"ลดน้ำหนักด้วยนวัตกรรมกลืนบอลลูนในกระเพาะอาหาร (Quick Slim Ball)" โดย นพ. ธนชัย ปัญจชัยพรพล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
การลดน้ำหนักด้วยการกลืนบอลลูนในกระเพาะอาหาร (Quick Slim Ball) เหมาะกับใคร?
การกลืนบอลลูน (Gastric Balloon) เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 27 ขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากน้ำหนักตัว เช่น นอนกรน, ปวดเข่า หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน การกลืนบอลลูนช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด ทั้งยังช่วยปรับพฤติกรรมการกิน ลดภาวะเสี่ยงจากโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานและโรคข้อเสื่อม ทำให้สุขภาพและรูปร่างดีขึ้นในระยะยาว
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการกลืนบอลลูนในกระเพาะอาหาร?
Quick Slim Ball ไม่เหมาะกับผู้ที่เพิ่งพักฟื้นจากการผ่าตัดในช่วง 1-2 เดือน, สตรีมีครรภ์หรือวางแผนมีบุตร, ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหารรั่ว, กระเพาะอาหารผิดปกติ, หรือผู้ที่มีภาวะเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะเลือดแข็งตัวยาก, แพ้ยางซิลิโคน รวมถึงผู้ที่มีค่า BMI ต่ำกว่า 27
ข้อดีของ Quick Slim BallQuick Slim Ball ใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการลดน้ำหนักและไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และช่วยลดภาวะเสี่ยงจากโรคเรื้อรัง ทำให้รูปร่างกระชับและมั่นใจมากขึ้น
ขั้นตอนการกลืนบอลลูนและติดตามผลผ่านแอพพลิเคชั่น Allurionกระบวนการใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที โดยแพทย์จะให้คนไข้กลืนแคปซูลบอลลูน แล้วเอ็กซเรย์เพื่อจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม จากนั้นเติมน้ำเกลือเข้าไปในบอลลูน เมื่อเสร็จแล้ว คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีพร้อมติดตามผลผ่านแอพ Allurion ที่เชื่อมต่อกับ Smart Watch เพื่อบันทึกข้อมูลน้ำหนักและกิจกรรมการออกกำลังกาย
Quick Slim Ball แตกต่างจากบอลลูนรุ่นเดิมอย่างไร?บอลลูนรุ่นใหม่นี้ช่วยลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยาสลบ ไม่ต้องเติมน้ำเพิ่มทุก 3 เดือนเหมือนบอลลูนรุ่นก่อน อีกทั้งยังถูกขับออกจากร่างกายผ่านระบบขับถ่าย และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย
โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคัดกรองสุขภาพในเดือนพฤษภาคม เพิ่มระยะห่างจากโรคมะเร็งร้าย โดยเฉพาะ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก" หนึ่งในโรคที่มีแนวโน้มพบมากขึ้นในประชากรไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค แนะนำให้มีการเฝ้าระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระยะเริ่มต้นของโรคนี้มักไม่แสดงอาการชัดเจน และคนทั่วไปมักละเลยการตรวจสุขภาพในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการส่องกล้องตรวจระบบทาง
"มะเร็งลำไส้ใหญ่" ภัยร้ายที่มักพบเมื่อสาย…แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ "ส่องกล้องลำไส้ใหญ่" จำเป็น ย้ำอายุ 45 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองแม้ไม่มีอาการ
—
ข้อมูลของสถาบันม...
รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง จัดสัมมนาให้ความรู้ "ภัยร้ายของโรคตับ"
—
แพทย์หญิงเกศรินทร์ ถานะภิรมย์ แพทย์อายุรกรรมทั่วไประบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ให...
Happy Life by ชีวจิต Season 10 คอมมูนิตี้คนรักสุขภาพ ออนทัวร์ @โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 23 มิ.ย. 65
—
ชีวจิต นิตยสารเพื่อคนรักสุขภาพ โดย อมรินทร์ กรุ๊ป...
ดูแลตับอย่างไรให้สุขภาพดี
—
คุณรู้หรือไม่ ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย...
COVID-19 ไม่ได้ทำร้ายแค่ปอด ติดเชื้อขึ้นมาระบบทางเดินอาหารและตับก็พังได้ด้วย
—
นอกจากที่เราเคยได้ยินกันมาโดยตลอด ว่า COVID-19 มุ่งเน้นทำลายระบบทางเดินหายใ...
เป็นริดสีดวง รักษาเลย อย่าปล่อยให้ลุกลามจนมะเร็งมาเยือน
—
โรคริดสีดวงเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่ผู้ป่วยจำนวนมากจะเก็บความทุกข์ทรมานจากโรคนี...
ภาพข่าว: โรงพยาบาลนครธน ประกาศความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เฉพาะทางพร้อมมุ่งหน้าสู่มาตรฐานสากล
—
รศ.ญาณเดช ทองสิมา (กลาง) ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลน...
Gossip News: “คลินิกระบบทางเดินอาหารและตับ”
—
คิกออฟเปิด "คลินิกระบบทางเดินอาหารและตับ" อย่างเป็นทางการไปได้ไม่นาน ก็มีเสียงตอบรับจากคนรักสุขภาพที่สนใจ...