สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ยกระดับมาตรการเชิงรุกให้กับ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) หน่วยงานภาครัฐ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความแข็งแกร่งในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันเหตุละเมิดข้อมูล ทั้งต่อประชาชน องค์กร และภาพลักษณ์ของประเทศ
พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) กล่าวว่า DPO ไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่ต้องมีตามกฎหมาย แต่คือ "ด่านหน้า" ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ กระตุ้น เตือน และให้คำแนะนำด้านการคุ้มครองข้อมูลในหน่วยงาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในยุคที่ภัยไซเบอร์ไม่ได้มาจากการแฮ็กระบบเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการจัดเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ถูกต้องภายในองค์กร
เจ้าหน้าที่ DPO ต้องมีความรู้ครอบคลุมทั้งด้านกฎหมาย เทคโนโลยี และแนวปฏิบัติที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถวางระบบป้องกัน วิเคราะห์ความเสี่ยง และรับมือเหตุละเมิดได้อย่างมืออาชีพ โดยเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรที่ประมวลผลข้อมูลจำนวนมากหรือข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว เช่น โรงพยาบาลและบริษัทประกันภัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กำหนดให้ต้องแต่งตั้ง DPO อย่างชัดเจน
"เราไม่สามารถรอให้เกิดเหตุรั่วไหลแล้วค่อยแก้ไขได้อีกต่อไป เป้าหมายของ สคส. คือ Zero Data Breach - ข้อมูลรั่วไหลต้องเป็นศูนย์ และ DPO คือหัวใจของการขับเคลื่อนเป้าหมายนี้" โดยเปรียบเสมือน "แนวหน้า" ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ กระตุ้น เตือน และให้คำแนะนำภายในหน่วยงาน พร้อมจัดทำเอกสารสำคัญ เช่น ROPA (Records of Processing Activities) วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (GAP Analysis) และวางแนวทางรับมือเหตุละเมิดข้อมูล (Data Incident Response) อย่างเป็นระบบ ภารกิจนี้จึงไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ด้านกฎหมาย แต่ยังเป็นการรักษาความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวปิดท้าย
หากประชาชนพบเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สามารถติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) โทร. 02-111-8800 หรืออีเมล: [email protected]
สืบเนื่องจากกิจกรรม Safer Songkran ภายใต้โครงการ Safer with Google ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของประเทศไทย หรือ สกมช. (NCSA) และ Google Cloud ได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับภูมิทัศน์ดิจิทัลของประเทศไทย โดยผสานเทคโนโลยี AI และระบบป้องกันภัยไซเบอร์อัจฉริยะที่ใช้ข้อมูลข่าวกรองในการปฏิบัติการ ให้หน่วยงานภาครัฐและประชาชนเติบโตไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
รายงานแคสเปอร์สกี้ระบุองค์กรอุตฯ เกือบ 40% กังวลความปลอดภัยไซเบอร์ขวางแผนดิจิทัล
—
ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ความกังวลด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็...
ดีป้า ชู dSURE กลไกกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ระดับ 4.0
—
ดีป้า ชี้ตราสัญลักษณ์ dSURE ที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานด้านคว...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
รายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ปี 2568 เผยว่าเหตุการณ์ภัยไซเบอร์เกือบ 44% เกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์
—
พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ก...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
Splunk นำทัพองค์กรไทยสู่ความแข็งแกร่งทางดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในงาน Splunk Experience Day Thailand
—
Splunk ผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (c...
Kaspersky ร่วมงาน GITEX Asia 2025 ในฐานะพันธมิตรด้านภูมิคุ้มกันไซเบอร์
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดตัวในฐานะพันธมิตรด้านภูมิคุ้มกันไซเบอร์รายแรก (Cyber...
บริษัทวิจัยตลาดระบุ Kaspersky โดดเด่นในตลาดความปลอดภัยไซเบอร์ของ OT
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้รับการยอมรับจาก VDC Research ว่าเป็นบริษัทที่สามารถสร้าง...