กระทรวง อว. โดย สอวช. เผยทิศทางมหาวิทยาลัยในอนาคต ต้องพร้อมปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "The Next-Gen University: มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต" ในโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตร TU-EDP (Thammasat University-Executive Development Program) รุ่นที่ 7 จัดโดย สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับ กองทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โดยโครงการฯ นี้ จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริหารยุคใหม่ในระดับคณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย เพื่อต่อยอดวิสัยทัศน์ผู้บริหารให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของโลก เสริมสร้างความรู้ และทักษะด้านการจัดการสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับสถาบันอุดมศึกษา โดยในรุ่นที่ 7 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวม 35 คน

กระทรวง อว. โดย สอวช. เผยทิศทางมหาวิทยาลัยในอนาคต ต้องพร้อมปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของโลก

ดร.สุรชัย กล่าวถึงบทบาทของ สอวช. ที่มีหน้าที่หลักในการทำนโยบาย รวมถึงสนับสนุนการทำนโยบายและแผนให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งงานที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย จะทำงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) โดย สอวช. ได้ตั้งเป้าหมายสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อน ด้วยการจัดทำข้อริเริ่มเชิงนโยบาย นำการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เข้าหนุนเป้าหมายระดับชาติ หนึ่งในนั้นคือการผลิตและพัฒนาบุคลากรตอบความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านแพลตฟอร์มบูรณาการมาตรการและกลไกสนับสนุนการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง และปรับระบบการอุดมศึกษาให้เพิ่มคุณภาพการผลิตบัณฑิต กระทรวง อว. โดย สอวช. เผยทิศทางมหาวิทยาลัยในอนาคต ต้องพร้อมปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของโลก

ดร.สุรชัย ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์และทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา ที่โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สอวช. โดย ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight: APEC CTF) จึงได้นำเครื่องมือคาดการณ์อนาคตเข้ามาช่วยดูว่าในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจหรือเป็นกระแสที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนการทำนโยบาย ตัวอย่างสัญญาณโลกที่ควรรับมือเร่งด่วน เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ การย้ายถิ่นฐานของประชากรจากฝั่งตะวันตกไปเอเชีย เพื่อหางานและโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ การแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างประเทศในการควบคุมเทคโนโลยีสำคัญ เช่น AI, 5G, Quantum Computing เป็นต้น จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบรับกับความท้าทาย ทั้งรูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Non-age group, Non-Degree ผู้เรียนต้องเป็น Agile learners ปรับตัวเร็ว เรียนรู้เร็ว มีรูปแบบการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Personalized Education) มีแพลตฟอร์มและโมเดลการเรียนรู้ใหม่ ๆ และยังต้องมองถึงแนวโน้มอาชีพในอนาคตและทักษะในการจ้างงานด้วย

สำหรับความท้าทายของของการศึกษาไทยในอนาคต คือจำนวนเด็กที่ลดลง คาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะเหลือจำนวนเด็กในวัยเรียนเพียง 6.4 ล้านคน และเข้าถึงระบบการศึกษาได้น้อยกว่า 6 ล้านคน ซึ่งแนวโน้มนักเรียนที่เลือกจะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยก็จะลดลงตามไปด้วย โดย สอวช. ได้ทำการการสำรวจความต้องการบุคลากรทักษะสูง ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568-2572) พบว่ามีความต้องการกำลังคนรวม 1,087,548 คน โดยอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังคนสูงสุดคือ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

ด้านสถานภาพระบบอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ดร.สุรชัย ได้ชี้ให้เห็นข้อมูลอัตราการว่างงานของบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ พบว่าผู้ว่างงานในสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ในกลุ่มบัณฑิตระดับอุดมศึกษา จำนวนประมาณ 220,000 คน โดยมีตัวอย่างสาขาด้านวิศวกรรมที่มีแนวโน้มขาดแคลนในอนาคต ต้องเร่งการผลิตและพัฒนา เพื่อลดความเสี่ยงการขาดความสมดุลในตลาด (Mismatch) ได้แก่ วิศวกรโลจิสติกส์ วิศวกรโยธา วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์และคมนาคม วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ผู้อำนวยการ สอวช. ยังได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของต่างประเทศที่ใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน อาทิ Job First, College Included Model โมเดลที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ เน้นการฝึกฝนทักษะสำหรับการทำงานให้กับลูกจ้างของสถานประกอบการ Double MSMEs Value Project โครงการที่เปลี่ยนคนที่ไม่ได้รับการศึกษาให้เรียนออนไลน์แล้วได้วุฒิการศึกษา หรือค้าขายและสร้างรายได้เพื่อเพิ่มวุฒิ Micro-credential ระบบการรับรองดิจิทัลที่ตรวจสอบความสามารถของแต่ละบุคคลในทักษะเฉพาะหรือชุดทักษะ (Skill Set) นำไปสู่การพัฒนาความสามารถที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น จากข้อมูลกรณีศึกษาต่าง ๆ เมื่อนำมาถอดบทเรียน พบว่ามีปัจจัยความสำเร็จในการจัดการศึกษา ดังนี้ 1. หลักสูตรที่หลากหลาย 2. พันธมิตรที่แข็งแกร่ง 3. บุคลากรที่มีคุณภาพระดับชั้นนำ 4. ความเป็นสากล 5. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ และ 6. สภาพแวดล้อมที่ดี

