นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากเหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสินค้าโรงงานเฟอร์นิเจอร์ภายในซอยฉลองกรุง 51 เขตลาดกระบังว่า สนอ. ร่วมกับสำนักงานเขตลาดกระบังลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนภายในรัศมี 300 เมตรจากโกดังซึ่งเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งปล่อยฝุ่นควันและอากาศเสียสู่ชั้นบรรยากาศในพื้นที่โดยรอบ เพื่อเฝ้าระวังมิให้มลพิษส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เกิดเหตุ 7 จุด เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 68 พบว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 เกินค่ามาตรฐานบางจุด (ค่ามาตรฐาน PM2.5 ต้องไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัม (มค.)/ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) และ PM10 ไม่เกิน 120 มค./ลบ.ม.) อย่างไรก็ตาม ค่าสารเคมีที่อยู่ในอากาศ อาทิ ค่าไอระเหย (VOCs) ค่าแอมโมเนีย ค่าฟอร์มัลดีไฮล์ และค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังอยู่ในระดับไม่เกินมาตรฐาน โดยใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องตรวจวัดหาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย Volatile organic compounds (VOCs) เครื่องวัดปริมาณก๊าซพิษชนิดอ่านค่าได้ทันที (Gas Detector) เครื่องตรวจวัด PID แบบมือถือ และเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Aerocet 532)
นอกจากนี้ สนอ. ได้ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนของประชาชน หากต้องการอยู่ในที่พักอาศัยของตนเอง หรือหากต้องการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือนอกที่พักอาศัยจะต้องสวมใส่หน้ากากชนิด N95 แต่หากหลีกเลี่ยงได้ ก็จะดีต่อสุขภาพ หรือเข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ กทม. จัดเตรียมไว้ให้ โดยภายหลังเพลิงสงบเมื่อเวลา 07.00 น. ของวันที่ 13 พ.ค. 68 สนอ. ได้ประสานกรมควบคุมมลพิษเข้าตรวจวัดคุณภาพอากาศในส่วนของก๊าซพิษ (Toxic Gas) เพิ่มเติมอีกครั้ง สำหรับการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำ สนอ. ได้ประสานกรมควบคุมมลพิษเข้าเก็บตัวอย่างน้ำจากพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านเคมีและโลหะหนัก คาดว่าจะทราบผลภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนการเก็บตัวอย่างน้ำและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านทั่วไปเพื่อตรวจหาค่าความสกปรกและการปนเปื้อนทั่วไป ได้ประสานสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ พร้อมทั้งตรวจสอบค่าการปนเปื้อนสารเคมีและโลหะหนักในดิน โดยคาดว่าจะทราบผลภายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
ทั้งนี้ สนอ. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการและภาวะฉุกเฉิน โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน กทม. ได้แก่ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) และสำนักงานเขต รวมถึงหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อตรวจแนะนำความปลอดภัยด้านสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบกิจการที่มีการจัดเก็บ การผลิตการสะสม การขนส่ง และการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ได้กำหนดแผนการตรวจสอบสถานประกอบการดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 17 ธ.ค. 67 - 22 พ.ค. 68 ซึ่งจะรายงานผลการตรวจสอบให้หน่วยงานต่าง ๆ และสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจแนะนำทราบเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ได้สุขลักษณะ ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมายต่อไป
นายธราพงษ์ เพ็ชร์คง ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง กทม. กล่าวว่า สำนักงานเขตฯ ได้เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ที่อยู่ในพื้นที่รอบโรงงานดังกล่าว รวมทั้งร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบจากควัน โดยเน้นย้ำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด ดูแลสุขภาพตนเอง หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ค่าฝุ่นละอองสูง พร้อมแจกหน้ากากอนามัยให้กับกลุ่มเปราะบาง เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง สวมหน้ากาก N95 เมื่อออกจากบ้าน ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจไม่สะดวก หรือแน่นหน้าอก และพบแพทย์ทันทีหากมีอาการรุนแรง นอกจากนี้ สำนักงานเขตฯ ร่วมกับมูลนิธิปอเต็กตึ้งโรงพยาบาลหัวเฉียว และคณะกรรมการชุมชน จัดกิจกรรมให้บริการตรวจสุขภาพระบบทางเดินหายใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบ โดยจัดรถบริการเอกซเรย์เคลื่อนที่ ตรวจสุขภาพปอด ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น จ่ายยา ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ และมอบแว่นตาสำเร็จรูป
สำหรับการเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการในพื้นที่ ที่ผ่านมาสำนักงานเขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการทุกแห่ง โดยเฉพาะสถานประกอบการที่ผลิต เก็บ ครอบครอง มีการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย หรือวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดเหตุอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกประเภทในโรงเรียนสังกัด กทม. ว่า สนอ. ร่วมกับสำนักการศึกษา (สนศ.) และสถานศึกษาดำเนินการตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหายา/สารเสพติดในโรงเรียนสังกัด กทม. ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ มาตรการที่ 1 การเฝ้าระวังการใช้ยา/สารเสพติด มาตรการที่ 2 การป้องกันการใช้ยา/สารเสพติด มาตรการที่ 3 การบำบัดรักษาการติดยา/สารเสพติด มาตรการที่ 4 การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการที่ 5 การบริหารจัดการ โดยดำ
กทม. จัดหน่วยเคลื่อนที่ทั่วกรุงฯ ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ฝังไมโครชิป ทำหมัน สุนัข-แมว
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) ก...
กทม. ชวนหญิงไทย 11-20 ปี ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ทุกวันพุธ ถึง 30 เม.ย.นี้ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งทั่วกรุง
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยก...
กทม. รุกมาตรการป้องกันพิษสุนัขบ้า ชวนนำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีน-ใช้ "คาถา 5 ย" ป้องกันภัย
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการผู้อำนว...
กทม. เดินหน้าร่วมปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า บังคับใช้กฎหมาย-เฝ้าระวังลักลอบจำหน่ายในพื้นที่
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำ...
กทม. เข้มตรวจใบอนุญาตฯ-สุขลักษณะโรงเชือดไก่ 8 รายใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 44
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนาม...
กทม. วางแนวทางประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ลดผลกระทบจากปัญหาฝุ่น PM2.5
—
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนา...