ดร.น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ กรรมการบริหารสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ฝากเตือนโรคแอนแทรกซ์ว่า โรคแอนแทร็กซ์ (Anthax) โรคกาลี เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis มักเกิดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินหญ้าแทบทุกชนิด เช่น วัว ควาย แพะ แกะ หมู เก้ง กวาง ช้าง เป็นต้น และสามารถติดต่อไปสู่คนและสัตว์อื่นๆ ได้ เช่น สุนัข แมว เสือ หมูป่า เป็นต้น ในคนยังไม่มีหลักฐานว่าจากคนไปสู่คนได้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลานเช่น งู กิ้งก่า ปลา และนกส่วนใหญ่ไม่ติดโรคนี้ (ยกเว้นนกกระจอกเทศ ซึ่งมีรายงานว่าเคยพบโรคนี้ในแอฟริกา) นกแร้งหรืออีแร้งเป็นสัตว์ที่มีความต้านทานต่อโรคนี้โดยธรรมชาติ ซึ่งแร้งจะกินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งสัตว์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์และตายตามธรรมชาติด้วย แต่เนื่องจากในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารของแร้งมีความเป็นกรดค่อนข้างสูง ทำให้เชื้อแบคทีเรียของโรคต่างๆ ที่รุนแรงถูกทำลายจนหมด
สาเหตุโรคแอนแทรกซ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis เป็นแบคทีเรียที่ดำรงชีวิตด้วยออกซิเจน (Aerobic bacteria) และสามารถสร้างพิษ (Toxin) ได้ เมื่ออยู่ในที่แห้งหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จะสร้างเกราะ หรือ สปอร์ หุ้มเซลล์ไว้ มีความทนทานต่อความร้อนและความเย็น สามารถอยู่ในธรรมชาติได้ถึง 10-25 ปี แต่จะถูกทำลายในขบวนการเน่าภายในตัวสัตว์หลังการตาย
ระยะฟักตัว เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าร่างกาย เชื้อโรคจะใช้เวลาฟักตัว 12 ชั่วโมง ถึง 7 วัน ระยะฟักตัวในสัตว์จะเร็วกว่าในคน โดยเฉพาะรายที่รับเชื้อจากการกิน และการหายใจเอาเชื้อเข้าไป
อาการสัตว์จะแสดงอาการภายใน 3-7 วัน หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน การหายใจ เอาสปอร์เข้าสู่ร่างกาย เมื่อสัตว์แสดงอาการป่วย มักจะตายภายใน 2-3 วัน แยกเป็นอาการที่สำคัญ ดังนี้
ลักษณะเฉพาะของโรคแอนแทรกซ์หลังจากแสดงอาการและสัตว์ล้มตาย ซากสัตว์จะเน่าและท้องบวมเป่งอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำไม่แข็งตัวไหลออกมาจากปาก จมูก และก้น ขบวนการเน่าภายในร่างกายของสัตว์จะทำลายเชื้อ B. Antracis ซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียอีกตัวหนึ่ง ชื่อ Bacillus subtilis ดังนั้น ข้อควรระวังก็คือ ห้ามทำการเปิดผ่าซากสัตว์ หรือ Post Mortem ควรใช้วิธี ป้ายเลือดบน Slide และย้อมสี ตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
การป้องกัน
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) จัดประชุมสามัญประจำปี 2568 ณ อาคาร B.L.H. ชั้น 8 ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร โดยมีคุณธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ นายกสมาคมฯ เป็นประธาน มีคณะกรรมการบริหาร เช่น รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์ ศ.สพ.ญ.อัจฉริยา ไศละสูต ดร.น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ คุณสวรรค์ แสงบัลลังค์ ว่าที่ ร.ต. สุรพล ดวงแข น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน คุณเจษฎา อนุจารี น.สพ.ยันต์ สุขวงศ์ คุณอมร ชุมศรี คุณพรอัปสร นิลจินดา คุณปัทมา สารีบุตร และที่ปรึกษา เช่น ดร.รัฐกานต์ วิชัยดิษฐ ดร.สุคนธา อรุณภู่ ดร
งานวันช้างไทย 2568
—
มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย และองค์กรพันธมิตร...
31 ปีแห่งการต่อสู้เพื่อสวัสดิภาพสัตว์ 31 ปี สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA)
—
ปัจจุบันกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์ได้รับความสนใจ จากประชา...
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) รับมอบเงินบริจาคกว่า 2 แสนบาท จากกองทุนการกุศลในนามคุณพงส์ สารสิน
—
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย ...
TSPCA และองค์กรเครือข่ายระดมกำลัง ช่วยเหลือฟื้นฟูสวัสดิภาพสัตว์ประสบอุทกภัยภาคเหนือ
—
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) และ 20 องค์กรเครือข่า...
สมาชิกวุฒิสภา อังกูร ลุยแก้ปัญหาช้างป่า
—
สมาชิกวุฒิสภา นำโดยพลตำรวจตรีอังกูร คล้ายคลึง ดร.ชูชีพ เอื้อการณ์ ร่วมด้วยนายสุนทร วิลาวัลย์ นายกอง...
TSPCA ประชุมร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา เพื่อแก้ปัญหาช้างป่า
—
วันที่ 9 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา สมาชิกวุฒิสภา พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง และสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์...
9 ปี พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
—
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ประกาศลงราชกิจจ...
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย แสดงความยินดี น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ
—
ธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ (คนที่ 5 จากซ้าย) นายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไท...