"The Future of Thailand's Financial Sector in the Digital Era" อนาคตการเงินไทยในยุคดิจิทัล
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมพลังแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนระบบการเงินไทยสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และปลอดภัย ในงานเสวนาวิชาการ "The Future of Thailand's Financial Sector in the Digital Era: อนาคตการเงินไทยในยุคดิจิทัล" จัดโดยสมาคมฟินเทคประเทศไทย ร่วมกับบริษัท แอมเบอร์สตาร์ จำกัด ณ SCBx NEXT TECH สยามพารากอน (เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568) ที่ผ่านมา
สมาคมฟินเทคฯ หนุนฟินเทคไทยเป็นกลไกเสริมการเข้าถึงสินเชื่ออย่างเท่าเทียม
นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ในนามผู้จัดงาน ได้กล่าวเปิดงานโดยเน้นย้ำบทบาทของสมาคมฯ ในการเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างระบบการเงินที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมกล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 88% ต่อ GDP จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขผ่านนวัตกรรมทางการเงินที่เข้าถึงได้จริง
"เราคาดหวังว่าธนาคารรายใหม่ที่จะให้บริการในรูปแบบ Virtual Bank และนโยบายด้าน Open Banking / Open Data จะเปิดโอกาสใหม่ให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และสามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ" คุณชลเดชกล่าว พร้อมเสนอให้ภาครัฐเร่งผลักดันโครงการ Your Data เพื่อเปิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของประชาชนเองอย่างเป็นธรรม ในต้นทุนที่เหมาะสม
กระทรวงยุติธรรมชูบทบาทกฎหมายทันสมัย เสริมความเชื่อมั่นในระบบการเงินดิจิทัล
นายยอดฉัตร ตสาริกา ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน โดยเน้นว่า การเงินในยุคดิจิทัลต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบกฎหมายที่เชื่อถือได้ เข้าถึงง่าย และมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงยุติธรรมมีบทบาททั้งในด้านการยกร่างกฎหมายใหม่ เช่น การยกเลิกความผิดอาญาเกี่ยวกับเช็ค และการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำบทบาทของกระทรวงยุติธรรมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงรุก และการเข้าร่วมเวทีระหว่างประเทศ เช่น การประชุม UN Congress on Crime Prevention เพื่อแสดงบทบาทเชิงนโยบายด้านกฎหมายเทคโนโลยีของไทย
รัฐเดินหน้ากำกับ-ป้องกัน-ส่งเสริมการเงินดิจิทัลเพื่อประชาชนทุกกลุ่ม
ช่วงเสวนาแรกภายใต้หัวข้อ "มุมมองภาครัฐกับการยกระดับระบบการเงินในยุคดิจิทัล" มีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐสำคัญเข้าร่วม ได้แก่
ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบายการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น "ศูนย์กลางฟินเทคและข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาค" ผ่านการจัดทำพระราชบัญญัติด้าน Big Data และการส่งเสริมศูนย์ข้อมูลทางการเงิน พร้อมชี้ว่าใบอนุญาต Pico และ Nano Finance ภายใต้กรอบดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการหนี้นอกระบบ เขายังเสนอให้มี "คณะทำงานเฉพาะกิจระหว่างหน่วยงานรัฐ" เพื่อบูรณาการนโยบายกับการปฏิบัติจริง โดยกล่าวว่า "รัฐบาลมุ่งมั่นจะเป็นศูนย์กลางฟินเทคของภูมิภาค แต่ต้องไม่ละเลยกลไกคุ้มครองประชาชนควบคู่กันไป"
ดร.เอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบายบทบาทของ AOC (Anti-Online Crime Unit) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากธนาคาร หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อตรวจสอบและระงับบัญชีต้องสงสัยได้แบบเรียลไทม์ พร้อมแนะนำให้ประชาชนใช้สายด่วน 1441 กด 1 เพื่อแจ้งเหตุหรือกด 3 เพื่อให้ข้อมูลเบาะแสกรณีฉ้อโกงทางการเงิน
พ.ต.อ.เพชรชุมพร ศรีวะรมย์ รองผู้กำกับการสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าวว่า หน่วยงานมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้และการทวงหนี้โดยมิชอบ พร้อมเสนอให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยที่อยู่ภายใต้การกำกับเข้ามาเติมเต็มระบบการเงินอย่างเป็นทางการ
นายสถาพร ธีรโชติสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม รายงานว่า มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ตามแนวทาง "วิถีแห่งความเป็นธรรม" ได้ช่วยประชาชนกว่า 39,000 รายภายในปีเดียว พร้อมจัดตั้งศูนย์บริการให้คำปรึกษาทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาและประสานการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
เอกชนเสนอการเงินดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ ใช้ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสใหม่
ในช่วงเสวนา "พลังเอกชนกับโอกาสใหม่ในการเข้าถึงสินเชื่อ" ภาคธุรกิจเทคโนโลยีการเงินได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโมเดลสินเชื่อดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และสามารถรองรับความต้องการของประชาชนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงระบบธนาคารได้จริง
บริษัท J Ventures ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยที่ใช้เทคโนโลยี ได้เสนอแนวทางการใช้ Alternative Credit Scoring โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึก เช่น การผ่อนชำระมือถือ การใช้งานโทรศัพท์ และกิจกรรมออนไลน์ เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้ที่ไม่มีข้อมูลในระบบเครดิตบูโรแบบเดิม พร้อมผลักดันให้เกิด ระบบแบ่งปันข้อมูลทางเลือกในหมู่ผู้ให้บริการ ซึ่งสามารถช่วยกรองความเสี่ยงและลดการซ้ำซ้อนของหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนกฎหมายที่รองรับฟินเทคอย่างเป็นทางการ และสนับสนุนให้เกิดระบบแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ เพื่อเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม โปร่งใสและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ทั้งนี้ภาคเอกชนเสนอว่าเทคโนโลยีควรถูกนำมาใช้เพื่อ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้กู้รายย่อย และสร้างรูปแบบการปล่อยสินเชื่อที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น การผ่อนรายวันแทนรายเดือน หรือการแจ้งเตือนผ่านระบบอัตโนมัติ รวมถึงการให้ รางวัลจูงใจผู้มีวินัยทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเงินที่ยั่งยืน
ความร่วมมือรัฐ-เอกชน คือกุญแจสู่ระบบการเงินดิจิทัลที่ยั่งยืนและเท่าเทียม
บทสรุปของเวทีเสวนาชี้ชัดว่า "นวัตกรรมทางการเงิน" จะไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน หากปราศจาก "ระบบกฎหมายและการกำกับดูแลที่โปร่งใส"รวมถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างระบบการเงินที่ปลอดภัย เป็นธรรม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
"สมาคมฟินเทคประเทศไทย" หรือ TFA องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม Fintech ของประเทศไทย ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ นำโดย "คุณชลเดช เขมะรัตนา" นายกสมาคม ได้เปิดตัวหลักสูตร "Fintech Course: Unleashing Future of Finance" ที่จะทำให้การทำธุรกิจฟินเทคไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป พร้อมแล้วสำหรับหลักสูตรที่ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจและผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจฟินเทค ที่จะเพิ่มทักษะและความรู้กับเหล่าวิทยากรด้านฟินเทคคุณภาพระดับประเทศ
ท๊อป จิรายุส ชี้เทรนด์โลกปีหน้า ต่างชาติเตรียมทุ่มเม็ดเงินเข้าไทย พร้อมสนับสนุน ฟินเทคไทย ร่วมอนุญาโตตุลาการ (THAC) เปิดช่องระงับข้อพิพาททางเลือก
—
เมื่อวันที่...
สมาคมฟินเทคประเทศไทย จับมือ 10x1000 นำเสนอหลักสูตรด้านฟินเทคระดับโลก ให้กับผู้ประกอบการไทย
—
10X1000 Tech for Inclusion แพลตฟอร์มที่รวบรวมการอบรมและการเรี...
ภาพข่าว: EXIM BANK จัดสัมมนา Libra Coin กับพัฒนาการทางการเงินในโลกยุคดิจิทัล
—
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออก...
สมาคมประกันวินาศภัยไทย และพันธมิตร ร่วมมือสร้าง Insurtech Startup หน้าใหม่ ภายใต้โครงการ Insurtech Ignite Hackthon ครั้งที่ 2
—
สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมา...
600 สตาร์ทอัพ ยื่น 7 ข้อเสนอนายกรัฐมนตรี กำหนดอนาคตประเทศไทย
—
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาลให้ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรี...
ภาพข่าว: กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ จัดสัมมนาเจาะลึกความท้าทายในโลกการเงินยุคดิจิทัลและแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปี 2561
—
นายโนริอากิ โกโตะ (กลาง) กรรมการผู้จ...
ภาพข่าว: ทีซีซีเทค - ลีพ โซลูชั่น ร่วมออกบูธในงาน F13 Grand Opening
—
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) และบริษัท ลีพ โซลูชั่น เ...