นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวชี้แจงกรณีมีกระแสข่าว กรุงเทพฯ จะจมน้ำจากภาวะน้ำทะเลหนุนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลจากสื่อมวลชนและนักวิชาการหลากหลายสำนักทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กรุงเทพฯ อาจเผชิญภาวะ "จมน้ำ" หรือถูกน้ำทะเลรุกล้ำจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการทรุดตัวของพื้นที่เมืองในระยะยาว กทม. ได้ติดตามสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลอย่างใกล้ชิดร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน เป็นต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐาน กทม. ได้วางแนวทางป้องกันและปรับตัวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม อาทิ การพัฒนาระบบระบายน้ำโดยอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ปัจจุบัน กทม. มีอุโมงค์ระบายน้ำที่เปิดใช้งานแล้ว 4 แห่ง ประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 195 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอีก 4 แห่ง กำลังสูบรวม 182 ลบ.ม./วินาที รวมถึงมีแผนที่จะดำเนินการอีก 5 แห่ง กำลังสูบรวม 164 ลบ.ม./วินาที พร้อมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำโดยเพิ่มขีดความสามารถกำลังสูบของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา และตามคลองสายหลักต่าง ๆ ทั้งนี้ ปัจจุบัน กทม. มีสถานีสูบน้ำ 200 แห่ง ประตูระบายน้ำ 243 แห่ง และบ่อสูบน้ำ 349 แห่ง
สำหรับการป้องกันน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนสูงตามแนวริมแม่น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบัน กทม. มีแนวป้องกันน้ำแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ คลองชักพระ และคลองพระโขนง ความยาวรวม 88 กิโลเมตร สามารถป้องกันระดับน้ำได้ที่ความสูง + 2.80 เมตร ระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ถึง +3.50 ม.รทก. เหนือระดับทะเลปานกลาง นอกจากนี้ กทม. ได้พัฒนาและฟื้นฟูสภาพคลอง โดยก่อสร้างเขื่อนในคลองสายหลัก เพื่อรองรับปริมาณน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร คลองบางเขน รวมถึงพัฒนาระบบกักเก็บน้ำทั้งในรูปแบบแก้มลิงธรรมชาติ และบ่อหน่วงน้ำ (water bank) อย่างไรก็ตาม กทม. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อประเด็นข่าวดังกล่าวและจะดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อป้องกันและปรับตัวรับต่อภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในอนาคต ส่วนการเตือนภัย สนน. ได้พัฒนาระบบติดตามสถานการณ์ฝน ระบบตรวจวัดน้ำท่วม และระดับน้ำทะเลหนุนแบบเรียลไทม์ผ่านเว็บไซต์ https://weather.bangkok.go.th รวมถึงเชื่อมโยงกับระบบกล้อง CCTV สถานีวัดระดับน้ำ และระบบพยากรณ์ฝน-น้ำในอนาคตล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในเชิงนโยบายและปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง 24 ชม.
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นว่า กทม. ได้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 67 เป็นต้นมา โดยจัดประชุมติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อวิเคราะห์ ติดตามคาดการณ์สภาพอากาศ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำ
ปตท. สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน อย่างมีประสิทธิภาพ
—
นายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโต...
กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวถึงการเ...
กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความ...
กทม.อัปเดตความพร้อมบริหารจัดการน้ำช่วงหน้าฝนปี 66
—
กรุงเทพมหานครเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนในปี 2566 ทั้งการขุดลอกคูคลองล...
กทม.เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำ - เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝนปีนี้
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่า...
กทม.เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำ-เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงควา...
กทม.เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ - บูรณาการความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
—
นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวกรณี พล.อ.ประ...