กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตรียม ผลักดันมาตรการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน กรณีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลจากสถานประกอบกิจการผลิตน้ำแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หวั่นเกิดเหตุช่วงอากาศร้อน เพื่อดูแลและป้องกันสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน และประชาชนบริเวณโดนรอบ
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลกรมอุตินิยมวิทยาแจ้งประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ โดยอุณหภูมิสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส ซึ่งปกติช่วงหน้าร้อนร้านค้าและประชาชนจะมีความต้องการบริโภคน้ำแข็งมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตน้ำแข็งให้ทันต่อความต้องการ และมักเกิดเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล จากสถานประกอบกิจการประเภทการผลิตน้ำแข็ง และส่งผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยโดยรอบ กรมอนามัย จึงเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมอบหมายให้ทีมปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือทีม SEhRT ของศูนย์อนามัยประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ ควบคุม กำกับ และบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ดำเนินการตามมาตรการควบคุม ป้องกันภาวะฉุกเฉินจากก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลจากสถานประกอบกิจการประเภทผลิตน้ำแข็ง ลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน
ด้าน นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มาตรการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน กรณีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลจากสถานประกอบกิจการผลิตน้ำแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้อนุญาตการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทการผลิตน้ำแข็ง มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการทุกแห่ง เพื่อปฏิบัติตามมาตรการ 1) ตรวจตรา ควบคุม กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนเป็นประจำทุกวัน โดยให้เฝ้าระวังเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งให้อยู่ในสภาพดี ไม่มีชำรุด เสียหาย หากพบความผิดปกติต้องเร่งให้มีการดูแล ซ่อมแซม ปรับปรุง สภาพให้ใช้งานได้ปกติ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการรายงานผลการตรวจตราระบบไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบอย่างต่อเนื่อง 2) ตรวจสอบระบบเส้นท่อส่งก๊าซแอมโมเนีย ถังบรรจุก๊าซ ตลอดจนอุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า ระบบตรวจวัดแรงดันที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ โดยต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีการชำรุด แตกร้าว หรือมีความผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนีย 3) ประเมินความเสี่ยง ตรวจสอบระบบความปลอดภัย ของสถานประกอบกิจการ ให้มีประสิทธิภาพ เช่น ประสิทธิภาพของระบบดับเพลิง วันหมดอายุถังดับเพลิง และระบบเตือนภัยสำหรับพนักงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น 4) ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบกิจการผลิตน้ำแข็งให้มีการดำเนินการได้ตามปกติ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย และมีคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน รองรับการเกิดภาวะฉุกเฉินจากเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล จัดทำแผนและทำการซ้อมแผนสำหรับพนักงานของสถานประกอบกิจการผลิตน้ำแข็ง รองรับกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินจากก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล โดยให้ส่งแผนรับมือภาวะฉุกเฉินอาจเพิ่มความถี่ในการซ้อมแผน โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนและมีการเร่งผลิตน้ำแข็งที่มากขึ้นกว่าปกติ โดยมีการซ้อมการอพยพ แจ้งเตือนภัยภายในสถานประกอบกิจการและเตือนภัยประชาชนโดยรอบ
"สำหรับ ทีม SEhRT ของศูนย์อนามัยที่ 1 - 12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง เตรียมความพร้อมของทีมปฏิบัติการ โดยให้นำแนวทางการปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณีภาวะฉุกเฉินจากการรั่วไหล ระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ของสารเคมี ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ และจัดเตรียมเครื่องมือตรวจวัด วัสดุ อุปกรณ์ ชุดทดสอบภาคสนามสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในกรณีเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลจากสถานประกอบกิจการผลิตน้ำแข็ง ดังรายละเอียดเอกสารแนบ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ" รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
จากกรณีลำน้ำกกมีสีขุ่น และได้เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจากลำน้ำกก ส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการโดยสำนักงานควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่ 1 เชียงใหม่ พบผลการตรวจน้ำผิวดินในลำน้ำกกปนเปื้อนสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน นั้น แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ได้มอบหมายให้ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ ตรวจคุณน้ำประปาหมู่บ้าน โดยประสานความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่อาย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เก็บตัวอย่างน้ำประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง พื้นที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ
เปิดอบรมฟรี!! DCCE ผสาน TEI ส่งเสริมการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ
—
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) ผสานกำลั...
7 ห้องอาหารของรอยัล คลิฟพัทยา รับประกาศนียบัตร SAN Plus การันตีความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
—
7 ห้องอาหารของรอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ได้รับประกาศนียบ...
กปภ. จับมือ สถ. ยกระดับบริการน้ำประปาทั่วประเทศ
—
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ร่...
อพท. เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากท้องถิ่นสู่สากล
—
อพท. เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากท้องถิ่นสู่สากล จัดกิจกรรมมอบประกาศนียบั...
กรมอนามัย ชี้แจงเจตนารมณ์ และหลักการการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ของพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
—
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบ...
อบจ.ภูเก็ต ยกระดับด้านการสาธารณสุขมูลฐานและบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โชว์ความสำเร็จ พร้อมเป็นต้นแบบ รพ.สต. ให้กับจังหวัดอื่น
—
การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่ง...
กรมอนามัย-กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น-WHO ผนึกกำลังขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี มอบรางวัลเชิดชูเกียรติท้องถิ่น 274 แห่ง ทั่วประเทศ
—
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธ...
กรมอนามัย เตรียมขยาย Thailand Street Food Good Health from Local to Global ทั่วประเทศ
—
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประ...