คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สร้างผลงานวิจัยตามยุทธศาสตร์นำนวัตกรรมสื่อสร้างสังคมไร้ความรุนแรง ในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตภาพยนตร์ผลงานจากการวิจัย "เรื่องของเรา" เล่าเรื่องความขัดแย้งชายแดนใต้ที่ก้าวพ้นตัวตน เสนอเรื่องราวคนในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากความขัดแย้ง หนุนบทบาทการสร้างสันติภาพด้วยความรู้และนวัตกรรมทางสังคม
รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ตามแผนยุทธศาสตร์การวิจัยด้านสังคมไทยไร้ความรุนแรง เพื่อดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้และเสนอมุมมองที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้เพิ่มเติม ผลการวิจัยถือเป็นนวัตกรรมสื่อทางสังคม ที่พัฒนามาจากผลการวิจัยเป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องความขัดแย้งจากมุมของผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ สะท้อนปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดมา เช่น การสูญเสียคนที่รักของครอบครัว การศึกษาของเด็ก ๆ ปัญหาการทำมาหากินที่ยากลำบาก ภาพยนตร์จากงานวิจัยครั้งนี้ชื่อ "เรื่องของเรา" ที่พร้อมเผยแพร่ให้ได้ชมบนช่องทางออนไลน์และยังสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในกระบวนการแปรเปลี่ยนสู่สันติภาพชายแดนใต้ ใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ได้
"ภาพยนตร์ 'เรื่องของเรา' เป็นองค์ความรู้ใหม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมไทย ถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของพลังทางวิชาการสู่ภาพยนตร์ที่สามารถต่อยอดสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เป็นนวัตกรรมสื่อที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมที่จะร่วมกันมองปัญหาความขัดแย้งแบบไม่แบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย กระตุ้นให้สังคมร่วมกันผลักดันให้เกิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นสันติภาพ" รศ.ดร.ปรีดา กล่าว
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. สนับสนุนโครงการวิจัยตามยุทธศาสตร์ ววน. ภายใต้แผนงาน "สังคมไทยไร้ความรุนแรง" ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของแผนงานวิจัยในมิติด้านสังคมที่ วช. ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาพยนตร์ "เรื่องของเรา" เป็นผลผลิตจากโครงการวิจัย "การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้สู่สันติภาพ ด้วยกระบวนทัศน์การเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตนผ่านภาพยนตร์สั้น" นับเป็น นวัตกรรมทางสังคม ที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ความเข้าใจของผู้คน ถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ผ่านสื่อสร้างสรรค์ที่เข้าถึงง่ายและมีพลังในการสื่อสาร เพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลผลิตจากงานวิจัยในครั้งนี้ จะนำไปสู่การสร้างแรงสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงงานวิจัยเพิ่มเติมว่า ภาพยนตร์ "เรื่องของเรา" เป็นผลผลิตจากงานวิจัยเรื่อง "การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้สู่สันติภาพด้วยกระบวนทัศน์การเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตนผ่านภาพยนตร์สั้น" งานวิจัยมีแนวคิดหลักคือ การนำแนวคิดการเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตน (Self-transcendental narrative) ซึ่งเป็นแนวคิดการเล่าเรื่องปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันในระดับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คณะวิจัยลงพื้นที่เพื่อค้นหามุมมอง ความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ ด้วยการให้คนในพื้นที่เล่าเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำกิจกรรมการสะท้อนความคิด (Projective Technique) จากนั้นจึงนำผลการวิจัยมาสังเคราะห์ เป็นแก่นเรื่องที่เล่าเรื่องความรุนแรงในแบบข้ามพ้นตัวตน ให้แต่ละคนเล่าเหตุการณ์จากประสบการณ์ตนเอง แล้วถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เห็นเหตุการณ์จากมุมของคนหลากหลายที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น พัฒนาสร้างสรรค์เป็นบทภาพยนตร์แนว Omnibus Film ที่รวบรวมเรื่องสั้น ๆ ที่แตกต่างกันไว้ในเรื่องเดียวกัน
"ภาพยนตร์มุ่งหวังจะสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสันติภาพ ในแนวทางที่ละทิ้งตัวตนของทุกฝ่ายและร่วมกันมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือสันติภาพ คณะวิจัยได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่จะช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ชวนให้ผู้ชมมองปัญหาในฐานะผู้มีส่วนร่วม พร้อมรับฟัง แก้ไขและร่วมกันสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง" ผศ.ดร.ธีรดา กล่าวทิ้งท้ายเชิญรับชมภาพยนตร์ "เรื่องของเรา" ได้ที่ https://youtube.com/@chulauniversity
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอนำภาพยนตร์ไปจัดฉายในกิจกรรมด้านการเรียนรู้ การศึกษา หรือเป็นสื่อสำหรับกระบวนการ แก้ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/commartschulaofficial หรือ โทร.0-2218-2205
ละครนิเทศฯ จุฬาฯ ได้จัดพิธีบวงสรวง ละครเวทีในชื่อ "ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love" หลังห่างหายไปเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ณ อาคารมงกุฎสมมุติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในงานได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ นำทัพนักแสดงและทีมงานร่วมพิธี นอกจากนี้ยังมี ริว อิงครัต HEADLINER THAILAND, อู๋ ธัชพล GMM MUSIC, ชาช่า Chuang Asia 2024 และ เฟย์ IDOLFACTORY เข้าร่วมในครั้งนี้ นางสาวศุภณัฐ สิริรัตตนนท์ ประธานละครนิเทศฯ 2567 กล่าวว่า พิธีบวงสรวงละครนิเทศฯ เป็น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนพูดคุย...จิบถ้อยคำผ่านบทกวี
—
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมวงแลกเปลี่ยนเขียนอ่านของผู้ที่รักหนังสือ The Writer's Life...
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
—
บริษัท เบอร...
SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025
—
นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...