ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมหมุดถนนเรืองแสงแบบไฮบริด โดยใช้เทคโนโลยี Glow-in-the-Dark (GiD) ร่วมกับการรีไซเคิลผงแก้ว เพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ส่งเสริมการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวถนนเรืองแสงแห่งแรกในภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รศ.ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ นักวิจัยจากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับนักวิจัยจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และ สหราชอาณาจักร ได้พัฒนาหมุดถนนแบบไฮบริด ที่ผสมผสานเทคโนโลยี ตัวสะท้อนแสงเรืองแสง Glow-in-the-Dark และผงแก้วรีไซเคิล ภายใต้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Mitsui Sumitomo Insurance Welfare Foundation จากประเทศญี่ปุ่น และมีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
รศ.ดร.ทนงศักดิ์ กล่าวว่า หมุดถนนแบบไฮบริดเรืองแสงนี้สามารถดูดซับพลังงานจากแสงในช่วงเวลากลางวันและปล่อยแสงในที่มืดได้ยาวนานถึง 8 ชั่วโมง และยังสามารถสะท้อนแสงไฟจากพาหนะ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อย เช่น ทางโค้ง ทางแยก และจุดทางข้าม
โดยคุณสมบัติเด่นของวัสดุสะท้อนแสง ประกอบด้วย เพิ่มความสว่าง มีความสว่าง 150 mcd/m? หลังแปดชั่วโมงในความมืด สามารถสะท้อนแสงไฟจากพาหนะ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสะท้อนแสงทั่วไป ประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ ลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนวัสดุได้ถึง 30% ด้วยการใช้ผงแก้วรีไซเคิล และทนทานต่อสภาพอากาศ
อย่างไรก็ตามจากการทดลองนำตัวสะท้อนแสงเรืองแสงติดตั้งบนถนนภายในมหาวิทยาลัยและในพื้นที่ต่างๆ ปรากฏว่า ตัวสะท้อนแสงนี้สามารถทนต่อแรงกดจากยางรถยนต์น้ำหนักกว่า 30 ตันและยังคงความสว่างได้ดีในทุกสภาพแวดล้อม
ในอนาคตทีมวิจัยมีแผนที่จะพัฒนาและปรับปรุงวัสดุให้ทนทานยิ่งขึ้น รวมถึงขยายการใช้งานในระดับประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ยังไม่มีระบบไฟถนน
นอกจากนี้คณะวิจัยได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ เป็นนวัตกรรมม้านั่งเรืองแสง และ กรวดเรืองแสง จากวัสดุรีไซเคิลสามารถเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้และยังใช้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ และหวังว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะได้รับการนำไปใช้ในระดับสากล เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยบนถนนทั่วโลกอีกด้วย
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แถลงข่าวเตรียมจัดแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์"ระหว่างวันที่ 3-10 พฤษภาคม 2568 มีทัพนักกีฬา 63 สถาบันทั่วประเทศ กว่า 7,000 คน เข้าร่วมชิงชัย 426 เหรียญทอง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดนครศรีธรรมราชคึกคัก วันนี้ (3 เมษายน 2568) ที่ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายประสงค์ จันทร์หยู นายอำเภอ อำเภอท่าศาลาในฐานะผู้
ก้าวอีกขั้น นีโอ คอร์ปอเรท ผนึก ม.วลัยลักษณ์ ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย
—
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO โดย ...
ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้
—
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...
เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์
—
เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี
—
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาธุรกิจจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน ลดปริมาณขยะลง 10 เท่า
—
ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศ...
มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...
โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...
นักวิจัยม.วลัยลักษณ์ แนะ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชหลังน้ำท่วม
—
นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชให้แก่เกษตร...