กรมวิชาการเกษตรเปิดมิติใหม่กำจัดแมลงศัตรูหลังเก็บเกี่ยว ชงใช้สารรมอีโคฟูมและเวเปอร์ฟอสกำจัด ใช้เวลาน้อย ปลอดภัย ไม่กระทบคุณภาพผลผลิต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมวิชาการเกษตร แนะใช้สารรมอีโคฟูม และสารรมเวเปอร์ฟอสกำจัดแมลงศัตรู หลังการเก็บเกี่ยว หลังวิจัยพบสารรมทั้ง 2 ชนิดสามารถกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชูจุดเด่น ลดระยะเวลาการรม ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลผลิต มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กรมวิชาการเกษตรเปิดมิติใหม่กำจัดแมลงศัตรูหลังเก็บเกี่ยว ชงใช้สารรมอีโคฟูมและเวเปอร์ฟอสกำจัด ใช้เวลาน้อย ปลอดภัย ไม่กระทบคุณภาพผลผลิต

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายกับผลิตผลเกษตรที่เก็บรักษาในโรงเก็บ โดยแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยว จะกัดกินผลิตผลเกษตรส่งผลให้สูญเสียน้ำหนักและคุณภาพ นอกจากนี้ แมลงยังปล่อยมูลออกมาทำให้ผลิตผลเกษตรสกปรก หากนำผลิตผลเกษตรเหล่านี้ไปเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหารจะเกิดการปนเปื้อน กรณีที่ประเทศคู่ค้าตรวจพบแมลงหรือเศษชิ้นส่วนของแมลงปนเปื้อนกับผลิตผลเกษตรอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้ ดังนั้นการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวจึงมีความสำคัญอย่างมาก

กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร (กวป.) กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยการใช้สารรมอีโคฟูม และสารรมเวเปอร์ฟอส ในการกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยว ที่สำคัญชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง มอดหนวดยาว มอดข้าวเปลือก และมอดฟันเลื่อย สำหรับการรมผลิตผลเกษตรชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวสาร ข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จนได้อัตราการใช้ที่เหมาะสม ในการกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และไม่กระทบต่อคุณภาพผลผลิตเกษตร

โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สารรมอีโคฟูม และสารรมเวเปอร์ฟอส มีจุดเด่น คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ติดไฟ และสามารถนำมาใช้ในการรมผลิตผลเกษตรได้หลายชนิด เช่น ธัญพืช ผลไม้แห้ง ใบยาสูบ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช โดยการใช้สารรมทั้ง 2 ชนิด สามารถลดระยะเวลาการรม โดยเพิ่มอัตราการใช้สารรมได้ ซึ่งแตกต่างจากการใช้สารรมฟอสฟีนในรูปของแข็งที่ต้องใช้ระยะเวลาการรมผลิตผลเกษตรนาน 7-14 วันและไม่สามารถลดระยะเวลาในการรมได้ เนื่องจากการกำหนดความเข้มข้น ของก๊าซฟอสฟีนภายในกองผลิตผลเกษตรทำได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดไฟและ การเกิดระเบิดเมื่อใช้สารรมฟอสฟีนในรูปของแข็งในปริมาณมาก ๆ อีกทั้งยังพบปัญหาที่ฟอสฟีนแตกตัวออกมาไม่หมด โดยจะเหลือตกค้างประมาณ 3 - 5% หากไม่มีการกำจัดอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ดังนั้น การใช้สารรมอีโคฟูม และสารรมเวเปอร์ฟอส ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ ในการทดแทนการใช้สารรมเมทิลโบรไมด์ และสารรมฟอสฟีนในรูปของแข็ง

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร มีแผนที่จะจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "เทคนิคการใช้สารรมฟอสฟีน สารรมอีโคฟูม และสารรมเวเปอร์ฟอส เพื่อกำจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ" ในวันที่ 19 มิถุนายน 2568 สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2579 7813-4 ต่อ 14


ข่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม+ภัสชญภณ หมื่นแจ้งวันนี้

New Yamaha Finn สบายใจ…ใช้ฟินน์ รถครอบครัวสุดประหยัด ระดับพรีเมียม สีใหม่! ยืนหนึ่งเคียงข้างคนไทย พร้อมรับประกัน 5 ปี ไม่จำกัดระยะทาง

บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เดินหน้ารุกตลาด รถจักรยานยนต์ครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ส่ง New Yamaha Finn 2025 ภายใต้แนวคิด "สบายใจ…ใช้ฟินน์" รถครอบครัวรุ่นใหม่ ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ทันสมัย สีสันใหม่ล่าสุด พร้อมสมรรถนะแรงดี ทนทาน คุ้มค่า ขับขี่ง่าย และประหยัดน้ำมัน ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว New Yamaha Finn 2025 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 114 ซีซี ระบบหัวฉีดอัจฉริยะ (Fuel Injection) ให้กำลังแรง ทนทาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบสมองกล ECU ที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันอย่างแม่นยำ ช่วย

ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย บิ๊กบอส DMT เซ็นสัญญา... DMT ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาด100%ที่อาคารสำนักงานและด่าน — ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย บิ๊กบอส DMT เซ็นสัญญาใช้บริการไฟฟ้า UGT1 หรือ "ไฟฟ้าสีเขียว" จากการไฟฟ้านครหลวง...

"ไข่ปลาคาเวียร์จากพืช" นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ฝีมือนักศึกษา มจธ. คว้าเหรียญทองระดับชาติ พร้อมลุยต่อตลาดโลก

ท่ามกลางกระแสความต้องการอาหารแห่งอนาคตที่ใส่ใจทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มนักศึกษาไทยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้สร้างนวัตกรรมโปรตีนทางเลือกใหม่ที่น่าจับตามองอย่าง "ส...