เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 - 16.30 น. ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) หรือ SHECU ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดประชุมประชาพิจารณ์ต่อ (ร่าง-2) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี หรือ มอก. 2677 เล่ม 1 และ 2 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำ (ร่าง-2) มอก. 2677 เล่ม 1 ข้อกำหนด และ เล่ม 2 ข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับหลักการ ระบบ และเทคนิคในทางปฏิบัติ ทั้งนี้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ตรวจประเมิน ผู้แทนห้องปฏิบัติการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมประชุมให้ความคิดเห็น ณ ห้องประชุมซัฟฟลาย 2-3 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี และห้องประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom รวมกันกว่า 150 ท่าน
การประชุมประชาพิจารณ์ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงาน "โครงการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558)" ซึ่ง วช. ได้ให้การสนับสนุนและมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศปอส. ดำเนินการศึกษาทบทวนข้อกำหนดของมาตรฐาน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อปรับปรุงมอก. 2677 - 2558 ที่ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี ให้มีความสมบูรณ์ ชัดเจน เหมาะสม ทันสมัย สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและสภาพแวดล้อมการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบัน
(ร่าง-2) มอก. 2677-2558 เล่ม 1 และเล่ม 2 ฉบับประชาพิจารณ์นี้ ได้รับการปรับปรุงจากการศึกษาทบทวนข้อกำหนด และการรวบรวมความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม การรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ตรวจประเมิน ผู้แทนห้องปฏิบัติการที่เคยขอหรือได้รับการรับรองมาตรฐาน ผู้แทนเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัย และผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 และการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 จนได้ (ร่าง-2) มอก. 2677-2558 เล่ม 1 และเล่ม 2 สำหรับใช้ในการประชาพิจารณ์ในครั้งนี้
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial Intelligence (AI) ต่อกลยุทธ์การตลาดและการ มีส่วนร่วมของลูกค้า โดย Professor Pau Virgili ในวันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 12:00-13:00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารศศปาฐศาลา ห้อง 201 ชั้น 2 เหมาะสำหรับนักวิจัย นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจการตลาดยุคใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/xwbXJPGhbdWEdS7N8อย่าพลาดโอกาสดี ๆ ที่จะเข้าใจโลกการตลาดในยุค AI
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...
Chulalongkorn Business School คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลัง ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ ประกาศความสำเร็จ HIT PROGRAM ปี 2
—
Chulalongko...
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"
—
แพลตฟอร์ม O...
"MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
—
แพลตฟอร์ม Onlin...
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุน iCreator Camp Gen 2 Presented by Sony
—
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสต...