ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot มจพ. เดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิต ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อเป็นวันที่ 4 ใช้ทีมถึง 2 ทีม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม จากเหตุแผ่นดินไหว พร้อมเดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อ นับจากวันที่ 28-31 มีนาคม 2568 วันนี้เป็นวันที่ 4 แล้ว โดยทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มจพ. มีผู้ประสานงานหลักทีมหุ่นยนต์กู้ภัย คือ นายพัฒนเดช ศรีอนันต์ ชื่อเล่น "แพท" หรือ โก๋แพท เป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) แจ้งความคืบหน้าตลอดบนเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/iraprobot

ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot มจพ. เดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิต ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อเป็นวันที่ 4 ใช้ทีมถึง 2 ทีม

ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" รายงานสถานการณ์ถึงปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot (KMUTNB) ที่เตรียมความพร้อมและได้เริ่มต้นภารกิจกู้ภัย โดยร่วมมือกับทีมกู้ภัยหน่วยต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่พัฒนาโดยทีม iRAP Robot (KMUTNB) ในการสร้างแผนที่และสำรวจพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีอันตราย นำหุ่นยนต์กู้ภัย 2 -3 ตัว ในแต่ละวันจัดสรรไม่เหมือนกันตามภารกิจทั้งติดตั้งเซ็นเซอร์ LiDAR, กล้องตรวจจับความร้อน, แขนกลหยิบจับ, เซ็นเซอร์วัดออกซิเจน และระบบสร้างแผนที่ 3D รวมถึงหุ่นยนต์กู้ภัยขนาดเล็กที่มีความสามารถคล้ายกันในการสำรวจและสร้างแผนที่ 3D ได้ ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot มจพ. เดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิต ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อเป็นวันที่ 4 ใช้ทีมถึง 2 ทีม

นอกจากนี้ ทีมยังได้ทดสอบระบบการสื่อสารและการควบคุมระยะไกล เพื่อให้มั่นใจว่าหุ่นยนต์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีโดรน DJI Matrice 350RTK จำนวน 2 ลำ สำหรับสำรวจทางอากาศ ซึ่ง มจพ. ได้จัดทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" (KMUTNB) สนับสนุนในการปฎิบัติหน้าที่ครั้งนี้อย่างเต็มความสามารถการปฏิบัติงานภาคสนาม ทีม iRAP Robot (KMUTNB) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ชั้นใต้ดินของตึกที่ถล่มร่วมกับทีมกู้ภัย USAR ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงและอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ส่งหุ่นยนต์ลงไปสำรวจและสร้างแผนที่ 3D ในรอบแรก ขณะนี้กำลังดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ 3D ที่ได้จากการใช้หุ่นยนต์สแกนข้อมูลสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่กู้ภัยทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot (KMUTNB) รายงานสถานการณ์ ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot (KMUTNB) ได้สรุปข้อมูลทั้งหมดเพื่อส่งต่อให้กับทีมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย โดยได้รับความช่วยเหลือจากทางประเทศอิสราเอล โดยการสั่งการจากนายกรัฐมนตรีประเทศอิสราเอล นายเบนจามิน เนทันยาฮู เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและต่อเนื่องของการดำเนินการ

ภารกิจหลักก็คือการ Support ทีมขุดรื้อ-ขุดค้นหา ว่าตอนนี้ขุดไปในระยะเท่าไหร่แล้ว โดยซอยแผนที่ 3D ส่งให้ทางทีมหน่วยงานกลาง เว็บไซต์แสดง Maps 3D ของสถานที่เกิดเหตุ อัพเดทล่าสุด ทำโดยบุคลากร-อาจารย์ จาก มจพ. อาจารย์ ดร.พชร เครือวิทย์ ที่ลิงก์ http://npsurvey.thddns.net:3934/PC/viewer.html การส่งมอบแผนที่ 3D ฉบับสมบูรณ์ ทีม iRAP Robot (KMUTNB) ได้เสร็จสิ้นการสร้างแผนที่ 3D ของอาคารทั้งหมด ทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งถือเป็นข้อมูลแผนที่ที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ในตอนนี้ โดยได้ส่งมอบแผนที่ให้กับทุกหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติการกู้ภัย เพื่อใช้ในการประเมินและวางแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณข้อมูล 3D- ข้อมูลแผนที่ 3D ของอาคารตึกภายนอกจากโดรนสำรวจที่ได้รับจาก สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ (D.R.A.T.)- ข้อมูลแผนที่ 3D ของอาคารตึกภายในจากหุ่นยนต์กู้ภัยที่ได้จากทีม iRAP Robot (KMUTNB) การใช้แผนที่ 3D ที่ได้รับการสร้างขึ้น ยังสามารถนำไปใช้ในการประเมินปริมาตรของซากอาคาร โดยการคำนวณน้ำหนักจากค่า density ของคอนกรีต ซึ่งจะช่วยในการประเมินเวลาและการดำเนินการขนย้ายซากออกจากพื้นที่เสียหาย

ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" ได้ลงปฎิบัติหน้าที่ จำนวน 2 ทีม ประกอบด้วย ทีมที่ 1 ประกอบด้วย 1.ผศ.ดร. จิรพันธ์ อินเทียม 2.นายพัฒนเดช ศรีอนันต์ 3.นายนภดล จำรัสศรี 4.นายชัยพฤกษ์ เลาหะพานิช 5.นายเนตินันท์ กุตนันท์ 6.นายธนกร กุลศรี 7.นายอาทิตย์ นาราเศรษฐกุล 8.นายเจษฎากร ชัยนราพิพัฒน์ และ 9.นายฐิติยศ ประกายธรรม ทีมที่ 2 ประกอบด้วย 1.รศ.ดร. กิตติชัย ธนทรัพย์สิน 2.ดร. สายันต์ พรายมี 3.นายภูมิทรรศน์ สังขพันธ์ 4.นายภูบดี บุญจริง 5.นายจิรกานต์ สุขเจริญ 6.นายเมธี มีแสง 7.นายสุกฤษฎิ์ไชย หอมกระจาย 8.นายณภัทร จันทร์ลาม และ นายกลย์ภัทร์ บุญเหลือ และ นอกจากนี้ ทีม iRAP Robot (KMUTNB) ยังได้สนับสนุนกล้องโดรนรุ่นใหม่ล่าสุด DJI Zenmuse H30T ให้กับสมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ (D.R.A.T.) ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ค้นหาและสำรวจทางอากาศ ทีม iRAP Robot (KMUTNB) ยังคงให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน และยืนยันถึงความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และโดรนในการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ในทุกด้า


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มจพ.ปราจีนบุรี รับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2568 โครงการคัดเลือกตรง เพื่อกระจายโอกาสสำหรับผู้เรียนดี

คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2568 โครงการคัดเลือกตรง เพื่อกระจายโอกาสสำหรับผู้เรียนดี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 สมัครออนไลน์ได้ที่ www.fitm.kmutnb.ac.th/openhouse หรือที่ สมัครเรียนได้ที่ https://stdadmis2.kmutnb.ac.th/ApplyStart?ReturnUrl=%2f สอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะเทคโนโลยี

ศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ อธิการบดี มหาวิทย... มจพ. จัดงานพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนวัตกร มจพ. ประจำปี 2568 — ศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ม...

ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28... มจพ. ประกาศ โครงสร้างอาคารมีความปลอดภัย พร้อมเปิดทำการได้ตามปกติ — ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ...

มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัว... มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก 3 สาขาวิชา — มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก...