การสำรวจธุรกิจครอบครัวปี 2025 ชี้ บรรษัทภิบาลและความเป็นผู้ประกอบการเป็นกุญแจสำคัญของการรักษาการเติบโตของธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

  • ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ มักมีโครงสร้างบอร์ดบริหารที่เป็นทางการมากกว่าธุรกิจครอบครัวทั่วไปถึงร้อยละ 10
  • ความเป็นผู้ประกอบการและการเติบโตเป็นสิ่งที่ฝังลึกในธุรกิจครอบครัว ซึ่งใช้ประโยชน์จากเงินทุนเพื่อเติบโต และใช้การควบรวบกิจการและการซื้อกิจการ (mergers and acquisitions: M&A) เพื่อขยายธุรกิจและสร้างนวัตกรรมมากขึ้น
  • บริษัทลงทุนภาคเอกชนให้ความสนใจที่จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจครอบครัวมากขึ้น

KPMG Private Enterprise และ STEP Project Global Consortium ได้เผยแพร่รายงาน Global Family Business Report 2025 ซึ่งเจาะลึกถึงภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจครอบครัว และกลยุทธ์ในการรักษาการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดยุทธศาสตร์การเติบโต และความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกที่มีรากฐานจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์

การสำรวจธุรกิจครอบครัวปี 2025 ชี้ บรรษัทภิบาลและความเป็นผู้ประกอบการเป็นกุญแจสำคัญของการรักษาการเติบโตของธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น

รายงานฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวจำนวน 2,683 แห่งใน 80 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดทำโดย STEP Project Global Consortium และ KPMG Private Enterprise การศึกษานี้ชี้ให้เห็นบทบาทที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจครอบครัวในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นไปที่ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจเหล่านี้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นแนวโน้มบางประการที่พบในธุรกิจครอบครัวที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น

"ความเข้าใจและการปรับปรุงปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวสามารถอยู่รอดได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหัวใจของการส่งต่อความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่นด้วย การเติบโตในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่การขยายตัวด้านการเงิน แต่ยังรวมถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวด้วย" รอบบิน แลงสฟอร์ด ผู้นำระดับโลก ฝ่ายธุรกิจครอบครัว KPMG Private Enterprise เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว "การรับมือกับความท้าทายดั้งเดิม เช่น บรรษัทภิบาลของธุรกิจครอบครัว ควบคู่ไปกับการคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ อย่างการเข้าถึงเงินทุนเพื่อการเติบโต จะช่วยรับประกันความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว ท่ามกลางภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้" แลงสฟอร์ดอธิบาย

ข้อมูลเผยให้เห็นว่าธุรกิจครอบครัวยังมีช่องทางในการเติบโตอีกมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานในการทำธุรกิจ แรงผลักดันสำคัญของยุคนี้ ได้แก่ การกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ การเปลี่ยนแปลงในการกำกับดูแลกิจการ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, social and governance: ESG) และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งล้วนต้องการให้ผู้นำธุรกิจครอบครัวตัดสินใจอย่างเป้าหมายว่าจะเปิดรับหรือปฏิเสธสิ่งใด และปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน

"ขณะที่เราเข้าสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่ซับซ้อนขึ้น ทั้งในด้านการกำกับดูแลกิจการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ และความเปลี่ยนแปลงของตลาด ธุรกิจครอบครัวต้องใช้แนวทางที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จและมีความยืดหยุ่นในระยะยาว การทำให้กรอบการกำกับดูแลกิจการเป็นทางการ การวางแผนการสืบทอดธุรกิจเชิงรุก การบูรณาการ ESG เข้าไปในกลยุทธ์ธุรกิจหลักพร้อมโอบรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ล้วนช่วยเสริมสร้างมรดกของครอบครัว เพิ่มความผูกพันระหว่างรุ่น และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การควบรวมและการซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และปลดล็อกศักยภาพในอนาคตได้" ศศิธร พงศ์อดิศักดิ์ หุ้นส่วน และหัวหน้าฝ่าย KPMG Private Enterprise เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว

มีหลักฐานที่ชี้ว่า การกำกับดูแลกิจการมีความสำคัญ โดยธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมีแนวโน้มสูงกว่าร้อยละ 10 ที่จะมีโครงสร้างคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ การวางแผนเส้นทางการเติบโตไว้อย่างชัดเจนและรอบคอบ จะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนเพื่อการเติบโตได้มากขึ้น พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) เพื่อขยายธุรกิจและสร้างนวัตกรรม การศึกษาเน้นย้ำว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา มีธุรกิจครอบครัวเกือบ 500 รายที่เข้าร่วมกิจกรรม M&A โดยร้อยละ 60 เป็นการเข้าซื้อกิจการของธุรกิจครอบครัวอื่น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า บริษัทลงทุนภาคเอกชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจครอบครัว โดยมองว่าธุรกิจเหล่านี้ต้องการทั้งแหล่งเงินทุนและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น และสร้างการเติบโตในระยะยาว

ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการที่ธุรกิจครอบครัวเปิดรับการเป็นพันธมิตรกับบริษัทลงทุนภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและการสืบทอดธุรกิจ

"ประเทศไทยมีธุรกิจครอบครัวที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นกรณีที่กองทุน private equity ได้ร่วมมือกับเจ้าของธุรกิจ ทั้งในด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อการเติบโตในอนาคต การแนะแนวทางในการปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการ และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงยังสนับสนุนเรื่องการสืบทอดกิจการอีกด้วย" เอียน ธอร์นฮิลล์ หุ้นส่วนและหัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาการซื้อขายกิจการ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว

"นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจครอบครัว และสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจ นี่อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกเขา" แอนเดรีย คาลาโบร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของ STEP Project Global Consortium กล่าว "สิ่งที่น่าสังเกตคือ การเข้าซื้อกิจการระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับอิทธิพลจากโครงสร้างความเป็นเจ้าของของธุรกิจ ผู้บริหาร และวิสัยทัศน์ระยะยาว บอร์ดบริหารที่มีการกำกับดูแลที่ดีต้องตระหนักถึงปัจจัยที่ซับซ้อนเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์การซื้อกิจการสอดคล้องกับทั้งเป้าหมายทางการเงิน และคุณค่าทางจิตใจที่ครอบครัวให้ความสำคัญ" คาลาโบรกล่าวเพิ่มเติม

รายงานฉบับนี้ระบุแนวทางหลายประการที่ธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและความยั่งยืนในระยะยาว ขยายกรอบความคิดเกี่ยวกับความสำเร็จให้ครอบคลุมมากกว่าแค่การสืบทอด แต่ควรหมายถึงการส่งผ่านธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย

  • เสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการ: จัดตั้งโครงสร้างบอร์ดบริหารอย่างเป็นทางการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการตัดสินใจและความยั่งยืน พร้อมพิจารณาองค์ประกอบของบอร์ดอย่างรอบคอบ
  • สร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น: เกือบร้อยละ 40 ของสมาชิกครอบครัวตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพของการสื่อสารระหว่างสมาชิกครอบครัวและธุรกิจครอบครัว
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมข้ามรุ่น: สมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไปเพียงร้อยละ 52 เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวจากหลายรุ่นมีบทบาทในธุรกิจมากขึ้น เพื่อเพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน: บูรณาการแยวคิดด้านความยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ใช้ประโยชน์จากเงินทุนเพื่อการเติบโตและ M&A: มองหาโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนเพื่อการเติบโต และพิจารณา M&A เชิงกลยุทธ์เพื่อขยายตัวสู่ตลาดใหม่และสร้างนวัตกรรม
  • พิจารณาความร่วมมือกับบริษัทลงทุนภาคเอกชน: สร้างความสัมพันธ์กับบริษัทลงทุนภาคเอกชนและสำนักงานธุรกิจครอบครัว (family office) เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ และความเชี่ยวชาญที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ และการเติบโตในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ
  • ทบทวนความหมายของ "ความสำเร็จ" สำหรับธุรกิจครอบครัว: เมื่อธุรกิจครอบครัวต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ความสำเร็จในอนาคตควรมีหน้าตาอย่างไร และคุณจะวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร


ข่าวผู้ประกอบการ+บรรษัทภิบาลวันนี้

"ดีพร้อม" จับมือ "Tokyo SME Support Center" พร้อมเสริมแกร่ง เพิ่มศักยภาพ SME ไทยและญี่ปุ่น ให้แข็งแรง โตไกลสู่ตลาดสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมหารือร่วมกับ Mr. Nakanishi Mitsuru President & CEO Tokyo SME Support Center ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วย นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรธวัช เพ่งศรี อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกกรรม) และนายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกกรรม) ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม กับ Tokyo SME Support Center เพื่อร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SME

Fast Cargo (ฟาสต์ คาร์โก้) ผู้นำด้านการนำ... Fast Cargo จัดใหญ่โปรโมชัน Mid Year Deal ลดแรงกลางปี! "ส่งของจากจีนมาไทย" ทั้งทางเรือ-รถ — Fast Cargo (ฟาสต์ คาร์โก้) ผู้นำด้านการนำเข้าสินค้าจากจีนแบบครบ...

งานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ ครั้งที่ 15 Money... Money Expo 2025 Hatyai เงินสะพัดกว่า 6.9 พันล้านบาท — งานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ ครั้งที่ 15 Money Expo 2025 Hatyai จัดโดยวารสารการเงินธนาคาร วันที่ 4-6 กรก...