วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคปนเปื้อนมากับน้ำมีจุลินทรีย์ก่อโรคและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเรียกว่า เชื้อก่อโรค (pathogen) ซึ่งแบ่งประเภทได้เป็น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต มักเป็นสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่มีอาการป่วย บทความให้ความรู้โดย นพ.วีรยุทธ ตะโนรี (ว.40915) แพทย์เฉพาะทางด้านเวชปฎิบัติทั่วไป ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้

วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ

โรคที่อาจเกิดขึ้นจากการเปียกน้ำมีดังนี้ วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ

  1. ไข้หวัด อุณหภูมิที่ลดลงจากการเปียกน้ำแบบรวดเร็วหรือร่างกายเปียกน้ำระยะเวลาที่นาน
  2. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง การใส่เสื้อเปียกนาน ๆ อาจทำให้ผิวเป็นผื่นคันหรือหากน้ำไม่สะอาดก็ทำให้ผิวหนังอักเสบได้
  3. โรคเยื่อบุตาอักเสบและโรคตาแดง น้ำที่มีไม่สะอาด เช่น น้ำคลอง น้ำที่ใส่สีต่าง ๆ เป็นต้น
  4. โรคอาหารเป็นพิษ การดื่มน้ำที่ไม่สะอาดหรือน้ำที่ปนเปื้อนอาจทำให้ปวดท้องและท้องเสีย

วิธีป้องกันอาการป่วยจากการเปียกน้ำ

  1. เตรียมเสื้อผ้าที่แห้ง นำเสื้อผ้าแห้งไปด้วยเพื่อเปลี่ยนเมื่อเลิกเล่นน้ำ
  2. หาผ้าขนหนู มีการซับตามร่างกายหากมีต้องเปียกยาวนาน
  3. ดื่มน้ำสะอาด ยกตัวอย่าง กรณีเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นฤดูร้อนก็อาจจะทำให้เกิดโรคลมแดดได้ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  4. หากมีการระคายเคืองหลังเล่นน้ำ มีน้ำตาไหลผิดปกติ ไม่ควรขยี้ตา แนะนำล้างตาด้วยน้ำสะอาดแล้วพบแพทย์
  5. พักผ่อนให้เพียงพอรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการพักผ่อนเพียงพอก่อนและหลังออกไปเล่นน้ำ
  6. กลุ่มเด็กเล็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ บุคคลที่มีโรคประจำตัวและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังไม่ให้เล่นน้ำระยะเวลานานเกินไปหรือเปียกน้ำมากเกินไป

การป้องกันอาการป่วยจากการเปียกน้ำหลัก ๆ คือ การดูแลตัวเองให้แห้งเร็วหลังการเปียกน้ำ ดื่มน้ำสะอาด และสังเกตสุขภาพตัวเอง ระยะเวลาที่เล่นพอเหมาะไม่มากจนเกินไป กรณีหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ โรงพยาบาลนวเวช ศูนย์ตรวจสุขภาพ (Premium Check Up Center) โทร. 1507 Line: @navavej


ข่าวแพทย์เฉพาะทาง+จุลินทรีย์วันนี้

รพ.เมดพาร์ค อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ชวนหมอทั่วไทยร่วมคัดกรองโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 (ครั้งที่ 2)" โดยมี ศ. นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เป็นประธานในการแถลงข่าว ร่วมด้วย ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม หัวหน้าศูนย์หัวใจ และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเมดพาร์ค ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ และ ศ. นพ.กฤษณ์ จงนรังสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ จาก University of Michigan ณ

รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.ว... รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ — รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...

นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้า... ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน — นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...

เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝน... 5 อาการ ควรเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ — เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศ...

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับ... โรคลมแดด (Heat Stroke): ภัยเงียบช่วงสงกรานต์และแนวทางป้องกัน — ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยมักเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพา...

พญ.มนนภา ขุนณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์... จัดงาน Open House นำเสนอศักยภาพศูนย์บริการของแพทย์ "หัวเฉียวยุคใหม่" — พญ.มนนภา ขุนณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นประธานเปิดงานพร้อมด...

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...