นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวกรณีมีข้อสังเกตพบประชาชนทิ้งสุนัขในที่สาธารณะมากขึ้น เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยข้อมูลในคน ไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว โดยพบผู้เสียชีวิตรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 59 ที่เขตบางนา ส่วนข้อมูลในสัตว์ปี 63 และปี 64 ไม่พบสุนัขบ้า ปี 65 พบ 2 ตัว ปี 66 พบ 15 ตัว และปี 67 ขณะนี้พบ 1 ตัว เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 67 เขตหนองจอก ซึ่งพื้นที่พบโรคเป็นเขตรอยต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ยังคงเป็นพื้นที่เฝ้าระวังและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า
สำหรับแนวทางการปฏิบัติเมื่อมีรายงานคน หรือสัตว์สงสัยติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สนอ. จะลงพื้นที่โดยประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SSRT) ภายใน 24 ชั่วโมง ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักงานเขต สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อร่วมกันสอบสวน ควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ค้นหาผู้สัมผัสและสัตว์สัมผัสโรคฯ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฯ ให้ครบตามโปรแกรม ส่วนผลการสำรวจสุนัขและแมวในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขในปี 67 พบว่า มีจำนวนสุนัขที่มีเจ้าของ 53,991 ตัว แมวมีเจ้าของ 115,827 ตัว สุนัขจรจัด 8,945 ตัว และแมวจรจัด 19,925 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 67)
ทั้งนี้ กทม. มีนโยบายแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วยการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตลอดช่วงชีวิต และการแก้ไขปัญหาสัตว์จรผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดซึ่งเป็นสัตว์พาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และมูลนิธิองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ อาทิ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สัตวแพทยสภา สมาคมผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สมาคมสงเคราะห์สัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย มูลนิธิ SOS Animal Thailand มูลนิธิ The Voice มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิรักษ์แมว บริหารจัดการแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดอย่างเป็นระบบและมีความครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางตลอดจนถึงปลายทาง ดังนี้ 1) ป้องกันการทอดทิ้งสัตว์มีเจ้าของ โดยขับเคลื่อนการจดทะเบียนสุนัขมีเจ้าของเลี้ยงในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ต้นทาง ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ซึ่งนอกจากจะสามารถติดตามหาเจ้าของเมื่อสุนัขพลัดหลงแล้ว ยังช่วยป้องกันการทิ้งสุนัข รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องเหมาะสม "คิดก่อนเลี้ยง เลี้ยงด้วยความรู้ ดูแลด้วยความรักและรับผิดชอบ และเลี้ยงดู ตลอดจนสิ้นอายุขัย" 2) ควบคุมการเพิ่มจำนวนเละแก้ไขปัญหาจากสัตว์จรจัด โดยการออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกในพื้นที่ 50 เขต ให้บริการที่คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 8 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินงานของ กทม. และเครือข่ายในปีงบประมาณ 67 ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว 64,669 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 209,085 ตัว และแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสุนัขและแมว ขับเคลื่อนการสร้างสัตว์ชุมชน เพื่อให้เกิดความมีส่วนร่วมของคนและสัตว์ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน โดย กทม. ดำเนินการแก้ไขปัญหาแมวจรจัดด้วยการผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และปล่อยกลับคืนพื้นที่เดิมโดยไม่เพิ่มจำนวนและเมื่อเวลาผ่านไปจำนวนจะลดลงจากการเสียชีวิตตามอายุขัย ตามแนวทาง TNVR (Trap-Neuter-Vaccinate-Return) ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างยั่งยืน 3) การดูแลสัตว์จรจัดที่เข้ามาในศูนย์ควบคุมและพักพิงสุนัข กทม.ให้เป็นตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ และขับเคลื่อนการหาผู้อุปการะให้แก่สัตว์จรจัดแทนการซื้อหาสัตว์ใหม่มาเลี้ยง (Adopt not Shop) โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่ายมูลนิธิ สมาคม และชมรมต่าง ๆ เช่น มูลนิธิ SOS Animal Thailand สมาคมสงเคราะห์สัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชมรมรักสัตว์โอซีดี ทำกิจกรรมหาผู้อุปการะสุนัขและแมวจรจัดจากศูนย์ควบคุมสุนัข กทม. ในแคมเปญ "OOH4Paws" ผ่านสื่อโฆษณา เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาบ้านใหม่ให้กับสุนัขและแมวจรจัด
นอกจากนี้ สนอ. ยังจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเชิงรุกทุกวันทำการและในวันหยุดราชการ ซึ่งประชาชนสามารถติดตามแผนการออกหน่วยฯ ได้ที่เฟซบุ๊ก "กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย" และสำนักงานเขตพื้นที่ รวมทั้งลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนนำสุนัขและแมวจรจัดเข้ารับการผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทำสัญลักษณ์ ก่อนปล่อยกลับคืนพื้นที่เดิม เพื่ออยู่ร่วมกับชุมชน พร้อมประชาสัมพันธ์พบเห็นสัตว์จรจัดสงสัย หรือสัมผัส โรคพิษสุนัขบ้า สามารถติดต่อกลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข โทร. 0 2248 7417 หรือสายด่วน กทม. 1555 และกรณีสุนัขและแมวจรจัดกัดทำร้ายคน มีพฤติกรรมดุร้าย มีความเสี่ยงไม่ปลอดภัย หรือก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มควบคุมและพักพิงสุนัข สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข โทร. 0 2328 7460
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาสัตว์จรจัดบริเวณซอยช่างอากาศอุทิศ 5 แยก 2 ถนนช่างอากาศอุทิศว่า สนอ. ร่วมกับสำนักงานเขตดอนเมือง และตัวแทนคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ลงพื้นที่ร่วมกันแก้ไขปัญหา พร้อมประสาน มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ซึ่งเป็นเครือข่ายของ กทม. ตามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการจัดการประชากรสุนัขและแมวที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยนำสุนัขจรจัดมาผ่าตัดทำหมันควบคุมจำนวนและส่งคืนพื้นที่เดิม ทำให้สุนัขจรจัด
กทม. รุกมาตรการป้องกันพิษสุนัขบ้า ชวนนำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีน-ใช้ "คาถา 5 ย" ป้องกันภัย
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการผู้อำนว...
กทม.ลุยเฝ้าระวังพิษสุนัขบ้าในเขตลาดกระบัง เร่งฉีดวัคซีนป้องกันทั่วพื้นที่
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก...
กทม. เดินหน้าควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนพื้นที่เสี่ยงเขตประเวศ
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักอนามัย ...
กทม. ชวนหญิงไทย 11-20 ปี ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ทุกวันพุธ ถึง 30 เม.ย.นี้ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งทั่วกรุง
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยก...
กทม. เดินหน้าร่วมปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า บังคับใช้กฎหมาย-เฝ้าระวังลักลอบจำหน่ายในพื้นที่
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำ...
กทม. เข้มตรวจใบอนุญาตฯ-สุขลักษณะโรงเชือดไก่ 8 รายใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 44
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนาม...