ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว
เมื่อไม่นานมานี้ มะพร้าวสดน้ำหนัก 200 กิโลกรัมล็อตแรกที่จีนนำเข้าจากอินโดนีเซียเดินทางถึงสนามบินฝูโจว และถูกส่งไปยังโรงงานผลิตแปรรูปของจีนในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ " สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" ("Two Countries, Twin Parks")
"สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างจีนและอินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในดินแดนของอีกฝ่าย โครงการริเริ่มดังกล่าวกลายเป็นกลไกที่ยอดเยี่ยมให้สองฝ่ายสามารถประสานการทำงานร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกและนโยบายต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวย สำหรับฝั่งจีนนั้น มีการจัดตั้งเขตการลงทุนหยวนหงในเมืองฝูโจว ด้วยพื้นที่ขนาด 61 ตารางกิโลเมตรตามแผนที่วางไว้ ในขณะที่ฝั่งอินโดนีเซียประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมสามแห่ง ได้แก่ บินตัน อาเวียร์นา และบาตัง ซึ่งคาดว่าจะครอบคลุมพื้นที่รวม 87.6 ตารางกิโลเมตร
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ปลูกมะพร้าวและผลิตผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ขณะที่จีนเป็นประเทศผู้บริโภคมะพร้าวสดรายใหญ่ นี่จึงถือเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจนำเข้า และเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์อุปสงค์-อุปทานดังกล่าว เขตการลงทุนหยวนหงในฝูโจวจึงทุ่มความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมะพร้าว ซึ่งได้เริ่มเปิดดำเนินการแล้วสี่สายการผลิต นอกจากนี้ การนำเข้ามะพร้าวได้อย่างราบรื่นยังช่วยให้นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมใหม่ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย
แม้อยู่ห่างกันหลายพันไมล์ แต่โครงการนี้ไม่ใช่โครงการเดียวที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งสองประเทศ โครงการ "สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย โดยให้ความสำคัญกับห้าภาคส่วนหลัก (ได้แก่ การประมงทะเล การเกษตรเขตร้อน อุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ และการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) ตลอดจนสำรวจรูปแบบการแบ่งงานระหว่างประเทศ ด้วยการผสานรวมห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่าเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีโครงการทวิภาคีมากกว่า 70 โครงการที่เปิดตัวแล้ว คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 9.3 หมื่นล้านหยวน
ปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ 75 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-อินโดนีเซีย และเมืองฝูโจว ซึ่งเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพยากรทางทะเล จะเก็บเกี่ยวโอกาสมากมายจากโครงการ "สองประเทศ นิคมอุตสาหกรรมแฝด" เพื่อขยายการเปิดตลาดให้กว้างยิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมสนับสนุนวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative)
ที่มา: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง เปิดตัวโครงการความร่วมมือกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สภาหอฯ) สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อบูรณาการการยกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยเริ่มต้นนำร่องกับนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ภายหลังพิธีลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง
เคพีไอ คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2025 ด้านนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์
—
เคพีไอ คว้ารางวัล BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION ...
อ.อ.ป. จัดงาน "วันอุเมดะ ประจำปี 2568" เพื่อรำลึกถึง "มร.โนโบรุ อุเมดะ" ผู้สนับสนุนการปลูกสร้างสวนป่า อ.อ.ป.
—
วันนี้ (20 มีนาคม 2568) องค์การอุตสาหกรรมป่...
หัวเว่ย ผนึก ม.ศิลปากร รับแผนดึงเทคโนโลยี หนุนเป้าหมายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล
—
หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ...
กรมที่ดิน ผนึก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยงานรัฐ ผลิตบุคลากรสายเทคนิควิศวกรรมสำรวจ เข้ารับราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. รองรับความต้องการประเทศ
—
กรมที่ดินร่...
มหาวิทยาลัยมหิดล - สวทช. แถลงเป้าหมายและแนวทางโครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ-เสริมแกร่งระบบวิจัยและนวัตกรรม
—
มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานพัฒนาวิทยา...