แผ่นดินไหว! กรมอนามัย เปิดพื้นที่ฉุกเฉิน รองรับทีมแพทย์-พยาบาลปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน พร้อม 7 ข้อแนะนำในระยะเฝ้าระวังสถานการณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่แรงสั่นสะเทือนถึงประเทศไทย รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ส่งผลให้ประชาชนอยู่ในอาคาร และตึกสูง พากันอพยพหนีออกมานอกตึก เพื่อความปลอดภัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีแผ่นดินไหว เตรียมพื้นที่รองรับเพื่อเชื่อมการดำเนินงานของศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ช่วยเอื้อทีมแพทย์และพยาบาลในการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง หากต้องการใช้ปฏิบัติการบนพื้นราบทดแทนพื้นที่บนอาคารสูง ณ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งนี้ นับเป็นความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก กรมอนามัย ขอแสดงความห่วงใย และแสดงความเสียใจจากทุกการสูญเสีย และขอให้กำลังใจให้ก้าวข้ามอีกวิกฤตหนึ่งไปด้วยกัน

แผ่นดินไหว! กรมอนามัย เปิดพื้นที่ฉุกเฉิน รองรับทีมแพทย์-พยาบาลปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน พร้อม 7 ข้อแนะนำในระยะเฝ้าระวังสถานการณ์

นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับระยะเฝ้าระวังสถานการณ์กรมอนามัย ขอให้ประชาชนยังคงเตรียมพร้อมรับมือเพื่อเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหว 1) ติดตาม รับฟังข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมอพยพไปยังจุดที่ปลอดภัย 2) หมอบลงที่พื้นใต้โครงสร้างอาคารที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของจากเพดาน หรือ จากที่สูงหล่นใส่ กรณีอาศัยอยู่ภายในบ้าน 3) รีบปิดแก๊สทันที หากเปิดแก๊สปรุงประกอบอาหาร 4) ห้ามใช้ลิฟต์ ให้ใช้บันไดหนีไฟ เพื่ออพยพออกจากพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยง ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน 5) ออกห่างจากหน้าต่าง และประตูที่เป็นกระจก เพื่อป้องกันอันตราย 6) อยู่ในพื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าโดยรอบ กรณีอยู่นอกอาคาร และ 7) เตรียมสิ่งของจำเป็น เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ยารักษาอาการประจำตัว ไฟฉาย โทรศัพท์มือถือที่ชาร์ตแบตเตอรี่เต็ม น้ำดื่ม เป็นต้น เมื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวสิ้นสุดลง ขอให้ประชาชนตรวจสอบรอยร้าวอาคาร บ้านเรือน ผนัง กระจก ตรวจสอบลิฟต์ ให้ลิฟต์วิ่งขึ้นลงจากล่างสุดถึงบนสุด เพื่อตรวจว่ามีการติดขัดหรือมีความสั่นสะเทือนผิดปกติ ตรวจสอบท่อน้ำประปา ถังแก๊ส ว่ามีการรั่วซึมหรือ มีกลิ่นแก๊สรั่ว รวมทั้ง ติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และหากได้รับความเดือดร้อนจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ แผ่นดินไหว! กรมอนามัย เปิดพื้นที่ฉุกเฉิน รองรับทีมแพทย์-พยาบาลปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน พร้อม 7 ข้อแนะนำในระยะเฝ้าระวังสถานการณ์


ข่าวสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน+อัมพร เบญจพลพิทักษ์วันนี้

บางจากฯ ร่วมยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ปรับปรุงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ส่งเสริมปฏิบัติการด้านความปลอดภัย

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นาวาเอก (พิเศษ) นพ.พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมพิธีเปิดการซ้อมแผนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุก

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ ... BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2567 จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ — บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประเภทส...

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 กาญจนา เรืองสิริวิ... การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับนานาชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 — วันที่ 18 ธันวาคม 2566 กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเซ็นทรา บาย เ...

ศูนย์กิจกรรมพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์... SPU พัฒนาศักยภาพคณาจารย์และนักศึกษา เรียนรู้ CPR ด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ AED มุ่งช่วยเหลือสังคม — ศูนย์กิจกรรมพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ ร่วมมือกับ ศูน...