สธ. โชว์ประกาศปฏิญญาเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย มุ่งส่งเสริมสุขภาวะ ป้องกัน NCDs พร้อมดันไทย เป็น Medical and Wellness Hub

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบหมาย นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครั้งที่ 2 พ.ศ.2568 "เวชศาสตร์วิถีชีวิต: จังหวะชีวิตเพื่ออายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี" โดยเป็นพยานให้กับ 19 หน่วยงานภาคี และโครงการศูนย์จัดการความรู้และพัฒนาวิชาการเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ KALM Center ในการลงนามความร่วมมือ MOU พัฒนางานเวชศาสตร์วิถีชีวิตร่ามกัน พร้อมโชว์ประกาศปฏิญญาเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย เพื่อสุขภาวะและความยั่งยืน (Thailand Lifestyle Medicine Declaration for Health and Sustainability) จากผู้เข้าร่วมประชุม และมอบรางวัล "The Iconic of Life: ชีวิต - ตัวตน - คนต้นแบบ" เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรที่เป็นต้นแบบและร่วมขับเคลื่อนงานด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต และการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี

สธ. โชว์ประกาศปฏิญญาเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย มุ่งส่งเสริมสุขภาวะ ป้องกัน NCDs พร้อมดันไทย เป็น Medical and Wellness Hub

นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ Lifestyle Medicine ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย นอนหลับ จัดการความเครียด การเลิกเหล้าและบุหรี่ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2565 พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค และความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครั้งที่ 2 พ.ศ.2568 "เวชศาสตร์วิถีชีวิต: จังหวะชีวิตเพื่ออายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี" ครั้งนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือ MOU พัฒนางานเวชศาสตร์วิถีชีวิตร่วมกัน ของ 19 หน่วยงานภาคีระดับหน่วยบริการสุขภาพ และระดับท้องถิ่น ร่วมกันกับโครงการศูนย์จัดการความรู้และพัฒนาวิชาการเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ KALM Center พร้อมประกาศปฏิญญาเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย เพื่อสุขภาวะและความยั่งยืน (Thailand Lifestyle Medicine Declaration for Health and Sustainability) ผ่านเจตจำนงจากผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันเวชศาสตร์วิถีชีวิตให้เป็นรากฐานของระบบสุขภาพไทย ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ส่งเสริมสุขภาวะ และขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Hub) ของโลก โดยดำเนินการ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) พัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ และเป็นธรรม 2) เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ สหวิชาชีพ อสม. และประชาชน ด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต 3) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตอย่างยั่งยืน และ 4) ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนานโยบายและระบบสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน โดยคาดหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะสร้างสังคมไทยที่มีสุขภาพดี มีระบบสุขภาพที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสุขภาพที่เข้มแข็ง เพื่ออนาคตที่สดใสของประเทศไทย และประชาชนทุกคน สธ. โชว์ประกาศปฏิญญาเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย มุ่งส่งเสริมสุขภาวะ ป้องกัน NCDs พร้อมดันไทย เป็น Medical and Wellness Hub

"สำหรับ 19 หน่วยงานภาคีที่ลงนาม MOU พัฒนางานเวชศาสตร์วิถีชีวิตร่วมกันกับโครงการศูนย์จัดการความรู้และพัฒนาวิชาการเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ KALM Center ประกอบด้วย หน่วยบริการสุขภาพ จำนวน 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 2) กองเวชศาสตร์ป้องกันกรมแพทย์ทหารอากาศ 3) ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี 4) โรงพยาบาลแก่งคอย 5) โรงพยาบาลพนัสนิคม 6) ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ 7) โรงพยาบาลบางพลี 8) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 9) โรงพยาบาลอุดรธานี และ 10) โรงพยาบาลองค์รักษ์ และหน่วยงานในระดับท้องถิ่น จำนวน 9 หน่วยงาน ได้แก่ 1) เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) เทศบาลตำบลหลักเมือง จังหวัดราชบุรี 3) องค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว จังหวัดสระบุรี 4) เทศบาลตำบลกุฎโง้ง จังหวัดชลบุรี 5) องค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก จังหวัดนครสวรรค์ 6) องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ 7) เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 8) เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะกระบือ จังหวัดนครนายก" ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

ทางด้าน แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2568 จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย มูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์สมบูรณ์ วัชโรทัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ส่งเสริมการนำหลักการเวชศาสตร์วิถีชีวิตไปประยุกต์ใช้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาระบบเวชศาสตร์วิถีชีวิตในประเทศไทย ก่อเกิดเป็นสังคมสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศกว่า 700 คน

"สำหรับกิจกรรมภายในงานนอกจากประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ Workshop การนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการแล้ว ยังได้มีพิธีมอบรางวัล "The Iconic of Life: ชีวิต - ตัวตน - คนต้นแบบ" เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรที่เป็นต้นแบบและร่วมขับเคลื่อนงานด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต และการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม ประกอบด้วย 8 รางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 1) รางวัลพี่เลี้ยงยอดเยี่ยมด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต (LM Mentor Excellence Award) 2) รางวัลนวัตกรรมการบริการเวชศาสตร์วิถีชีวิตดีเด่น (Innovative LM Service Award) 3) รางวัลชุมชนสุขภาพต้นแบบด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Wellness Community Transformation Award) 4) รางวัลผู้นำเชิงนโยบายด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต (LM Policy Leadership Award) 5) รางวัลต้นแบบการเปลี่ยนแปลงสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Inspiring Lifestyle Change Award) 6) รางวัลคนต้นแบบด้านสุขภาพจิตด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต (LM Mental Health Award) 7) รางวัลคนต้นแบบด้านสุขภาพการนอนหลับด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต (LM Sleep Health Award) และ 8) รางวัลต้นแบบศูนย์เรียนรู้คลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว


ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+งานประชุมวิชาการวันนี้

งานประชุมวิชาการและพิธีลงนาม MOU ขับเคลื่อนนโยบาย "โรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทุมธานี เพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน"

กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง จัด งานประชุมวิชาการนำเสนอผลการดำเนินงาน และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้ "โครงการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทุมธานี เพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน" เพื่อยกระดับการบริการด้านสาธารณสุข ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการรักษา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จุดเด่นของงานและความสำคัญของโครงการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จัดตั้ง โครงการขับเคลื่อนน

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ ... BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2567 จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ — บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประเภทส...

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก...

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จ... ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข — สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...

พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavil... พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ — พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...