พลิกอนาคตทรัพย์สินทางปัญญา: กรมทรัพย์สินฯ - IPAT - Baker McKenzie ชวนภาคธุรกิจเปิดมุมมองพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อวางทิศทางแห่งอนาคต AI

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมทรัพย์สินทางปัญญา แห่งประเทศไทย (IPAT) และบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด จัดเสวนาครั้งสำคัญในหัวข้อ "Innovating Together: Shaping the IP Landscape in the Age of Generative AI" เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้สามารถนำศักยภาพของ AI มาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจ พร้อมส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ทันสมัยและรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พลิกอนาคตทรัพย์สินทางปัญญา: กรมทรัพย์สินฯ - IPAT - Baker McKenzie ชวนภาคธุรกิจเปิดมุมมองพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อวางทิศทางแห่งอนาคต AI

นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "ปัจจุบัน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ หรือ Generative AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของสังคมและเศรษฐกิจ ตั้งแต่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาซึ่งโอกาสมหาศาลในแง่ของนวัตกรรมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความท้าทายที่สำคัญในด้านกฎหมายและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเด็นเกี่ยวกับการนำข้อมูลไปใช้ฝึกโมเดล AI ไปจนถึงประเด็นการให้ความคุ้มครองต่อผลงานที่ Generative AI ได้สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งความท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จำเป็นต้องเตรียมพร้อมและหาแนวทางรับมือที่เหมาะสมกับความท้าทายที่เกิดขึ้นนี้อย่างเป็นระบบ" พลิกอนาคตทรัพย์สินทางปัญญา: กรมทรัพย์สินฯ - IPAT - Baker McKenzie ชวนภาคธุรกิจเปิดมุมมองพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อวางทิศทางแห่งอนาคต AI

นางสาวนุสราฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า "กรมทรัพย์สินทางปัญญาตระหนักถึงความท้าทายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดการเสวนาในครั้งนี้ขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา บริษัทเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และผู้กำหนดนโยบายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนากรอบกฎหมายและการดำเนินการที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของสิทธิและการส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัล สอดรับกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและข้อมูลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ความล้ำสมัย ดึงดูดการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่จากต่างประเทศ อีกทั้งพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้สามารถใช้ AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับการดำเนินธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน"

นางสาวนุสราฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า "การเสวนาครั้งนี้เป็นเวทีที่รวบรวมมุมมองและแนวทางจากต่างประเทศในประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญาและ Generative AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเกี่ยวกับข้อยกเว้นสำหรับกรณีการทำเหมืองข้อความและข้อมูล (Text and Data Mining) โดยศึกษาประสบการณ์จากประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เพื่อเปิดประตูสู่โอกาสที่ประเทศไทยจะพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อยกเว้นดังกล่าวในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ โดยในวันนี้ถือเป็นก้าวแรกในการร่วมกันออกแบบและกำหนดภูมิทัศน์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ Generative AI เพื่อนำไปสู่การตกผลึกแนวทางและนโยบายที่เหมาะสม อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต่อไป"


ข่าวเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่+สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาวันนี้

SCB WEALTH ดึง Baker&Mckenzie ดูแลด้านกฎหมายสินทรัพย์มรดกให้กลุ่มลูกค้าเวลล์

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ (ที่2 ซ้าย) รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมด้วยนายคมกฤช เกียรติดุริยกุล (ที่2 ขวา) กรรมการและที่ปรึกษากฎหมาย ด้านการเงินการธนาคาร การวางแผนธุรกิจครอบครัวและตลาดทุน บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ให้ความร่วมมือกับ SCB WEALTH ในการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษีอากร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินและมรดกของครอบครัว การจัดตั้ง Holding Company การจัดทำธรรมนูญครอบครัว และการจัดโครงสร้างธุรกิจครอบครัว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง ... ภาพข่าว: หลักทรัพย์บัวหลวงจัดสัมมนารู้ทันภาษีมรดก — เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) นำโดยนายพิเชษฐ สิทธิอำนวย (ซ้าย) กรรมการผู้อ...

เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ บดินทร... ภาพข่าว: ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัด CG FORUM เสริมความรู้ด้านบรรษัทภิบาลแก่กรรมการ บจ. — เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ บดินทร์ อูนากูล รองผู้จัดการ ตลาดหลัก...

สมาชิกเลือกกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนกรรมการที่ครบวาระ

การประชุมสามัญสมาชิกประจำปี 2559 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 ได้มีการเลือกตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 3 ท่าน แทนกรรมการที่จะครบวาระ โดยที่ประชุมได้มีมติเลือกตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็ค...

ผู้บริหารธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)... ภาพข่าว: ธนาคารเกียรตินาคินจัดสัมมนากฎหมายภาษีมรดก ให้กับกลุ่มลูกค้า PRIORITY — ผู้บริหารธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรต...

ธนาคารกสิกรไทย จัดงานแถลงข่าว "KFam Club...Family Business: The Next Decade Challenges"

ด้วยธนาคารกสิกรไทย จะจัดงานแถลงข่าว “KFam Club...Family Business: The Next Decade Challenges” เพื่อตอกย้ำการพัฒนาธุรกิจครอบครัวไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ณ โถงรับรอง ชั้น 10...