"Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โดยเฉพาะภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการใช้พลังงานความเย็นระหว่าง -40 ถึง -60 องศาเซลเซียส ทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่ทำให้เกิดการส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ แพทย์จะใช้สายสวนพิเศษในการนำความเย็นไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ

"Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"

ข้อดีของการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น

  • ผลการรักษาดี Cryoablation มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิด
  • ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
  • ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บและภาวะแทรกซ้อน ความเย็นช่วยทำลายเนื้อเยื่อเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้าง

ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วย Cryoablation?

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น AF และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือผู้ที่ต้องการผลการรักษาที่ดีในระยะยาว แพทย์จะเป็นผู้ประเมินและตัดสินใจว่าวิธีนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ "การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น" เป็นทางเลือกในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยความแม่นยำ ปลอดภัย และการฟื้นตัวที่รวดเร็ว หากคุณมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2525

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมCall Center 1512 ต่อ 2999Line Official : ramhospital


ข่าวภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ+Atrial Fibrillationวันนี้

เตือน! หัวใจไม่เคยหยุดพัก AF Awareness Month 2023 AF ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว ภัยเงียบที่อาจถึงชีวิต

เดือนกันยายนของทุกปี เป็น AF Awareness Month หรือเดือนแห่งการตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: AF) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่รุนแรงและพบได้บ่อยที่สุด เป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด AF คือ อายุที่มากขึ้น ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน โรคไทรอยด์

เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ... เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน — เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ้าคุณมีอาการหัวใจสั่นพลิ้ว คุณจะไม่สนุกเหมือนได้เต้นพลิ้วไปตาม...

สถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ไรอัน ไวส์แมน กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดของชีวิต "ตอนนั้นผมรู้สึกเหมือนอยู่บนจุดสูงสุดของโลก ชีวิตผมเข้าที่เข้าทาง ผมดูแลทั้งสุขภาพกายและใจของตนเองอย่างดี ขณะที่ความสัมพันธ์ก็แข็งแกร่ง" แต่...

การประชุม ISTH 2015 เตรียมนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาระยะเวลาหนึ่งปี ว่าด้วยการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)

การกล่าวนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย GARFIELD-AF Registry ที่จะจัดขึ้นสองรอบนั้น จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น...

ภาพข่าว: เปิดโครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด AF เฉลิมพระเกียรติฯ

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Atrial Fibrillation เฉลิมพระเกียรติ...

การวิเคราะห์ข้อมูล Edoxaban Phase II เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาวะเลือดออกกับปริมาณการให้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

การวิเคราะห์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของการศึกษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation อาจอธิบายความสัมพันธ์ของภาวะเลือดออกกับหลักเกณฑ์การให้ยาที่...

สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

เมื่อวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center) ...