ในส่วนของนโยบาย กลไกสนับสนุน อววน. ของกระทรวง อว. มีนโยบายและกลไกเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม อาทิ โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนเพื่ออนาคต (Reskill/Upskill) โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศ (GenNX) แพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง ตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ (STEMPlus) Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) การยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยการผลิตบัณฑิตศึกษาและวิจัยพัฒนานวัตกรรม (Hi-FI และ RDI) และการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) โดยล่าสุดมีการอนุมัติหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ไปแล้ว 19 ข้อเสนอ มีเป้าหมายผลิตกำลังคน 25,905 คน อีกทั้งยังมีการขับเคลื่อนหลักสูตร Semiconductor Engineering ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 8 สถานประกอบการ และ 15 สถาบันอุดมศึกษา ที่จะเริ่มเปิดหลักสูตรในปีการศึกษา 2568 ด้วย นอกจากนี้ สอวช. ยังสนับสนุนให้เกิดกลไก University Holding Company (UHC) โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของรัฐ สามารถร่วมลงทุนกับเอกชนได้โดยตรง ซึ่งการขับเคลื่อนในขั้นต่อไปคือการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือในการจัดตั้ง UHC การพัฒนามาตรการ/กลไก ส่งเสริมระบบนิเวศการร่วมลงทุน รวมถึงการปลดล็อกข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

ดร.สุรชัย ได้กล่าวในช่วงท้ายถึงแนวทางการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต โดยมีนโยบาย กลยุทธ์ แนวทาง มาตรการหรือแผนงานที่ช่วยปิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงานในอนาคต ได้แก่ 1. โปรแกรมเติมเต็มสมรรถนะบัณฑิตอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง 2. หลักสูตรนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง 3. โปรแกรมการพัฒนาทักษะบุคลากรผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นแบบเข้มข้นเพื่อการจ้างงาน และ 4. แพลตฟอร์มส่งเสริมการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังได้มีแนวทางการทำ Skill Future Thailand คือการนำทักษะที่พึงมีของแต่ละอาชีพมาเทียบกับทักษะของผู้เรียนที่ต้องการประกอบอาชีพนั้น ๆ เพื่อให้รู้ว่าผู้เรียนยังขาดทักษะในด้านใดและจะต้องเสริมทักษะใดเพิ่มเติมด้วย


ข่าวสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วันนี้

เมืองไทยประกันชีวิต จัดสัมมนา Muangthai Wealth Master 2024 หัวข้อ “Wealth Transfer เรื่องสำคัญที่คนยุคใหม่ต้องรู้”

บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา Muangthai Wealth Master 2024 หัวข้อ “Wealth Transfer เรื่องสำคัญที่คนยุคใหม่ต้องรู้” โดยมี นางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ อาจารย์อิสรานุวัฒน์ ศรีคุณ อาจารย์จากสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมรดก และนางศิรัถยา อิศรภักดี พิธีกร ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงิน ร่วมเสริมทัพให้ความรู้ ด้านการวางแผนเพื่อส่งต่อความมั่งคั่ง (Wealth Transfer) พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนมรดก

มธ. เปิดตัว e-learning platform TU Next จ... มธ. เปิดตัว e-learning platform TU Next — มธ. เปิดตัว e-learning platform TU Next จัดเสวนาทิศทางชุดทักษะแห่งอนาคตเพื่อก้าวไปข้างหน้ากับ มธ. ร่วมกับ...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายพารณ อิศรเสนา ผู้อำนวยก... ภาพข่าว: ผู้อำนวยการ ศศินทร์ รับรางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์” — เมื่อเร็วๆ นี้ นายพารณ อิศรเสนา ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารธุรกิจ ศศินทร์...

มธ. ชวนฟังบรรยาย “การดำเนินคดีความผิดอันยอมความได้”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ชวนประชาชนผู้สนใจร่วมฟังบรรยาย เรื่อง "การดำเนินคดีความผิดอันยอมความได้" เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อกฎหมายไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตหากเกิดคดีความกับตนเองและบุคคลรอบข้างเพื่อไม่ให้...

มธ. ชวนฟังบรรยาย “การออกกำลังกายในผู้สูงอายุแก้ปวดหลัง”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ชวนประชาชนผู้สนใจร่วมฟังบรรยาย เรื่อง "การออกกำลังกายในผู้สูงอายุแก้ปวดหลัง" โดยผู้สูงอายุจะมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการออกกำลังกายเพื่อคลายอาการปวดหลัง...