เนื่องในวันโรคอ้วนโลกปี 2568 โนโว นอร์ดิสค์ ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน "Chula Obesity Day" ในช่วงเสวนาหัวข้อ "บทบาทเมืองและการร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อต่อสู้กับโรคอ้วน" โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมเสวนาทั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาเร่งด่วนของโรคอ้วนในประเทศไทย และแนวทางที่เมืองสามารถช่วยลดโรคอ้วนผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันประชากรไทยมากกว่าร้อยละ 40 ถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน[1] ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม ตัวแทนจากภาครัฐไทยได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการทั้งในระดับประเทศและระดับเมือง เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอ้วน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "เมืองมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาวะของประชาชน ทั้งในด้านการวางผังเมืองและการเข้าถึงบริการสุขภาพ กรุงเทพมหานครเชื่อว่า การทำงานร่วมกับองค์กรด้านสุขภาพและภาคธุรกิจ จะสามารถสร้างเมืองที่ช่วยส่งเสริมวิถีชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีได้"
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โนโว นอร์ดิสค์ ได้ดำเนินโครงการ "Cities for Better Health" ร่วมกับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการรับมือกับโรคอ้วนและโรคเรื้อรังร้ายแรงต่าง ๆ โดยโครงการนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสุขภาพในเขตเมือง การขยายมาตรการป้องกันโรค และการแก้ไขอุปสรรคด้านสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบาง และเด็ก ๆ
นายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความหวังที่กรุงเทพมหานครจะเข้าร่วมโครงการระดับโลกนี้ โดยกล่าวว่า "โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ท้าทายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และมีความซับซ้อนเกินกว่าที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะแก้ไขได้เพียงลำพัง ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น โครงการ Cities for Better Health เป็นแนวทางที่เราต้องดำเนินการเพื่อสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน"
โนโว นอร์ดิสค์ กำลังหารือกับ กรุงเทพมหานคร และสถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย เพื่อสำรวจแนวทางนำโครงการ Cities for Better Health มาดำเนินการในกรุงเทพฯ โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการจัดการปัญหาโรคอ้วนอย่างยั่งยืน
[1] วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พศ 2562-2563. 2021.
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ องค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เปิดหลักสูตร "NEXUS AI" พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยี
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...
ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE
—
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...