สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ผลักดัน "ผ้าขาวม้าวิถีชีวิตไทย" ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติสู่เวที UNESCO โดยการเร่งจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทยจากทุกภาคส่วนให้เป็นระบบ เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาของชาติ และส่งเสริมการสร้างสรรค์ลายอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าขององค์กรและชุมชน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลไปสู่การต่อยอดในภาควิสาหกิจชุมชนและภาคการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในแก่ผ้าขาวม้าและการขยายตัวของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อเอ่ยถึง "ผ้าขาวม้า" หลายคนคงนึกถึงผ้าลายตาราง สีสันต่าง ๆ และประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย ตั้งแต่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้านุ่งอาบน้ำ ผ้าพันคอ โพกศีรษะ เปลนอน ผ้าเช็ดพื้น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ฯลฯ ถ้าจะบอกว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์หรือผ้าอเนกประสงค์ ก็คงไม่ผิดนัก
ผ้าขาวม้าผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมายาวนาน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่แสนจะเรียบง่ายแต่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย เสน่ห์ของผ้าขาวม้ายังคงโดนใจคนรุ่นใหม่ ที่นำผ้าขาวม้ามาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกายร่วมสมัย
อนาคตของผ้าขาวม้ายังไปต่อได้อีกไกลถึงเวทีโลก ด้วยกระทรวงวัฒนธรรมกำลังเสนอขึ้นทะเบียน "ผ้าขาวม้า" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Intangible cultural heritage) ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยมีสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนับสนุนในการจัดเก็บและทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าในประเทศไทยให้เป็นระเบียบแบบแผนในเว็บไซต์เดียว www.thaistudies.chula.ac.th/db/phakhaoma/
"ในการเอาผ้าขาวม้าขึ้นทะเบียน มิได้หมายถึงผ้าขาวม้าเป็นของเราเท่านั้น ด้วยว่าผ้าขาวม้าเป็นมรดกภูมิปัญญาที่มีอยู่ในภูมิภาคโดยรวม แต่เรามุ่งเน้นถึง ผ้าขาวม้าในวิถีชีวิตไทย เพราะวิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันการใช้ผ้าขาวม้าในลักษณะเป็นผ้าอเนกประสงค์มาช้านาน ตลอดจนผ้าขาวม้าไทยยังมีอัตลักษณ์ทั้งรูปแบบ ลวดลาย เทคนิกการย้อมสี และการทอ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของผู้คนและชุมชนแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทย เหล่านี้เป็นมรดกภูมิปัญญาของคนไทย" รองศาสตราจารย์ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ กล่าวถึงการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อทำเรื่องขึ้นทะเบียนผ้าข้าวม้าไทยในเวที UNESCO
"การที่เราเข้ามาช่วยกระทรวงวัฒนธรรมทำเรื่องนี้ก็เพื่อดำรงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้อยู่ในเวทีโลกได้ ซึ่งเป็นการปกป้องทางวัฒนธรรมและสร้างความมั่นใจว่าภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะไม่สูญหาย"
การปกป้องภูมิปัญญาทำได้หลายรูปแบบ รศ.ฤทธิรงค์ กล่าว ไม่ว่าจะเป็นการสอน การเผยแพร่ การวิจัย การอนุรักษ์ รวมไปถึงการจัดเก็บและสร้างฐานข้อมูล
"การที่จะทำให้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย เราต้องทำให้ภูมิปัญญานั้นมีการเคลื่อนไหวและพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ การสร้างฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทยก็เป็นสิ่งที่จะทำให้มรดกภูมิปัญญามีการเคลื่อนไหว เพราะฐานข้อมูลไม่ใช่สิ่งที่นิ่งตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงได้ เพิ่มพูนได้ นอกจากลายดั้งเดิมแล้ว จะยังมีลายใหม่ ๆ มาเติมในฐานข้อมูลเรื่อย ๆ ข้อมูลที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาจะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าขาวม้ายังคงดำรงอยู่ในสังคม ยังมีผู้คนให้ความสนใจอยู่"
นอกจากการปกป้องทางวัฒนธรรมแล้ว รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวเพิ่มเติมถึงเป้าหมายของการจัดทำฐานข้อมูล 3 ประการ กล่าวคือ
รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวว่าสถาบันไทยศึกษาได้จัดเก็บฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทยในรูปแบบดิจิทัล ปัจจุบันอยู่ในเว็บไซต์ www.thaistudies.chula.ac.th/db/phakhaoma ทำเป็น template หัวข้อต่าง ๆ โดยเน้นเรื่องลวดลายเป็นตัวตั้ง และมีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ลายผ้า ความเป็นมา (เรื่องเล่า) ของลายผ้า ผู้ออกแบบ สีและแพทเทิร์นของผ้า เป็นต้น
"ลายที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นอาจจะเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ หรือบางทีชาวบ้านก็ใช้ชื่อชุมชนเป็นชื่อของลายผ้า รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับผ้า เช่น ลายแบบนี้ประกอบด้วยสีอะไร ตารางเป็นแบบไหน มีความกว้างเท่าไร ใช้สีธรรมชาติหรือสีเคมี ถ้าเป็นสีธรรมชาติต้องระบุว่าสีธรรมชาติจากที่ไหนบ้าง ถ้าเป็นสีเคมีต้องมีหมายเลขสีตามมาตรฐานสากล และมีรายชื่อผู้ติดต่อ เจ้าของชุมชน" รศ.ฤทธิรงค์ ขยายความรายละเอียดของฐานข้อมูล
"เราจะเปิดให้ชุมชนเข้ามาป้อนข้อมูลผ้าขาวม้าของตัวเองในระบบด้วยตัวเอง โดยเราจะมีการฝึกอบรมให้กับชุมชน เพื่อให้สามารถลงทะเบียนและใส่ข้อมูลของตัวเองได้" รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวและเผยว่าสถาบันไทยศึกษาจะเปิดให้ชุมชนเข้ามาร่วมมีส่วนในการเก็บข้อมูลผ้าขาวม้าวิถีไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 นี้เป็นต้นไป
รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวว่าเมื่อฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าเสร็จ ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในเรื่องการศึกษาลายผ้าขาวม้าไทย การพัฒนาชุมชน และการตลาด
"การทำฐานข้อมูลเรื่องผ้าขาวม้าไม่ได้เป็นเรื่องของการจดลิขสิทธิ์ลาย ไม่ได้แปลว่าลายนี้คนอื่นเอาไปใช้ไม่ได้ ฐานข้อมูลของเราจะบอกว่าลายนี้ชุมชนใดเป็นคนทอ เพื่อเชื่อมโยงภูมิปัญญาชุมชนกับภาครัฐและเอกชน"
ในด้านการตลาด รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลเพื่อส่งเสริมการตลาดให้ชุมชนว่า "ชาวบ้านที่ทอผ้ามีความชำนาญในการผลิต แต่ไม่ได้มีความชำนาญในการตลาด ฐานข้อมูลผ้าขาวม้าจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมผู้ซื้อถึงผู้ผลิต เช่น โรงแรมอยากได้ผ้าขาวม้าเป็นสินค้าพรีเมียม เป็นลายเอกลักษณ์ของโรงแรมเอง ก็สามารถเข้ามาในฐานข้อมูล เลือกลายที่ชอบ และติดต่อไปที่ชุมชนที่ผลิตลายนั้น ๆ ได้"
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/214836/
"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงติด 100 อันดับแรกของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ โดย (QS) World University Rankings 2021-2022"
ครั้งแรกในไทย "ข้าวหมากไทย" ก้าวสู่เวทีโลก! โครงการ Thai Power Probiotics กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศศักดา Soft Power อาหารหมักดองไทย ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนสู่สุขภาพโลกที่ยั่งยืน ศศิฑอณร์ สุวรรณมณี ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานเปิดงาน โครงการ Thai Power Probiotics ต่อยอด Flavor of Thai Food โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันอาหาร ทีเอ็มบีธนชาตและแพลตฟอร์มชิมไทย
ครั้งแรกในไทย "ข้าวหมากไทย" ก้าวสู่เวทีโลก!
—
โครงการ Thai Power Probiotics กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย...
29 มี.ค. พาราไดซ์ พาร์ค ชวนสุขภาพดี ด้วยการร้องเพลง กับงาน Paradise Park Health & Wellness Melody Of Breath #ฝึกลมหายใจด้วยเสียงเพลง
—
ต่อเนื่องกับกิจ...
29 มี.ค. พาราไดซ์ พาร์ค ชวนสุขภาพดี ด้วยการร้องเพลง กับงาน Paradise Park Health & Wellness Melody Of Breath #ฝึกลมหายใจด้วยเสียงเพลง
—
ต่อเนื่องกับกิจ...
อธิการบดี มศว ชื่นชม โขนเด็ก รามเกียรติ์ สาธิต ประสานมิตร ประถม สืบสานมรดกชาติ
—
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) และสมาคมผู...
"Thailand Game Festival 2024" มหกรรมรวมพลคนทำเกม เวทีระดับชาติหนุนอุตสาหกรรมเกมไทยเพิ่มความแข็งแกร่งสู่สากล
—
สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA) ร่วมกับ...
สศร.จัดกิจกรรมสุดหลอน "ปลุกผีมาเล่าเรื่อง"
—
สศร.จัดกิจกรรมสุดหลอน "ปลุกผีมาเล่าเรื่อง" กิจกรรม HALLOWEEN NIGHT AT MUSEUM ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ...
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จับมือพันธมิตร จัดประกวดออกแบบบอร์ดเกม ส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เล่าเรื่องราวใน กทม.
—
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ลานสานฝัน สถาบัน...