"Thai Centrality" ทางรอดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในโลกที่ไม่รอใคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ลังจากกว่า 1 ทศวรรษที่ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศเงียบหายไป ในวันที่โลกกำลังหมุนเร็วยิ่งขึ้น ประเทศไทยกลับย่ำอยู่กับที่ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงจากเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย และแม้แต่ สปป. ลาว ต่างขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงอย่างเข้มข้น ประเทศไทยกำลังเผชิญจุดเปลี่ยนสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ต้องเลือกว่าจะเป็นเพียงทางผ่าน หรือจะเป็น "ศูนย์กลางที่กำหนดทิศทางของภูมิภาค" ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ "Thai Centrality" จึงไม่ใช่เพียงคำโฆษณาชวนเชื่อ หากแต่เป็นหนทางรอดที่ประเทศไทยต้องเร่งหาให้เจอ

"Thai Centrality" ทางรอดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในโลกที่ไม่รอใคร

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านความเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการ "การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาคเพื่อสร้างไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระยะที่ 2)" ซึ่งเป็นโครงการศึกษาภายใต้ความร่วมมือของร่วมมือของ บพท., สอวช., สกสว. และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการปลุกให้ไทยกลับมามีบทบาทเป็น "ศูนย์กลาง" ที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงทางผ่านของใครต่อใคร

หัวใจของ Thai Centrality: สร้างบทบาท นำการเปลี่ยนแปลง

การศึกษานี้ นำเสนอเครื่องมือใหม่และข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อประเมินศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย แบบจำลองการประเมินความเชื่อมโยง 3 ระดับ จากระดับมหภาค ระดับกลาง และระดับระดับจุลภาค ครอบคลุมการประเมินโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบและกลไกสถาบัน ดัชนีชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกการผ่านแดนและข้ามแดน (Border Performance Index: BPI) ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกการผ่านแดนและข้ามแดนของแต่ละพื้นที่ชายแดน และแบบจำลองจำลองสถานการณ์ (Simulation Model) ที่ใช้ประเมินผลกระทบเชิงพื้นที่จากนโยบาย ซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการดำเนินนโยบายและโอกาสที่ "หลุดลอย" ไปอย่างน่าเสียดายหากไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายที่วางไว้ โดยผลงานวิจัยยังสะท้อนอย่างเด่นชัดว่า แม้ไทยจะมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และการผลิตในภูมิภาค แต่สิ่งที่เรายังขาดคือ "การจัดการเชิงสถาบัน" ที่เข้มแข็งเพียงพอ จนทำให้ศักยภาพเหล่านั้นยังไม่ถูกแปลงเป็นผลงานที่จับต้องได้จริง ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ ได้เน้นย้ำว่า "เรากำลังอยู่ในภูมิภาคที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่ประเทศไทยยังไม่มีทิศทางทางการทูตและความเชื่อมโยงที่ชัดเจน Thai Centrality ไม่ใช่แค่แนวคิด — มันคือนโยบายที่ชาติจำเป็นต้องมี หากยังต้องการมีที่ยืนบนเวทีโลก"

ทำไมต้องเร่งด่วน? เพราะประเทศเพื่อนบ้านกำลังแซงหน้า

ในขณะที่เวียดนาม มาเลเซีย และแม้แต่ลาว เดินหน้าสร้างยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงอย่างจริงจัง ประเทศไทยกลับติดกับดักความล่าช้า ความไม่ชัดเจนทางนโยบาย และความล้มเหลวในการรวมศูนย์การตัดสินใจในเชิงพื้นที่ การที่ประเทศไทยไม่มีทิศทางการทูตระดับภูมิภาคที่ชัดเจนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เราเสียความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและนักลงทุนระหว่างประเทศ และอาจสูญเสียโอกาสสำคัญในยุทธศาสตร์ "China Plus One", ความร่วมมือ GMS, IMT-GT และแม้แต่การเป็นศูนย์กลาง EV ของภูมิภาค

