นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวถึงแนวทางและมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนศ. ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กนักเรียน กทม. ทั้ง 437 โรงเรียน ในพื้นที่ 50 เขต โดยกำชับให้กระบวนการปรุงอาหาร ให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรถูกหลักอนามัย เป็นอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ มีภาชนะใส่ หรือบรรจุอาหารที่สะอาดและป้องกันแมลงนำโรค หากพบผู้ป่วย หรือการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโนโรไวรัสและโรต้าไวรัสในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอุจจาระร่วง ให้โรงเรียนรายงานสถานการณ์พบการติดเชื้อ พร้อมทั้งกำชับให้โรงเรียนเฝ้าระวังและสังเกตอาการของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และดำเนินการตามมาตรการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่แจ้งให้โรงเรียนในสังกัด กทม. ทราบ และดำเนินการตามหนังสือ กทม. ด่วนมาก ที่ กท 0808/ว 196 ลงวันที่ 17 ต.ค. 67 เรื่อง การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนในสังกัด กทม. โดย สนศ. ได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยการตรวจสอบความพร้อมของอาคารเรียน ห้องเรียน เครื่องเล่นเด็ก ด้านสภาพแวดล้อม ความสะอาด สุขาภิบาล วัสดุการเรียนการสอน รวมทั้งให้สำนักงานเขตกำกับดูแลโรงเรียนในสังกัด โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในสถานศึกษาเป็นประจำอย่างเนื่อง
นอกจากนี้ ได้ประสานสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. และสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. เกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการเฝ้าระวังและดูแลนักเรียน วิธีการสังเกตอาการของโรค แนวทางป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัสและโรต้าไวรัส และวิธีการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง โดยได้จัดทำแนวทางและแผนเผชิญเหตุ เวียนแจ้งให้โรงเรียนในสังกัดทราบ เพื่อดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการป้องกันโรค รวมทั้งดูแลรักษาและการส่งต่อ ตลอดจนขอความร่วมมือสำนักงานเขตต้นสังกัดโรงเรียนดำเนินการและปฏิบัติตามคู่มือแนวทาง การจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา โดยบูรณาการบุคลากร/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกตรวจประเมินการจัดการอาหารและอาหารเสริม (นม) ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ สอดคล้องกับระบบ Thai School Lunch for BMA และควบคุมดูแลให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา รวมทั้งกำหนดแผนบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้การสื่อสารและประสานงานเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งเตรียมความพร้อมสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากสถานพยาบาลในพื้นที่เขตซึ่งอยู่ใกล้บริเวณโรงเรียน สนับสนุนพื้นที่สถานศึกษาให้เป็นสถานที่เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรค
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-3 พ.ย. 67 จำนวน 79,152 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,446.6 รายต่อแสนประชากร ยังไม่พบผู้เสียชีวิต และพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้นในช่วงนี้ โดยเฉพาะในสถานศึกษา
สำหรับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ที่พบบ่อยคือ โรต้าไวรัสและโนโรไวรัส ซึ่งจะแพร่ระบาดมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ตั้งแต่เดือน ธ.ค. - มี.ค. หากอากาศเย็นจะมีแนวโน้มแพร่ระบาดมากขึ้น ทั้งนี้ โรต้าไวรัสสามารถติดเชื้อได้ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี จะมีอาการเด่นชัด เริ่มจากเป็นไข้ อาเจียน และท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งทำให้ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีอัตราเสียชีวิตต่ำ ปัจจุบันมีวัคซีนในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ โดยเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ให้ 2-3 ครั้ง จนครบอายุ 6 เดือน เพื่อลดความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตาม เชื้อดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตลอดเวลาและพบการระบาดได้ ซึ่งการติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้ แต่ความรุนแรงจะน้อยลง เนื่องจากมีภูมิต้านทานจากวัคซีน ส่วนโนโรไวรัสพบการระบาดทุกปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว อาการของโรคคล้ายกับอาหารเป็นพิษและเกิดเป็นกลุ่มก้อนได้โดยเฉพาะในโรงเรียน โรคดังกล่าวไม่มียารักษา สามารถรักษาด้วยการประคับประคองไม่ให้ขาดน้ำ โดยปกติอาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
การรักษาผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วงให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ (โออาร์เอส) เพื่อป้องกันภาวะช็อกและเสียชีวิตจากการขาดน้ำและเกลือแร่ แต่ไม่แนะนำให้ดื่มเกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย เนื่องจากมีน้ำตาลปริมาณสูงจะดึงเอาน้ำเข้าสู่ทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ลำไส้บีบตัว และอาจเกิดอาการอุจจาระร่วงมากขึ้น หากไม่มีสารละลายเกลือแร่ สามารถทำได้เองโดยผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือแกงครึ่งช้อนชา ละลายในน้ำสะอาด 750 ซีซี จิบทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ สนอ. ได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. รวมถึงประชาชนเกี่ยวกับวิธีการสังเกตอาการของโรค แนวทางป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัสและโรต้าไวรัส ตลอดจนวิธีการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและลดการแพร่ระบาดของโรค
นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ อากาศของประเทศไทย เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว เชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดได้ง่าย ซึ่งโรคที่กระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มีจำนวน ๘ โรค ที่จะเกิดระบาดได้ง่าย คือ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สุกใส โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัส และโรคไข้หวัดนก ประชาชนจะต้องป้องกันตนเองด้วยการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ รับประทานให้ถูกหลักอนามัย และโภชนาการครบทั้ง ๕
เตือนภัย! กินหน้าร้อนระวังท้องเสีย กรมอนามัย แนะ 5 วิธี ป้องกัน
—
กรมอนามัยห่วงใย เตือนประชาชนให้ระมัดระวังการกินอาหารในช่วงหน้าร้อนเป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงต...
สคร. 12 สงขลา รณรงค์ เที่ยวสงกรานต์อุ่นใจ ไม่นำโรคภัยไปติดครอบครัว เน้นย้ำ ฉลองปลอดโรค เดินทางปลอดภัย
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.1...
กทม. เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ เตรียมพร้อมมาตรการดูแลสุขภาพประชาชนช่วงฤดูหนาว
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเ...
กทม.เฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็กเล็ก - ผู้สูงอายุ แนะดูแลสุขอนามัยยึดหลัก "สุก ร้อน สะอาด"
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล...
กทม.รับมือสภาพอากาศแปรปรวน "ร้อน - ฝน - ฝุ่น"
—
กทม.เตือนประชาชนระวังอันตรายที่มากับความร้อนเตือนภัย 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน โรคบิด : ท้องเสีย ถ่ายเหลว...
ผงน้ำตาลเกลือแร่ RO-ORS ซองเล็กๆ ช่วยชีวิตเด็กและมนุษย์นับล้านจากอาการท้องร่วงเฉียบพลัน 29 กรกฎาคม วันสถาปนา "โออาร์เอสโลก"
—
ORS ย่อมาจาก Oral Rehydratio...
แนะยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” สสจ.นครพนม เตือนภัย ระวัง“โรคอาหารเป็นพิษ”
—
นายแพทย์ธราพงษ์ กัปโก นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุ...