นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. มีแผนยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม (Group - Wide Supervision) ตามหลักการประกันภัย (Insurance Core Principles : ICPs) ข้อ 23 เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันที่บริษัทประกันภัย มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มธุรกิจและขยายการลงทุนไปในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น ตลอดจนเป็นประโยชน์ ต่อธุรกิจประกันภัยมากขึ้น โดยได้มอบหมายให้สายกำกับธุรกิจและการลงทุน เดินหน้าศึกษาหลักเกณฑ์การกำกับดูแลจากหน่วยงาน กำกับดูแลภาคการเงินและการประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยแบบรวมกลุ่ม
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม ในระยะเริ่มแรกได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับแรก Solo Consolidation จะประกอบด้วย บริษัทประกันภัยและบริษัทลูกที่บริษัทมีการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยจะมีการกำกับดูแลในหลักการเดียวกับบริษัทประกันภัย ซึ่งช่วยให้สามารถติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างใกล้ชิด และระดับที่สอง Full Consolidation ประกอบด้วย บริษัทแม่สูงสุดและนิติบุคคลที่บริษัทมีอำนาจควบคุมหรือถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป รวมถึงบริษัทร่วมและบริษัทลูกทั้งหมด หากบริษัทแม่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงาน คปภ. อาจจะพิจารณาใช้ Supervisory College หรือความร่วมมืออื่นที่เหมาะสมในการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนในการกำกับดูแล
การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่ม ไม่เพียงแต่จะช่วยให้การบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีธรรมาภิบาล ที่ดีและการควบคุมภายในที่มีความเข้มแข็งสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งกลุ่มธุรกิจประกันภัย ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินธุรกิจของทั้งกลุ่ม ที่มีเสถียรภาพทางการเงินดีขึ้น และส่งผลดีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงที่มีคุณภาพจะช่วยคุ้มครองผู้เอาประกันภัยจากความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยหลักการกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม ในระดับ Solo Consolidation ประกอบด้วยการกำหนดนิยามและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทประกันภัย บริษัทลูก รวมถึงกำหนดให้บริษัทประกันภัยรายงานธุรกรรมการลงทุนระหว่างบริษัทประกันภัยและบริษัทลูกภายใน 72 ชั่วโมง หรือเมื่อเกิดธุรกรรมโดยเร็ว (Use and File) ซึ่งหลักการดังกล่าวได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจประกันภัยมาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีความเห็นโต้แย้งต่อภาพรวมของหลักการ
"สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่มในระดับ Solo Consolidation ให้มีผลบังคับใช้ โดยอยู่ระหว่างรวบรวมรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมและการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงการควบคุมภายในสำหรับกลุ่มธุรกิจ และแบบรายงาน เพื่อบังคับใช้ประกาศ และในระยะต่อไปจะมีการหารือกับหน่วยงานการกำกับดูแลภาคการเงินและภาคการประกันภัยทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อกำหนดหลักการกำกับดูแลในระดับ Full Consolidation ให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เอาประกันภัย นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน" เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้
คปภ. เปิดตัวระบบ Open Insurance ปลดล็อกอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ยุคดิจิทัล สร้างระบบนิเวศในการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และปลอดภัย
—
นายชูฉัตร ป...
คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่ ! คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการสร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย
—
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการ...
คปภ. เปิดตัวระบบ Open Insurance ปลดล็อกอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ยุคดิจิทัล สร้างระบบนิเวศในการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และปลอดภัย
—
เมื่อวันที่...
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
—
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการ...
คปภ. แถลงข่าวร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย กำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
—
นายชูฉัตร ประมูลผ...