กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการวัณโรคระดับชาติ ในวันวัณโรคสากล ปี 2568 "Join together and move forwards - Ending TB: 2025" ยกระดับความรู้ ร่วมต่อสู้วัณโรค" เปิดเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานนวัตกรรม และผลงานวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน รักษา วินิจฉัย เพิ่มความเข้มแข็งระบบดำเนินงาน ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง ร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ 90 ภายในปี 2578
วันนี้ (24 มีนาคม 2568) ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมวิชาการวัณโรคระดับชาติ ในวันวัณโรคสากลประจำปี พ.ศ. 2568 (National Tuberculosis Conference 2025) พร้อมมอบโล่รางวัลแก่โรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค (QTB) "ระดับเพชร" เพื่อเชิดชูเกียรติสถานพยาบาลที่มีผลงานดีเด่นด้านการดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ ประธานกรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ที่ปรึกษาสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค Dr. Richard Brown ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 500 คน
นพ.โอภาส กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก และองค์กรเครือข่ายหยุดยั้งวัณโรคระดับนานาชาติ (Stop TB Partnership) ได้มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันวัณโรคสากล (World TB Day) เพื่อให้เกิดการรณรงค์ร่วมกันในการต่อต้านวัณโรคและย้ำเตือนให้ประชากรทั่วโลกตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาดและยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 พบว่าวัณโรคยังคงเป็นโรคติดเชื้อที่อันตราย มีผู้ป่วยกว่า 10.8 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคประมาณ 1.3 ล้านราย ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ 113,000 ราย และเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 13,000 ราย ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ขององค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก โดยขับเคลื่อนนโยบายผ่านแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านวัณโรค (Service Plan) ด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงสูง การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการเกิดวัณโรคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้าน ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง ร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ 90 ภายในปี 2578
"ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินงานด้านวัณโรค โดยเฉพาะการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการดูแลรักษาวัณโรคได้ดีขึ้น การปรับสูตรยารักษาและป้องกันวัณโรคให้สั้นลงตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก การนำเทคโนโลยีการวินิจฉัยที่ทันสมัยมาใช้ในการคัดกรอง วินิจฉัย การป้องกัน และการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ" นพ.โอภาสกล่าว
ด้าน นพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ในปี 2578 โดยเน้นและให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ คือ 1) การเร่งรัด การค้นหา และตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในทุกกลุ่มเสี่ยง 2) ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา 3) เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการวินิจฉัย การรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และ 4)เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสนับสนุนการดำเนินงานวัณโรค การจัดการประชุมวิชาการวัณโรคระดับชาติจึงเวทีสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้ที่มีความสนใจได้เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานนวัตกรรม และผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค โดยในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Join together and move forwards - Ending TB: 2025"
"ยกระดับความรู้ ร่วมต่อสู้วัณโรค" และมีหัวข้อรณรงค์คือ Yes! We Can End TB "ยุติวัณโรค เราทำได้" เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงวัณโรค ตรวจหาวัณโรคทันทีเมื่อรู้ว่าเป็นผู้สัมผัส กลุ่มเสี่ยง หรือเมื่อมีอาการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็ว ดูแลกินยารักษาตนเอง ลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น มีทัศนคติที่ดี ไม่แบ่งแยก ไม่ลดคุณค่า ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยวัณโรค หรือ "รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย ไม่ตีตรา" นพ.ภาณุมาศ กล่าว
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย ร่วมกับ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดประชุมสุขภาพช่องปากโลก วันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า
'สธ.-มข.-สครท.-ชสท.' เร่งพัฒนา "ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอระดับสูง รุ่นที่ 3" บูรณาการพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพประชาชน รอบรู้ ห่างไกล NCDs
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธ...
SEhRT กรมอนามัย สร้างความยั่งยืนด้านการจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศเมียนมา ส่งทีมผลัด 4 ร่วมกับ EMT Thailand
—
อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายผู้...
"วัย 3 ขวบปีแรกสำคัญ" กรมอนามัย-มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ-สสส. จับมือยกระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สร้างเด็กไทยคุณภาพ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มูลนิธิศู...
ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข
—
สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...
พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่
—
พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...