ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ งวด 6 เดือน ปี 2568 จำนวน 1,012.6 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายวุธว์ ธนิตติราภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,012.6 ล้านบาท ลดลงจำนวน 281.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2567 การลดลงของกำไรสุทธิดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากรายการพิเศษ (one-off items) ได้แก่ การปรับวิธีรับรู้รายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate: EIR) และการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตเพิ่มเติม (Expected Credit Loss Overlay) ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว โดยไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสินทรัพย์ที่ลดลง ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนถึงความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ งวด 6 เดือน ปี 2568 จำนวน 1,012.6 ล้านบาท

สำหรับกำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 1,268.9 ล้านบาท ลดลงจำนวน 342.1 ล้านบาทหรือร้อยละ 21.2 สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิร้อยละ13.6 และการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นร้อยละ 86.2 สุทธิกับการลดลงของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานร้อยละ 19.1 และการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้อื่น ร้อยละ 4.8 และร้อยละ 21.5 ตามลำดับ

รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับงวดหกเดือนปี 2568 มีจำนวน 6,780.5 ล้านบาท ลดลงจำนวน 257.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2567 เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 646.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.6 จากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อ สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจำนวน 30.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและบริการ รายได้จากการดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 357.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากการขายเงินลงทุน สุทธิกับการลดลงของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและการลดลงของกำไรสุทธิจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนปี 2568 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2567 ลดลงจำนวน 832.7 ล้านบาทหรือร้อยละ 19.1 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของค่าเผื่อการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขายและการลดลงของค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2568 อยู่ที่ร้อยละ 52.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 62.0

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin - NIM) สำหรับงวดหกเดือนปี 2568 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 244.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 316.5 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 จากสิ้นปี 2567 ซึ่งมีจำนวน 324.0 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็นร้อยละ 77.2 จากร้อยละ 77.6 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.6 คงที่เมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นผลจากการที่กลุ่มธนาคารมีนโยบายการจัดการความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่รัดกุม มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงแนวทางในการเรียกเก็บหนี้จากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่มีอยู่ และการแก้ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 อยู่ที่ร้อยละ 155.9 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 149.0 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท

เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีจำนวน 60.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21.7 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 17.0


ข่าวมีกำไรสุทธิ+ซีไอเอ็มบีวันนี้

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 838.1 ล้านบาท

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 838.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 212.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.9 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2567 สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 22.1 ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประ... ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7% — พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซี...

กำไรสุทธิ 1,890.2 ล้านบาท (+8.9% YoY) ราย... ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ งวด 9 เดือน ปี 2567 จำนวน 1,890.2 ล้านบาท — กำไรสุทธิ 1,890.2 ล้านบาท (+8.9% YoY) รายได้จากการดำเนินงานจำนวน 10,785....

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไร... เอสซีบีเอกซ์ ประกาศผลกำไรสุทธิประจำไตรมาส 2 ของปี 2568 จำนวน 12,786 ล้านบาท — บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ของปี 2568 จำนวน 12...

บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ... ดั๊บเบิ้ล เอ แข็งแกร่งเติบโตต่อเนื่อง ไตรมาสแรก ปี 68 กำไรเพิ่มขึ้น 42.56% — บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2568 โ...

นายภักดี เหล่างาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร... MCA มั่นใจปี 68 รายได้แตะ 895 ลบ. ปูทางการควบรวม-ซื้อกิจการ เสริมฐานรายได้ในอนาคต — นายภักดี เหล่างาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์เก็ต คอนเน็กชั่นส...

นายฐากร ชัยสถาพร (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่... SNNP กำไรพุ่ง! รับแรงหนุนสินค้าใหม่-การตลาด 360 องศา — นายฐากร ชัยสถาพร (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล (ขวา) รองกรรมการผู้จัดการอาว...