เจาะลึกผลสำรวจล่าสุดจาก "เอบีม คอนซัลติ้ง" 'Employer Branding' ตัวพลิกเกมทรานส์ฟอร์มโลกธุรกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า 'การสร้างภาพลักษณ์นายจ้างเชิงกลยุทธ์' คือหัวใจในการดึงดูดและรักษาคนเก่งในยุคเปลี่ยนผ่าน

เจาะลึกผลสำรวจล่าสุดจาก "เอบีม คอนซัลติ้ง" 'Employer Branding' ตัวพลิกเกมทรานส์ฟอร์มโลกธุรกิจ

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา "การทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอธุรกิจ" (business portfolios) กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักที่หลายองค์กรต้องเผชิญคือการสรรหาและรักษาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยผลสำรวจล่าสุดจาก เอบีม คอนซัลติ้ง ภายใต้หัวข้อ "The Importance of Employer Branding as Seen from the Fact-finding Survey on Business Portfolio Transformation and Attractiveness of Human Capital Both Internally and Externally" ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของ Employer Branding หรือการสร้างแบรนด์นายจ้างในการดึงดูดและรักษาบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยผลสำรวจเน้นย้ำว่า องค์กรที่มีการผสานกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ภายในและภายนอกอย่างสอดคล้องกัน จะมีความสามารถสูงกว่าในการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะได้ตรงความต้องการ

การสำรวจนี้ครอบคลุมผู้บริหารระดับสูงในสายงานทรัพยากรบุคคลและแผนงานองค์กรจำนวน 301 คน จากบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 50,000 ล้านเยน ผลพบว่า 85.7% ขององค์กรเห็นว่าการทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอธุรกิจเป็นกลยุทธ์สำคัญ แต่ 92.7% กลับประสบปัญหาในการจัดหาบุคลากรทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ โดยมีเพียง 12% เท่านั้นที่ระบุว่ามีบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอ และมีเพียง 21.2% ของบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตเท่านั้นที่เชื่อมั่นในคุณภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่

แม้หลายองค์กรจะตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรที่มีทักษะสูง แต่กลับประสบปัญหาในการดึงดูดคนเก่งเข้าสู่องค์กร โดยสาเหตุหลักมีสองประการ ได้แก่ การขาดแคลนตลาดแรงงาน และการขาดการสร้างภาพลักษณ์นายจ้างที่น่าสนใจ ซึ่งองค์กรที่สามารถสื่อสารจุดแข็งของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอก มักจะประสบความสำเร็จในการดึงดูดบุคลากรคุณภาพ

จากการศึกษาของ เอบีม คอนซัลติ้ง พบปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3 ประการในการดึงดูดทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม โดยประการแรก องค์กรต้องมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้างแบบบูรณาการเพื่อสร้างความดึงดูดทั้งกับพนักงานปัจจุบันและผู้สมัครภายนอก ซึ่งในอดีตองค์กรจำนวนมากมักแยกการสร้างแบรนด์ภายใน (เน้นสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน) และการสร้างแบรนด์สำหรับการสรรหาคนภายนอกออกจากกัน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 75.1% ขององค์กรเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นของแนวทางแบบบูรณาการ ประการต่อมาคือองค์กรต้องมีมาตรการสร้างความผูกพันที่แท้จริงกับพนักงาน แม้หลายแห่งจะพยายามดำเนินการในจุดนี้แล้ว แต่ผลสำรวจชี้ว่า 13.6% ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลเท่านั้นที่เชื่อว่ามาตรการเหล่านั้นมีผลจริง และสุดท้ายก็คือการที่องค์กรต้องสามารถสื่อสารความน่าสนใจของตนออกสู่ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในตลาดแรงงานระดับกลางถึงสูงที่มีประสบการณ์ในการทำงานมานาน

ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า แนวคิด Employer Branding หรือการสร้างแบรนด์นายจ้างนั้น กำลังทวีความสำคัญในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่แพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกามาแล้ว การสร้างภาพลักษณ์นายจ้างคือการถ่ายทอดภาพลักษณ์องค์กรในฐานะสถานที่ทำงานที่น่าทำงานทั้งต่อบุคลากรภายในและผู้สมัครภายนอก องค์กรที่สามารถสื่อสารคุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรไปยังตลาดแรงงานได้อย่างชัดเจน จะมีศักยภาพสูงในการดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้อย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาแบรนด์นายจ้างที่ชัดเจนยังช่วยให้องค์กรสามารถกำหนด Employee Value Proposition (EVP) หรือคำสัญญาที่องค์กรมีต่อพนักงานได้อย่างตรงประเด็น ซึ่ง EVP นี้ควรถูกสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ทั้งช่องทางภายในและภายนอก

เพื่อสร้างแบรนด์นายจ้างที่แข็งแกร่ง เอบีม คอนซัลติ้ง แนะนำ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การกำหนดจุดยืนในฐานะสถานที่ทำงานที่น่าดึงดูด โดยต้องชี้ให้เห็นว่าองค์กรมีความพิเศษและมีคุณค่าอย่างไรต่อพนักงาน EVP ควรตอบคำถามหลักว่าทำไมพนักงานจึงควรทำงานที่นี่ แทนที่จะไปทำงานที่อื่น ขั้นตอนถัดมาองค์กรต้องพัฒนาโปรแกรมที่สนับสนุน EVP ที่กำหนดไว้ด้วยการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และสร้างความผูกพันที่แท้จริงกับพนักงาน และขั้นตอนสุดท้ายคือการสื่อสาร EVP ไปยังภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร โอกาสในการเติบโต พร้อมแสดงความใส่ใจและความมุ่งมั่นต่อพนักงาน องค์กรจึงสามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพจากตลาดแรงงานภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข่าวเอบีม คอนซัลติ้ง+การแข่งขันวันนี้

เอบีม คอนซัลติ้ง เผยแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ให้มีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรและภาคธุรกิจ

การใช้งาน AI ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาและเร่งการเติบโต แต่ต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ และสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน การนำ AI มาใช้ในธุรกิจจึงไม่ใช่แค่ผสานเทคโนโลยีเข้ามาใช้เท่านั้น แต่ยังเป็นการประยุกต์ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อให้ AI มีประสิทธิภาพสูงสุด องค์กรต้องใช้ AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) นำเสนอข้อมูล... เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้แนวทางปรับตัวสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า สำหรับซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น — เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์อุตสาหกรร...

จากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลย... ABeam Consulting ผนึกกำลัง SAP ติดปีกภาคธุรกิจด้วย SAP S/4HANA Cloud, public edition — จากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ทำให้ระบบ Clou...