เปิดคู่มือผู้บริโภคยุคใหม่ เลือกอาหารเสริมให้ปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในโลกยุคปัจจุบันที่เร่งรีบ ผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการมากขึ้น ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลายคนไม่สามารถได้รับสารอาหารที่จำเป็นในแต่ละวันจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ตั้งแต่การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไปจนถึงการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการผ่านระบบดิจิทัล หรือแม้แต่ชุดตรวจพันธุกรรมเพื่อโภชนาการ ล้วนช่วยให้ผู้คนเข้าใจความต้องการด้านโภชนาการของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

เปิดคู่มือผู้บริโภคยุคใหม่ เลือกอาหารเสริมให้ปลอดภัย

อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย พัฒนา และงานวิชาการ เฮอร์บาไลฟ์ เอเชียแปซิฟิก มองว่าแนวโน้มเหล่านี้คือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้อาหารเสริมได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการดูแลสุขภาพแบบสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์เฉพาะบุคคล ส่งผลให้ธุรกิจอาหารเสริมขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น

กฎระเบียบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความหลากหลายแตกต่างกันแต่ละประเทศ ออสเตรเลียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบเข้มงวดที่สุด โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Therapeutic Goods Administration (TGA) ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต้องมีหลักฐานด้านความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการจดทะเบียนหรือขึ้นบัญชีตามระดับความเสี่ยงของสินค้า และผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การผลิตที่ดี (GMP) ส่วนทางด้านอินโดนีเซียมีแนวทางที่ยืดหยุ่นกว่า โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานควบคุมยาและอาหาร (BPOM) ซึ่งจัดประเภทอาหารเสริมให้อยู่ในหมวดยาแผนโบราณหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องผ่านการจดทะเบียนกับหน่วยงานรัฐก่อนวางจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ทำให้เกิดคำถามต่อระบบการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมนี้ ต่างจากยาแผนปัจจุบันที่ต้องผ่านการทดสอบและอนุมัติอย่างเข้มงวด อาหารเสริมในหลายประเทศยังถูกควบคุมแบบเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป โดยเน้นที่การติดฉลากและความปลอดภัยพื้นฐาน ทำให้ระดับของการควบคุมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทำให้คุณภาพไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

โดยประเด็นสำคัญที่เราควรใช้พิจารณา ได้แก่

  • กฎระเบียบ: ประเทศอย่างเกาหลีใต้และไต้หวันมีกฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างครอบคลุม ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัย อนุมัติส่วนผสมที่ใช้ และปฏิบัติตาม GMP ก่อนออกสู่ตลาด
  • มาตรฐานฉลาก: ฉลากที่ชัดเจนและถูกต้องมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ต้องระบุส่วนผสม ปริมาณที่แนะนำ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น แม้การบังคับใช้กฎหมายจะยังต่างกันในแต่ละประเทศ
  • การเคลมประโยชน์ด้านสุขภาพ: หลายแบรนด์ระบุสรรพคุณหลากหลาย ตั้งแต่เสริมภูมิคุ้มกันไปจนถึงช่วยการทำงานของสมอง แต่หากขาดการกำกับดูแลที่เข้มงวด อาจนำไปสู่การกล่าวอ้างเกินจริงหรือไม่มีหลักฐานรองรับ
  • การโฆษณาและส่งเสริมการขาย: การตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านโซเชียลมีเดีย มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นยอดขาย ในบางประเทศ หากมีการโฆษณาเกินจริงอาจโดนลงโทษ แต่ในอีกหลายประเทศการบังคับใช้ยังอ่อนแอ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่อาจไม่ปลอดภัยเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย

แม้จะมีความพยายาม เช่น โครงการ ASEAN Harmonization of Health Supplements ที่มุ่งพัฒนากฎระเบียบร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กรอบแนวทางนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้จริงอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตยังต้องเผชิญกับระบบที่ซับซ้อนและไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ

