สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ตอกย้ำบทบาทหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ยกระดับงานคราฟต์ผ่านเครือข่ายพันธมิตร พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านซอฟต์พาวเวอร์ เชื่อมโยงงานหัตถศิลป์ไทยสู่สากลผ่าน โครงการสำคัญในปี 2568 มุ่งเป้าสำรวจตลาดใหม่ หวังกระตุ้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในโซนตะวันออกกลาง พร้อมต่อยอดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างความเข้มแข็งให้ได้แก่ผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมไทยร่วมกับประเทศญี่ปุ่น เผย ยกระดับงานคราฟต์ไทยสร้างการยอมรับในเวทีนานาชาติ
ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT) เปิดเผยว่า SACIT ให้ความสำคัญกับการยกระดับงานคราฟต์ผ่านการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อบูรณาการสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถกลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของ SACIT ที่สอดรับกับพันธกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้ โดย SACIT ไม่เพียงมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ในคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมไทยที่สะท้อนผ่านมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาติ แต่ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมไทยได้มีโอกาสเติบโตในเวทีนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการส่งต่อ เชื่อมโยงองค์ความรู้ และความงดงามของงานหัตถศิลป์ไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล
"เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมของ SACIT ไม่ว่าจะเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม และ สมาชิกSACIT รวมถึงการสร้างการยอมรับให้งานศิลปหัตถกรรมไทยสามารถเข้าสู่เวทีการแข่งขันในระดับนานาชาติ SACIT จึงได้ประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศศักยภาพ ทั้งในด้านการเปิดโอกาสทางการตลาด และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ทักษะเชิงช่าง อาทิ กลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศอาเซียนพลัส และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง โดยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หารือแนวทางการขยายช่องทางตลาดที่จะสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์งานศิลปหัตถกรรมไทยเข้าไปต่อยอด จัดจำหน่าย หรือเชื่อมโยงในลักษณะเชื่อมโยงองค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศจากการจำหน่ายงานศิลปหัตถกรรม"
ผศ.ดร.อนุชา กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนงานคราฟต์ผ่านเครือข่ายพันธมิตรระหว่างประเทศ ปี 2568 นี้ มีโครงการสำคัญ อาทิ
นอกจากนี้ การต่อยอดความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น SACIT ก็ยังมีการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันในการส่งช่างฝีมือคนรุ่นใหม่ ไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานช่างรัก ณ ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบ Cross Cultural Craft จำนวน 2 คน โดย สศท. จะคัดเลือกกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุไม่เกิน 45 ปี ที่มีมุมมองใหม่ พร้อมเปิดรับการเรียนรู้องค์ความรู้เทคนิคช่างรัก ลงรักปิดทอง เครื่องเขิน (ขูดลาย) ไปร่วมปฏิบัติทักษะเชิงช่าง ณ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นการเชื่อมโยงด้านองค์ความรู้ร่วมกัน
"ปี 2568 นี้ SACIT ยังได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับยูเนสโก ในมิติการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานศิลปหัตถกรรม ควบคู่กับความยั่งยืน (Sustainability) ที่จะสามารถยกระดับมาตรฐานงานคราฟต์ พร้อมการส่งเสริมโอกาสการทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรต่างประเทศ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตไทย ณ ลอนดอน ในการเข้าร่วม London Craft Week ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของ SACIT ที่ได้รับโอกาสสำคัญในการผลักดันงานคราฟต์ไทยไปจัดแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีกำหนดการจัดแสดงระหว่างวันที่ 12 -18 พฤษภาคม 2568 นอกจากนี้ SACIT ยังมุ่งส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดงานศิลปหัตถกรรมไทยไปสู่ตลาดสากล เช่น ประเทศอิตาลี -The MIDA International Crafts Fair สหรัฐอเมริกา- Santa Fe International Folk Art Market ประเทศฝรั่งเศส - Revelations-International Fine Craft and Creation, Paris และ ประเทศญี่ปุ่น กับงาน Tokyo International Art Fair, Japan" ผศ.ดร.อนุชา กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ได้ที่เว็บไซต์ https://sacit.or.th/th เฟซบุ๊ก ออฟฟิเชียล SACIT https://www.facebook.com/sacitofficial หรืออัปเดตกิจกรรมงานคราฟต์ต่าง ๆ ได้ทาง TikTok SACIT Official https://www.tiktok.com/@sacit_official
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้าตอกย้ำคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย ชูงาน "เครื่องรัก-เครื่องมุก" ผ่านนโยบาย "หัตถศิลป์ที่คิดถึง" ขับเคลื่อนนโยบายการอนุรักษ์งานฝีมือทรงคุณค่า และสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าให้อยู่คู่สังคมไทย มุ่งสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนทักษะเชิงช่าง และเชิดชูผู้สร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรม ควบคู่ผลักดันการถ่ายทอดองค์ความรู้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า เพื่อตอกย้ำการดำเนินงานของ SACIT
สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรม...
สศท.ชวนสัมผัส "หัตถศิลป์ที่คิดถึง" สืบสานคุณค่างานหัตถกรรมใกล้สูญหาย ในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรื...
"หุ่นกระติบ" งานหัตถกรรมถิ่นอีสาน จากภูมิปัญญาครูหมอลำหุ่นกระบอก
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกร...
สศท. สืบสาน รักษาภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทย เชิดชูช่างฝีมือผู้สร้างสรรค์งานเรือฉลอมจิ๋ว เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน...
"ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว" มุมมองใหม่แห่งความร่วมสมัย ที่คงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ชื่นชมผลงาน...
ครูผู้สร้างสรรค์และส่งต่อคุณค่างานหัตถศิลป์ไทยผ่านเครื่องดนตรีไทย
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดความงดงามของงานศิลปหัตถกรรมไ...
ครูช่างศิลปหัตถกรรม ผู้สร้างสรรค์ผลงานจักสาน "เรือสุพรรณหงส์จำลอง" สะท้อนองค์ความรู้และทักษะเชิงช่างอันทรงคุณค่า
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การม...
พงศธร เจียรศิริ ผู้สืบทอดภูมิปัญญางานคร่ำ งานถมรักษาต่อยอดงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่าสู่ความร่วมสมัย
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ยก...