเงินพร้อมคืนหุ้นกู้ 1,500 ล้านบาท ตอกย้ำเสถียรภาพการเงินปิดจ๊อบหุ้นกู้ 856.6 ล้านบาท ขอบคุณนักลงทุนที่เชื่อมั่น
—
บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้ง...
SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน
—
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผัน...
อลิอันซ์ เปิดบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ทุกประเทศยังคงเผชิญแรงสั่นสะเทือน คาดไทยได้รับผลกระทบปานกลาง
—
กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษ...
DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025"
—
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย แ...