ความสำคัญของอาหารเสริมที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เมื่อมาตรฐานกฎระเบียบแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด การมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและมีข้อมูลครบถ้วน เพราะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาบนพื้นฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ จะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจมากขึ้นในแง่ของความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประโยชน์ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น แบรนด์สุขภาพและโภชนาการอย่างเฮอร์บาไลฟ์ ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและการควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปลอดภัยและได้ผลจริง สูตรผลิตภัณฑ์ของเฮอร์บาไลฟ์ถูกพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยที่ได้รับการรับรอง ไม่ใช่แค่ตามกระแสตลาดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการทดสอบจากหน่วยงานภายนอกอย่างอิสระ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของส่วนผสม และตรวจสอบว่าเนื้อหาบนฉลากตรงกับที่อยู่ในผลิตภัณฑ์จริง

นอกเหนือจากการตรวจสอบส่วนผสมแล้ว ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์โภชนาการและเทคโนโลยีการพัฒนาสูตร ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของร่างกาย (Bioavailability) ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหารเสริมอย่างเต็มที่ ทำให้แบรนด์ที่ลงทุนในการวิจัยล้ำสมัย และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ย่อมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ได้ดีกว่า

เมื่ออุตสาหกรรมอาหารเสริมเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคเองก็ควรมีบทบาทเชิงรุกในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกใช้ ตรวจสอบส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ว่ามีสารก่อภูมิแพ้ สารปรุงแต่ง หรือสารที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่ รวมถึงทำความเข้าใจกระบวนการผลิต เลือกแบรนด์ที่ยึดมั่นในหลัก GMP และผ่านการทดสอบจากภายนอก ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อย่างปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพในระยะยาว

หากต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม หรือติดตามเคล็ดลับด้านสุขภาพ โปรดติดตาม Facebook/HerbalifeThailandOfficial หรือ Instagram/HerbalifeThailandOfficial

https://www.herbalife.com/th-th หรือ Line OA: @HerbalifeTH

หรือ แผนกบริการลูกค้า 02-6601600


ข่าวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร+และพฤติกรรมวันนี้

DOD ชี้ เทรนด์รักสุขภาพโตต่อเนื่อง หนุนอุตสาหกรรมเสริมอาหารโตตาม ส่งซิกรายได้จาก "Auswelllife" พุ่ง ดันผลงานทั้งปีโตแตะ 700 - 800 ล้านบาท

บมจ. ดีโอดี ไบโอเทค หรือ "DOD" ชี้ อุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจเสริมอาหารครึ่งปีหลัง ยังคงขยายตัวตามเทรนด์คนรักสุขภาพ มั่นใจรายได้จากการผลิตผลิตภัณฑ์ ในฐานะผู้รับจ้างผลิตปีนี้แตะ 450-500 ล้านบาท ขณะที่ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ "Auswelllife" ส่อแววโกยรายได้ 250-300 ล้านบาท ส่งผลตั้งเป้ารายได้รวมทั้งปีแตะ 700-800 ล้านบาท พร้อมตอกย้ำภายในปีนี้เล็งจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น นายต่อลาภ ไชยเชาวน์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD ผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภาย

ImmuneUp Powder ผสานโพรไบโอติก 8 สายพันธุ... เถ้าแก่น้อย แตกไลน์ธุรกิจ เปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นวัตกรรมใหม่ MePoonn ช็อต "มีภูมิ" — ImmuneUp Powder ผสานโพรไบโอติก 8 สายพันธุ์ เสริมภูมิ ลำไส้ดี ใน ...

บีไลฟ์ (Be Life) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหา... บีไลฟ์ ส่ง "CognatiQ Balance" เจาะกลุ่มที่มองหาวิถีชีวิตที่สมดุลเมื่อชีวิตเร่งรีบจนละเลยสุขภาพ — บีไลฟ์ (Be Life) แบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้องใหม่ ประเดิ...