จุฬาฯ-กรมอนามัย ห่วงเด็กเกิดน้อย แนะบทบาทกุมารแพทย์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กไทยเกิดดี มีคุณภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมบรรยายพิเศษ การส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย พร้อมแนะนำบทบาทกุมารแพทย์ ส่งเสริมเด็กเกิดดี มีคุณภาพ ในงานวิจัย Pediatric Research Day 2025 "Investing in Tomorrow : Early intervention for Lifelong Healthy" เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 ณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาฯ-กรมอนามัย ห่วงเด็กเกิดน้อย แนะบทบาทกุมารแพทย์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กไทยเกิดดี มีคุณภาพ

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ได้มอบหมายให้ นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ ร่วมบรรยายพิเศษ ประเด็น การส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย พร้อมเปิดเผยว่าจากวิกฤตเด็กไทยที่เกิดน้อยลง รวมทั้ง การเฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพของแม่และเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยังพบภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์สูง ส่วนการเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงพบว่าส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยยังผ่านเกณฑ์ คือ มากกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับในเด็กปฐมวัย 0-5 ปี พบ ภาวะเตี้ย ผอม และเริ่มอ้วนและอ้วน เมื่อเทียบกับในภูมิภาค ASEAN ประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย Global Nutrition Target โดยเฉพาะภาวะน้ำหนักเกินและโลกอ้วนในเด็ก เป็นปัญหาสำคัญ และสูงขึ้นทั่วโลก หากไม่มีมาตรการในการจัดการ คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า จะมีเด็ก 1 ใน 5 หรือ ประมาณ ร้อยละ 20 อ้วน และในวัยผู้ใหญ่จะมีภาวะนำหนักเกิน และอ้วนถึง ร้อยละ 50 ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยเด็กอ้วน ติดอันดับ 3 ใน ASEAN รองจากประเทศมาเลเซีย และประเทศบรูไน ซึ่งเด็กอ้วนยังส่งผลให้วัยทำงานมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนแนวโน้มสูงขึ้น นำไปสู่โรค NCDs เช่น เบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง ในอนาคต จุฬาฯ-กรมอนามัย ห่วงเด็กเกิดน้อย แนะบทบาทกุมารแพทย์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กไทยเกิดดี มีคุณภาพ

"ทั้งนี้ กรมอนามัยยังคงให้ความสำคัญ และมีนโยบายในการทำให้เด็กไทยเกิดดี มีคุณภาพ สำหรับงานวิจัย Pediatric Research Day 2025 "Investing in Tomorrow : Early intervention for Lifelong Healthy" ที่จัดขึ้นโดย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมอนามัยแนะนำบทบาทของกุมารแพทย์ที่ก้าวไกลกว่าการรักษาทางคลินิก เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ดังนี้ 1) ผลักดันนโยบายโภชนาการในระดับประเทศและภูมิภาค 2) กำหนดมาตรฐานการคัดกรองและแนวทางแก้ไขภาวะขาดสารอาหารรอง 3) ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเกี่ยวกับโภชนาการทีถูกต้อง และ 4) สนับสนุนโครงการดูแลเด็กปฐมวัยที่บูรณาการโภชนาการ การศึกษาวิจัย และการดูแลสุขภาพ ซึ่งการลงทุนในสุขภาพเด็กไทยวันนี้ คือ สุขภาพที่ดีของประเทศไทยในอนาคต" ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กล่าว


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+อัมพร เบญจพลพิทักษ์วันนี้

ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial Intelligence (AI) ต่อกลยุทธ์การตลาดและการ มีส่วนร่วมของลูกค้า โดย Professor Pau Virgili ในวันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 12:00-13:00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารศศปาฐศาลา ห้อง 201 ชั้น 2 เหมาะสำหรับนักวิจัย นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจการตลาดยุคใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/xwbXJPGhbdWEdS7N8อย่าพลาดโอกาสดี ๆ ที่จะเข้าใจโลกการตลาดในยุค AI

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...