ข้อเสนอเชิงนโยบาย: ทางออกที่ไม่ใช่แค่ฝัน

งานวิจัยฉบับนี้จึงได้เสนอ "ข้อเสนอเชิงนโยบาย" ที่ไม่ใช่เพียงความฝันลมๆ แล้งๆ แต่ก้าวขึ้นสู่ระดับที่จับต้องได้ เริ่มจากแนวคิดการออก "พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะ" เพื่อกำกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง-ตะวันตก และภาคใต้ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน บทบาทของรัฐต้องปรับตัวจากการเป็น "ผู้กำกับนโยบายอย่างเดียว" สู่การเป็น "ผู้ช่วยอำนวยการ" และ "ผู้ร่วมลงทุน" ในโครงการสำคัญ ลำดับถัดไปคือการจัดทำดัชนี "Thai Centrality Index" เพื่อวัดความก้าวหน้าของไทยใน 5 มิติสำคัญ ได้แก่

1. การเป็นผู้นำด้านการเชื่อมโยง (Connectivity Leadership)

2. เสริมสร้างพลังในการประสาน (Coordinating Power)

3. การบูรณาการเชิงเศรษฐกิจ (Economic Integration)

4. มิติด้านความมั่นคง (Security Dimension)

5. อิทธิพลทางวัฒนธรรม (Cultural Influence)

ซึ่งดัชนีนี้จะทำหน้าที่เป็นเข็มทิศให้ภาครัฐเอกชน และภาควิชาการใช้ประเมินตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ว่าเราเดินหน้าได้ตามเป้าหมายหรือไม่ หัวใจสำคัญของดัชนีนี้คือไม่ใช่ตัววัดเพื่อ "ขึ้นหิ้ง" แต่ต้องเชื่อมโยงกับการจัดสรรงบประมาณ โครงการความร่วมมือต่างประเทศ และการทบทวนนโยบายในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ "Triple Helix Model" หรือรูปแบบความร่วมมือสามภาคส่วนระหว่างรัฐ ธุรกิจ และแวดวงวิชาการ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษ การพัฒนาทุนมนุษย์และนวัตกรรมไม่สามารถยืนหยัดได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การประสานเสียงระหว่างนักวิชาการในภาคการศึกษา เอกชนที่อยู่ในสนามแข่งขันจริง และภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ต้องเดินไปด้วยกันอย่างสอดคล้องราบรื่นและเข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางของไทยให้เกิดขึ้นจริง ภาพของอนาคตที่ไทย "ขยับจากผู้ตาม ไปสู่ผู้นำ" ต้องเกิดสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนและข้อเรียกร้องนี้ไม่ใช่แค่เพียงบรรทัดข้อความบนกระดาษ แต่เป็นภารกิจที่ต้องลงมือทำทันที

"ไทยต้องเป็นคนออกแบบภูมิภาค ไม่ใช่เพียงแค่ตามการเปลี่ยนแปลงของคนอื่น"

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ กล่าวสรุปทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงหนักแน่น


ข่าวระหว่างประเทศ+การแข่งขันวันนี้

เยาวชนไทยพร้อมลุยเวทีโลก! สสวท. ส่งทีมฟิสิกส์โอลิมปิกสู่ปารีส ประชันความรู้ระดับนานาชาติ

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีส่งกำลังใจแก่คณะผู้แทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 55 (The 55th International Physics Olympiad: IPhO 2025) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 กรกฎาคม 2568 เพื่อประชันความสามารถทางฟิสิกส์กับเยาวชนจากทั่วโลก พร้อมด้วยนางสาวรัชดา ยาตรา ผู้อำนวยการฝ่ายโอลิมปิกวิชาการและอัจฉริยภาพ คณะครู ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ สสวท

เมื่อวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ... ทัพนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีพิชิต 61 รางวัลจากการแข่งขันระดับนานาชาติ THAIFEX - ANUGA ASIA 2025 — เมื่อวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการค...

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมก... บีโอไอส่งเสริม EV รักษาผู้นำฐานผลิตอาเซียน ย้ำไทยได้ประโยชน์ หนุนผู้ประกอบการเข้าสู่ Supply Chain — นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการ...

บทความโดย นายฌอน หยวน รองประธานฝ่ายธุรกิจ... เสริมศักยภาพอนาคตดิจิทัลของไทยด้วยนวัตกรรม AI และ Cloud — บทความโดย นายฌอน หยวน รองประธานฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศและผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย อินโดนีเซ...

ไต้หวันยกระดับการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านสุ... 'ไต้หวัน-ไทย' ผนึกพลังดันแคมเปญ 'Go Healthy with Taiwan 2025' ยกระดับสุขภาพแบบองค์รวมของคนไทย — ไต้หวันยกระดับการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านสุขภาพแบบองค์รวม (W...