ผู้เชี่ยวชาญเผยตัวอย่างเทคโนโลยีและไอเดียสร้างเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน จากเวทีนานาชาติ "Sustainability Week Asia" ที่กรุงเทพฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อเร็วๆ นี้ ในการเสวนา "การสร้างเมืองภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน" ในงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 จัดโดย "ดิ อีโคโนมิสต์ อิมแพค" ที่กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมอภิปรายจากนานาชาติได้แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการนำแนวทางต่างๆ มาสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตเมืองของประเทศในเอเชีย โดยผู้แทนจากบริษัท ดาว (Dow) ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และบรรจุภัณฑ์ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีการรีไซเคิลขั้นสูงในการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยผู้ร่วมเสวนาคนอื่นๆ ต่างเห็นพ้องกันว่า นอกจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความร่วมแรงร่วมใจจากชุมชนแล้ว การมีนโยบายที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชาติและการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญเผยตัวอย่างเทคโนโลยีและไอเดียสร้างเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน จากเวทีนานาชาติ "Sustainability Week Asia" ที่กรุงเทพฯ

นายบัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท ดาว (Dow) กล่าวในงานเสวนาว่า การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจเส้นตรงที่ใช้ทรัพยากรแล้วทิ้ง ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นเป็นเรื่องท้าทาย โดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่ก้าวหน้า นโยบายการจัดการขยะแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้

นายบัมบังกล่าวว่า "การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม แต่เราต้องเริ่มลงมือทำเลย"

นายบัมบังซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ยกตัวอย่างธุรกิจคัดแยกขยะในจีนที่ใช้ "ถังขยะอัจฉริยะ" หรือ "Smart Bin" ซึ่งสามารถระบุและชั่งน้ำหนักขยะ คัดแยก และตีราคาขยะเป็นเงิน โดยเครดิตการซื้อขายขยะจะส่งตรงไปยังบัญชีของเจ้าของขยะผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งนอกจากจะสร้างมูลค่าให้ขยะรีไซเคิลแล้ว ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีการติดตั้งถังขยะอัจฉริยะประมาณ 31,000 ถังใน 38 เมืองใหญ่ของจีน เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกวางโจว

ความสำเร็จของ Smart Bin แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มอัตราการเก็บและคัดแยกขยะ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการขยะ

นายบัมบังกล่าวว่า "เทคโนโลยี Smart Bin ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในเมืองซึ่งมีความสำคัญในการสร้างนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียน"

นายบัมบังยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า บริษัท ดาว (Dow) ได้ใช้ประโยชน์จากถังขยะอัจฉริยะนี้ในการตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเชิงกลขั้นสูง เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิลของ Dow สามารถรีไซเคิลได้แบบเดียวกับเม็ดพลาสติกที่มีโครงสร้างชั้นเดียว (single pellet) และยังคงประสิทธิภาพตามที่ต้องการ ซึ่งการผลิตและใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะช่วยลดขยะพลาสติก ลดการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ ลดการใช้พลังงาน และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การสนับสนุนแนวทางถังขยะอัจฉริยะของบริษัท ดาว (Dow) เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือของทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกไปจนถึงผู้ประกอบการรีไซเคิล เพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและผลักดันเป้าหมายด้านความยั่งยืน

ด้านผู้ร่วมเสวนาคนอื่นๆ ต่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นของความร่วมมือในทุกภาคส่วน รวมถึงการกำหนดกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชาติ และการยกระดับการศึกษาด้านการจัดการขยะในการสร้างอนาคตแบบหมุนเวียน

นางแซนดี้ คูมาร์ จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) สำนักงานระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำกรุงเทพฯ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการกำหนดกรอบการทำงานระดับชาติ โดยสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันนำเทคโนโลยีและแนวทางใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการกับปัญหามลพิษจากขยะ นางแซนดี้ยังกล่าวถึงเครื่องมือ Waste Wise Cities Tool (WaCT) ของสหประชาชาติซึ่งมี 7 ขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขยะมูลฝอยชุมชน ตั้งแต่การเก็บรวบรวมไปจนถึงการจัดการในโรงงาน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำหรับการสร้างเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน

บนเวทีเสวนา นางโอลิเวีย หว่อง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม บริษัทขนส่ง MTR Corporation ของฮ่องกง ตัวแทนภาคการขนส่งได้แบ่งปันมุมมองว่า แม้ภาคขนส่งไม่ใช่ผู้ผลิตขยะโดยตรง แต่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแนวคิดเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน เนื่องจากภาคการขนส่งเข้าถึงผู้คนและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อยู่อาศัยในเมืองจำนวนมาก ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะจึงมีศักยภาพในการให้ความรู้แก่ผู้โดยสารหลายล้านคนในแต่ละวันในเรื่องการจัดการขยะและวงจรรีไซเคิล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนเมืองในเรื่องรีไซเคิล โดยนางโอลิเวียได้เล่าถึงโครงการความริเริ่มต่างๆ ในฮ่องกง เช่น การให้ความรู้แก่ผู้โดยสารและพนักงานเกี่ยวกับการแยกขยะ และการนำตู้รถไฟและชิ้นส่วนที่ปลดระวางแล้วมาใช้ใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะลดปริมาณขยะ ยังสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังคุณค่าของทรัพยากรในหมู่เยาวชน

นายยูทากะ มิคามิ ผู้จัดการฝ่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนา สำนักกิจการระหว่างประเทศ เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า เมืองโยโกฮาม่า เป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในเมืองใหญ่ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องการแยกขยะ ผ่านโครงการรณรงค์และเวิร์กช็อปด้านการศึกษาจำนวนมาก โยโกฮาม่าส่งเสริมให้นักเรียนและผู้ปกครองแยกขยะในครัวเรือน ส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตั้งแต่เด็ก ซึ่งเมืองโยโกฮาม่าได้แบ่งปันประสบการณ์และความสำเร็จในการรีไซเคิลให้กับเมืองต่างๆ ในเอเชีย รวมถึงเมืองในฟิลิปปินส์และไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทแห่งญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)

ในช่วงท้ายของการเสวนา ผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในเอเชียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจเส้นตรงแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เวทีเสวนาระดับภูมิภาคนี้ได้เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมร่วมมือกันสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนในเอเชียให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป


ข่าวบรรจุภัณฑ์+เทคโนโลยีวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

ชวนทุกคนอนุรักษ์ทะเลไทย ผ่านฝารักษ์โลกและ... "น้ำดื่มคริสตัล" ร่วมกับ "โลตัส" เปิดแคมเปญเซฟพื้นที่สีฟ้าและสัตว์ในท้องทะเล — ชวนทุกคนอนุรักษ์ทะเลไทย ผ่านฝารักษ์โลกและฉลากบรรจุภัณฑ์ดีไซน์ใหม่ลายวาฬบรูด...

"ชาดาสุวรรณ์" แบรนด์สมุนไพรไทยคุณภาพ จำหน... "ชาดาสุวรรณ์ " สมุนไพรไทยแท้กว่า 30 ชนิด พร้อมให้บริการทั้งปลีก-ส่ง และรับผลิตแบรนด์ตามสั่ง — "ชาดาสุวรรณ์" แบรนด์สมุนไพรไทยคุณภาพ จำหน่ายสมุนไพรอบแห้งหลา...

อำพลฟูดส์ (Ampol Food) ผู้นำนวัตกรรมในอุต... เอสไอจีจับมืออำพลฟูดส์ เปิดตัวนวัตกรรมขวดกระดาษครั้งแรกของไทย — อำพลฟูดส์ (Ampol Food) ผู้นำนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เลือกใช้ขวดกระด...