นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคลิชมาเนียว่า สนอ. ได้ประสานความร่วมมือสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเพื่อติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของศูนย์บริการสาธารณสุข โดยมีมาตรการเชิงรุกในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค และมาตรการควบคุมการระบาดของลิชมาเนีย ซึ่งจะตรวจสอบประวัติผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยรายอื่น ๆ และอาจเจาะเลือดค้นหาผู้ไม่ปรากฏอาการ พร้อมให้การรักษาจนหายขาด ค้นหาสัตว์รังโรคและกำจัดสัตว์ที่มีเชื้อลิชมาเนียทุกตัว รวมทั้งควรป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้ถูกแมลงริ้นฝอยทรายกัด หากมีพาหะในบริเวณดังกล่าวให้พ่นเคมีกำจัดทั้งในบ้าน นอกบ้าน และคอกสัตว์
รวมทั้งดำเนินการ Big cleaning day ในชุมชน ส่วนมาตรการป้องกันโรคต้องดำเนินการควบคุม กำจัดพาหะนำโรค ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้านให้สะอาดและเป็นระเบียบ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงริ้นฝอยทราย กำจัดสัตว์รังโรค โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมควรอยู่ห่างจากตัวบ้านอย่างน้อย 10 เมตร สัตว์ที่มีเชื้อลิชมาเนียต้องกำจัดโดยปรึกษาสัตวแพทย์ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานปศุสัตว์ และประชาชนควรระมัดระวังและป้องกันตนเองไม่ให้แมลงริ้นฝอยทรายกัด เช่น ทายากันยุง สวมเสื้อผ้าปกปิดทั่วร่างกาย
สำหรับอาการของโรคดังกล่าว มักพบตุ่มนูนพองใสและแดง แผล ซึ่งอาจเป็นแผลเปียก หรือแผลแห้ง แผลมักมีขอบ อาจแผลเดียว หรือหลายแผล แผลลุกลามรวมกันเป็นแผลใหญ่ได้ หรืออาจเป็นตุ่มกระจายทั่วตัว หรือแผลที่เยื่อบุบริเวณปาก จมูก หากมีอาการรุนแรงจะมีไข้เรื้อรังมากกว่า 10 วัน ผอม ซีด ตับม้ามโต ซึ่งการแพร่ของโรคจะนำโดยแมลงชื่อริ้นฝอยทราย (sandfly) และริ้นปีกลายที่อยู่ตามบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง คอกสัตว์ มูลสัตว์ กองดิน หรือกองขยะ
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง (MPOX) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้ติดตามเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เฝ้าระวังคนไข้ทั้งห้องฉุกเฉิน (ER) และผู้ป่วยนอก (OPD) รวมถึงโรงพยาบาลที่มีคลินิกเฉพาะทาง เช่น คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกรักษาผู้ติดเชื้อ HIV หากพบผู้ป่วยให้ส่งยืนยันการติดเชื้อ ผ่านสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
กทม.เตรียมพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงในกรุงเทพฯ เปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอุบัติใหม่ รพ.สิรินธร
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่...
กทม.แนะนำมาตรการป้องกันควบคุมโรคลีเจียนแนร์ ลดความเสี่ยงต่อการก่อเชื้อโรค
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามกรณีพบน...
GPSC ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบชุดตรวจ Covid-19 โครงการลมหายใจเดียวกัน
—
นายณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณ...
บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย (Chubb) ร่วมกับ รายการบุรินทร์เจอนี่ ภายใต้โครงการ "เจอนี่แคร์"
—
มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ให้กับ นายแพทย์วิชาญ ปาวัน...
เจอนี่แคร์ ร่วมกับ ชับบ์สามัคคีประกันภัย และบุรินทร์เจอนี่ ห่วง Super Rider มอบกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เสริมสร้างกำลังใจจิตอาสา
—
นายแอนดรูว์ นิส...
ตลาดยิ่งเจริญเลื่อนการเปิดให้บริการ จากวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เป็น "วันที่ 27 พฤษภาคม 2564"
—
ประกาศจากตลาดยิ่งเจริญตามที่ตลาดยิ่งเจริญ ได้ดำเนินการตามมา...