นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชให้แก่เกษตรกร หลังเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ภาคใต้
จากสถานการณ์น้ำท่วมแปลงปลูกพืชของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้หลายจังหวัด และในบางพื้นที่ท่วมเป็นเวลาหลายวัน สร้างความเสียหายแก่ต้นพืชหลายด้าน ทั้งทำให้รากพืชขาดอากาศทำให้การดูดซับธาตุอาหารน้อยลงส่งผลให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต หน้าดินเกิดการชะล้างอาจให้รากพืชขาดหรือเกิดแผลทำให้เชื้อโรคพืชเข้าสู่รากพืชได้มากขึ้น
จุลินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งกลุ่มโรคเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้มากขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้สร้างความเสียหายแก่ต้นพืชทั้งชะงักการเจริญเติบโตและมีโอกาสเกิดโรคพืชมากขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ไม่ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขัง เช่น ทุเรียน ถ้าแช่ขังในน้ำนิ่งประมาณ 3 วันจะเริ่มแสดงอาการใบสลดอย่างเห็นได้ชัด ส่วนพืชตระกูลส้ม (ส้มโอทับทิมสยาม) มังคุด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา จะแสดงอาการช้ากว่า เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา นักวิจัยทางด้านโรคพืชในฐานะหัวหน้าศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า หากน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะยิ่งส่งผลเสียต่อพืช จึงแนะนำให้เกษตรกรเร่งปฏิบัติดังนี้ 1. เร่งการระบายน้ำออกจากพื้นที่แปลงปลูกพืช เพื่อให้รากพืชได้รับอากาศเร็วที่สุด 2. หากไม่จำเป็นอย่านำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่ เพราะจะทำให้โครงสร้างดินแน่นขึ้นและรากพืชขาดเสียหายมากยิ่งขึ้น 3. อย่าเร่งใส่ปุ๋ยที่มีความเค็มสูง เพราะจะทำให้รากพืชเน่าเปื่อย โดยเฉพาะรากพืชที่เกิดแผลจากสภาวะน้ำท่วมได้ 4. พ่นชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (จุลินทรีย์ดี) เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา เมตาไรเซียม บิวเวอร์เรีย หรือแบคทีเรียบาซิลลัส เพื่อช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์โรคพืชและแมลงศัตรูพืช เพื่อลดความเสียหายในสภาวะต้นพืชอ่อน และ 5. หากต้นพืชโทรมเพราะรากดูดซับธาตุอาหารได้น้อยลง ให้พ่นฮอร์โมนทางใบแก่ต้นพืชได้ ซึ่งอาจผสมร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ได้
อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร ม.วลัยลักษณ์ ทั้งทางเพจ: ศูนย์ชีวินทรีย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์/ไตรโคเดอร์มา ม.วลัยลักษณ์ ทางไลน์: tcruwu หรือโทร 092-3293569/075-677200
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แถลงข่าวเตรียมจัดแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์"ระหว่างวันที่ 3-10 พฤษภาคม 2568 มีทัพนักกีฬา 63 สถาบันทั่วประเทศ กว่า 7,000 คน เข้าร่วมชิงชัย 426 เหรียญทอง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดนครศรีธรรมราชคึกคัก วันนี้ (3 เมษายน 2568) ที่ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายประสงค์ จันทร์หยู นายอำเภอ อำเภอท่าศาลาในฐานะผู้
ก้าวอีกขั้น นีโอ คอร์ปอเรท ผนึก ม.วลัยลักษณ์ ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย
—
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO โดย ...
ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้
—
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...
เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์
—
เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี
—
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า
—
ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศ...
มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...
โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...
นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ เปิดตัวนวัตกรรมหมุดถนนเรืองแสง เพิ่มความปลอดภัยทางถนน
—
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมหมุดถนนเรื...