จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ "GSB CED 2568" หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CSII) ร่วมกับธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาท้องถิ่น "GSB Local Community Empowerment and Development Program" (GSB CED) 2568 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ณ CSII Digital Auditorium ชั้น 3 อาคารจามจุรี 10 ซึ่งเป็นโครงการเชิงนวัตกรรมที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทั่วประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้ เครื่องมือทางธุรกิจ และการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ "GSB CED 2568" หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน

งานเปิดตัวโครงการ GSB CED 2568 มี ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ และคุณศักดิ์สิทธิ์ สุนทรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Startup กล่าวเปิดโครงการ จากนั้นเป็นการนำเสนอโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการโดย ดร.รณกร ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ และการแถลงข่าวเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการ จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ "GSB CED 2568" หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน

โครงการ GSB CED 2568 ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์บ่มเพาะความรู้ เครื่องมือทางธุรกิจ และการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นให้สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้ด้วยตนเอง แนวคิดนวัตกรรมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

  1. ระดมความคิดเห็นและระบุปัญหาของชุมชน - เปิดรับสมัครทีมผู้เข้าร่วม 500 ทีมจากทั่วประเทศ เพื่อระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
  2. พัฒนาแนวคิดและโมเดลธุรกิจ - 36 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการอบรมแบบ Hybrid และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. พัฒนาและทดสอบโครงการต้นแบบ - 18 ทีมสุดท้ายจะได้รับทุนสนับสนุนและดำเนินโครงการต้นแบบ ในพื้นที่จริง
  4. 4. DEMO DAY และการขยายผล - คัดเลือก 6 ทีมที่ดีที่สุด เพื่อรับรางวัลสนับสนุนเพิ่มเติม พร้อมโอกาสในการเชื่อมโยงกับแหล่งทุน

โครงการ GSB CED 2568 คาดว่าจะช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม พร้อมต่อยอดเป็นโมเดลที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วประเทศ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและธนาคารออมสินยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของธนาคารออมสินในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนทางด้านเงินทุน องค์ความรู้ และการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ธนาคาร ออมสินยังให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการผ่าน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินพิเศษ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ธุรกิจและโครงการชุมชนสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ

โครงการ GSB CED 2568 จะเปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มีนาคม 2568 การอบรมและคัดเลือกทีมรอบแรกจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2568 ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารออมสิน และ CSII


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+สถาบันนวัตกรรมวันนี้

NER พร้อมปรับตัวกับยุค AI เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของชีวิต การปรับตัวและเตรียมพร้อมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำ AI มาใช้พัฒนาองค์กร โดยได้จัดบรรยายพิเศษเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน ในหัวข้อ "เมื่อ AI ครองโลก มนุษย์จะอยู่อย่างไร" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ราชบัณฑิต และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย AI กับการเปลี่ยนแปลง

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...