แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) แพลตฟอร์มสินเชื่อนาโนพลังเอไอหัวใจมนุษย์ จากบริษัท มันนิกซ์ จำกัด (MONIX) เปิดอินไซต์จากโครงการห้องเรียนออนไลน์ "เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์" ว่า Gen Y หรือเจนหนี้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะการจัดการหนี้และการเงินพื้นฐาน สะท้อนผ่านยอดผู้เรียนกว่า 62,000 ราย โดยมีพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ชี้ให้เห็นถึงความต้องการองค์ความรู้ที่เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินในชีวิตประจำวัน พร้อมชี้โอกาสขยายการเข้าถึงความรู้ทางการเงินสำหรับคนไทยในอนาคต
แม้ภาพรวมทักษะทางการเงินของคนไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่จากผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังชี้ให้เห็นความเปราะบางด้านการเงินที่น่ากังวล คนไทยยังมีทัศนคติและพฤติกรรมในด้านการเงินที่น่าเป็นห่วง โดยกว่า 70% ไม่ได้วางแผนการเงินล่วงหน้า และมีเพียง 22.4% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉิน 6 เดือนขึ้นไป ขณะที่ข้อมูลหนี้สินภาคครัวเรือนจากเครดิตบูโร ณ ไตรมาสสาม ปี 2566 ชี้ว่า คน Gen Y (25-43 ปี) เป็นกลุ่มที่มีหนี้ครัวเรือนและหนี้เสียในสัดส่วนที่สูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนว่าปัญหาทางการเงินของคนไทยไม่ได้เกิดจาก "ไม่มีเงิน" เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจาก "ไม่รู้ ไม่เข้าใจ" ในการบริหารจัดการเงิน ซึ่งจะกลายเป็นต้นตอของภาระหนี้ในระยะยาวอีกด้วย
ปัญหานี้เองที่ทำให้ "ความรู้ทางการเงิน" กลายเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตทางการเงินของคนไทย และเป็นเหตุผลที่ฟินนิกซ์เร่งขับเคลื่อนโครงการ "เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์" ตั้งแต่เดือนเมษายนในปีที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะและพฤติกรรมทางการเงินที่สอดรับกับความเป็นจริงของสังคมไทย ผ่าน 7 คอร์สออนไลน์ ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเงิน การบริหารหนี้ การจัดการรายรับ-รายจ่าย-การออม-การลงทุน ไปจนถึงการเลือกใช้สินเชื่ออย่างเหมาะสม โดยเนื้อหาถูกออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง พร้อมแบบทดสอบท้ายบทเรียน ผู้สนใจสามารถเรียนฟรีได้ทุกที่ทุกเวลาที่ https://www.finnix.co/e-learning
ผลลัพธ์จากการเรียนรู้จากทั้ง 7 คอร์สเรียนของฟินนิกซ์ ช่วยให้ผู้เรียนได้รับทักษะการเงินใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การบริหารหนี้ 2) การจัดการเงินส่วนบุคคล 3) การตัดสินใจทางการเงิน และ 4) ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์การเงิน โดยพบพฤติกรรมการเรียนรู้และความสนใจของผู้เรียน ดังนี้
หนึ่งพฤติกรรมที่เด่นชัดคือ ผู้เรียนกว่า 80% เลือกเรียนผ่านมือถือ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการเรียนรู้สู่ยุคการเสพคอนเทนต์บนมือถือ (Mobile-First) ที่เน้นความคล่องตัว ซึ่งกลายเป็นวิถีหลักในการเข้าถึงความรู้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการเรียนจบบนช่องทางโซเซียลมีเดีย เช่น YouTube อยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการเรียนเนื้อหาที่ตรงประเด็น กระชับ และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่
จากอินไซต์ของโครงการยังระบุว่า ผู้เรียนเป็นเพศชาย 60% และเพศหญิง 40% โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน แบ่งเป็น Gen Y 68% และ Gen X 31% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่ชี้ว่า Gen Y คือ กลุ่ม "แซนวิช เจเนอเรชัน" หรือกลุ่มเดอะแบกของครอบครัว ที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่และลูก จึงมีภาระหนี้สูง ข้อมูลนี้ยังสะท้อนว่า กลุ่มคนวัยทำงานกำลังเร่งเสริมความรู้การเงินเพื่อจัดการภาระหนี้และเตรียมความพร้อมทางการเงิน ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นยังมีสัดส่วนน้อย ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงโอกาสในการขยายการรับรู้เรื่องการเงินในคนรุ่นใหม่ต่อไป
นางสาวถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด (MONIX) กล่าวว่า "เราตั้งใจให้ฟินนิกซ์เป็นมากกว่าแอปเงินกู้ โดยเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยคนไทยสร้างรากฐานทางการเงินที่มั่นคง เราเชื่อว่าการส่งเสริมทักษะการเงินในทุกมิติของโครงการ 'เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์' ตั้งแต่การจัดการหนี้ไปจนถึงการวางแผนการเงินระยะยาว จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและทำให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ 'มีสุข' สมกับแนวคิดของเรา ซึ่งปัจจุบันเราช่วยให้คนไทยมีทักษะการเงินที่ดีขึ้นแล้วกว่า 62,000 ราย สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้กว่า 6 เท่า อีกทั้งอินไซต์ที่ได้จากโครงการนี้ยังช่วยสะท้อนความต้องการเรียนรู้ทักษะการเงินของคนไทย และจะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคอร์สและเนื้อหาใหม่ๆ ของเราที่ตอบโจทย์ผู้เรียนต่อไป"
ในยุคที่เศรษฐกิจท้าทาย การรู้เท่าทันการเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ฟินนิกซ์ยังย้ำเป้าหมายในการพัฒนาเนื้อหาให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้ชมและผลักดันสังคมไทยให้ก้าวสู่ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว พร้อมเปิดโอกาสและขยายการเข้าถึงองค์ความรู้ทางการเงินผ่านช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป
เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา การท่าเรือแห่งประเทศไทย นำคณะผู้นำชุมชนจากพื้นที่คลองเตย เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพบางเดชะ (ภูมิภูเบศร) จังหวัดปราจีนบุรี ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านการเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมในช่วงเช้าเริ่มด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ศักยภาพของสมุนไพรไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน"
Bitkub Exchange และ Bitkub Academy ประกาศจับมือ Cetus โปรเจกต์ DEX ใหญ่สุดบน Sui
—
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการ Bitkub Exchange ศูนย์ซื้อขายสิ...
เพลิดเพลินไปกับบรั๊นช์หรรษาฉลองเทศกาลอีสเตอร์ไปกับครอบครัวที่คุณรัก ที่ เน็กซ์ทู คาเฟ่ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ
—
เชิญคุณพร้อมครอบครัวและคนที่คุณรักมาอิ่ม...
'สานใจไทย สู่ใจใต้' รุ่นที่ 44 … ซีพี - ซีพีเอฟ หนุนโครงการต่อเนื่องมุ่งเสริมสร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาความคิดและทักษะอาชีพแก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่
—
เครือเจริญโ...
ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย บริจาค 2.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ
—
ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินจำนวน 2.2 ล้านบาท แก่มูลนิ...
ฟอลคอนประกันภัยร่วมกับพนักงาน ลงพื้นที่ จ. ชัยภูมิ สนับสนุนการศึกษา-สาธารณสุข ตามนโยบาย ESG ของบริษัท
—
ฟอลคอนประกันภัยมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างย...
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เปิดตัวโครงการ Conserve my Planet เสริมแกร่งการศึกษาไทยด้าน STEM และพลังงานยั่งยืน
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ...
เฟดเอ็กซ์ จับมือ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เสริมสร้างพลังใจและส่งมอบโอกาสให้เยาวชนไทยในชนบท
—
แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะพยายามพัฒนาการศึกษาให้เข้าถึงได้ง...