ม.วลัยลักษณ์พัฒนาธุรกิจการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เทศบาลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช ช่วยลดปริมาณขยะจาก 18 ตัน/วัน เหลือเพียง 1.8 ตัน/วัน ลดภาระค่าใช้จ่ายของเทศบาล เพิ่มมูลค่าขยะมูลฝอย มุ่งสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมมือกับเทศบาลเมืองปากพูนในการสำรวจ เก็บรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการขยะของเทศบาลเมืองปากพูน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจสีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 12-16 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันจัดแสดงนิทรรศการ "นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจสีเขียวของเทศบาลเมืองปากพูน"นำเสนอแนวทางและเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณลานกิจกรรม หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลนครศรีธรรมราช โดยได้รับเกียรติจากนายชวกิจจ์ สุวรรณคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิด รศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี รองอธิการบดีและคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวรายงาน รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี หัวหน้าโครงการการพัฒนาธุรกิจการจัดการขยะเศรษฐกิจสีเขียวของเทศบาลเมืองปากพูนและพื้นที่กลุ่มเศรษฐกิจโดยรอบฯ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งต้องเผชิญกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบว่า เทศบาลเมืองปากพูนมีปริมาณขยะมากถึง 18 ตันต่อวัน หรือ 6,570 ตันต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ 12 หมู่บ้าน ที่มีประชากรกว่า 16,000 ครัวเรือน ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดมลภาวะทางกลิ่น ควันจากการเผาขยะ และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค นอกจากนี้ การกำจัดขยะยังเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 2.7 ล้านบาท/ปี
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เทศบาลเมืองปากพูนได้ดำเนินนโยบาย "ส่งเสริมการคัดแยกขยะภายในชุมชน" โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทาง ส่งผลให้ปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลดลงเหลือเพียง 1.8 ตันต่อวัน หรือ 657 ตันต่อปี ลดลง 10 เท่า นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะลงเหลือเพียง 361,350 บาทต่อปี ทำให้เทศบาลสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 2.3 ล้านบาทต่อปี
ความสำเร็จของโครงการนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงช่วยลดภาระด้านค่าใช้จ่ายของเทศบาล แต่ยังช่วยเพิ่มมูลค่าขยะมูลฝอย ผ่านการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การนำเศษอาหารไปใช้เลี้ยงสัตว์ การนำขยะเชื้อเพลิงไปจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงให้กับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิง การนำขยะอินทรีย์ไปผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพและก๊าซชีวภาพการนำเศษกิ่งไม้ไปทำวัสดุดินปลูก การใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นวัสดุถมที่ดิน การสกัดน้ำมันจากถุงพลาสติกเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน มาตรการเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด แต่ยังช่วยส่งเสริมแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
นอกจากนี้ คณะวิจัยได้นำผลการศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเทศบาลเมืองปากพูน มาจัดแสดงในนิทรรศการ "นวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจสีเขียวของเทศบาลเมืองปากพูน" เพื่อเผยแพร่ความรู้และแนวทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชมและเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการขยะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แถลงข่าวเตรียมจัดแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 "ตุมปังเกมส์"ระหว่างวันที่ 3-10 พฤษภาคม 2568 มีทัพนักกีฬา 63 สถาบันทั่วประเทศ กว่า 7,000 คน เข้าร่วมชิงชัย 426 เหรียญทอง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดนครศรีธรรมราชคึกคัก วันนี้ (3 เมษายน 2568) ที่ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายประสงค์ จันทร์หยู นายอำเภอ อำเภอท่าศาลาในฐานะผู้
ก้าวอีกขั้น นีโอ คอร์ปอเรท ผนึก ม.วลัยลักษณ์ ผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด ปั้นสินค้า FMCG ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย
—
บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) หรือ NEO โดย ...
ม.วลัยลักษณ์ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขัน "ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ" ครั้งที่ 22 4-8 เม.ยนี้
—
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เตรียมพร้อมจัดการแข่งขันชีวว...
เปิดไอเดีย "กระเป๋ารักษ์โลก" สานจากหางประทัดแก้บน "ไอ้ไข่" ผลผลิตจากงานวิจัยของม.วลัยลักษณ์
—
เปิดไอเดียรักษ์สิ่งแวดล้อม "หางประทัดแก้บน" จากความสำเร็จนับ...
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 ฉลองครบรอบ 33 ปี
—
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่...
มาแล้ว! รอบโควตา 14 จังหวัดภาคใต้+ประจวบคีรีขันธ์ ม.วลัยลักษณ์ รับ 2,842 ที่นั่ง
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความประสงค์จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใ...
โค้งสุดท้าย! TCAS'68 รอบ Port ม.วลัยลักษณ์ รีบสมัครก่อนหมดเขต 20 ม.ค. นี้
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำลังดำเนินการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อ...
นักวิจัยม.วลัยลักษณ์ แนะ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชหลังน้ำท่วม
—
นักวิจัยโรคพืช ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำ5วิธีฟื้นฟูต้นพืชให้แก่เกษตร...
นักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ เปิดตัวนวัตกรรมหมุดถนนเรืองแสง เพิ่มความปลอดภัยทางถนน
—
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมหมุดถนนเรื...