กทม. รุกเข้มเฝ้าระวังโรคผื่นกุหลาบ แนะวิธีป้องกันตนเอง ลดความเสี่ยงแพร่ระบาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของ กทม. เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยหากพบการแพร่ระบาดของโรคผื่นกุหลาบในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้ประสานกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคผื่นกุหลาบอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที เบื้องต้นได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคผื่นกุหลาบ โดยแพทย์มักวินิจฉัยผื่นกุหลาบด้วยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดความผิดปกติ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจสั่งตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ บริเวณที่เป็นผื่นแล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเชื้อรา เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นที่มีอาการคล้ายผื่นกุหลาบ ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดแผล หรือผื่นตามร่างกายคล้ายผื่นกุหลาบ ในบางกรณีที่ผื่นไม่มีลักษณะสำคัญที่ทำให้วินิจฉัยจากอาหารได้ อาจต้องตัดชื้นเนื้อผิวหนังตรวจ เช่น กรณีเป็น Atypical pityriasis rosea ลักษณะของผื่นกุหลาบ ค่อนข้างคล้ายกับผื่นโรคอื่น ๆ และอาจสร้างความสับสนเกี่ยวกับอาการ และอาจทำให้ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม หากรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการลุกลาม ทั้งอาการผื่น หรืออาการอื่น ๆ ควรรีบพบแพทย์และรับการรักษาโดยทันที โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-35 ปี พบได้ในทุกเชื้อชาติ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 2:1 ผื่นมักเกิดอยู่นานประมาณ 6-8 สัปดาห์แล้วหายได้เอง แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 15 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จะพบความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

กทม. รุกเข้มเฝ้าระวังโรคผื่นกุหลาบ แนะวิธีป้องกันตนเอง ลดความเสี่ยงแพร่ระบาด

นอกจากนี้ สนพ. ได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคผื่นกุหลาบเป็นขั้นตอนสำคัญ โดยเพิ่มความรู้และความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับโรค เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคผื่นกุหลาบบางรายอาจเป็นนานถึง 5 เดือนหรือมากกว่า โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย การได้รับวัคซีน ผื่นแพ้ยุงและแมลง และยาบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดผื่นแบบเดียวกันได้ ทั้งนี้ โรคผื่นกุหลาบเป็นโรคผิวหนังที่ไม่ค่อยรุนแรง ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาของผิวหนังต่อภาวะบางอย่าง เช่น โรคติดเชื้อไวรัสบางชนิดในกลุ่ม Human herpes virus 6, 7 ซึ่งไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคเริมและโรคอีสุกอีใส และผื่นกุหลาบไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผิวหนังที่เป็นโรคได้ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ การใช้ยาบางประเภทก็อาจกระตุ้นให้เกิดผื่นกุหลาบได้ เช่น Captopril ยาลดความดันโลหิตกลุ่มยาต้านเอนไซม์เอซีอี ยาฆ่าเชื้อ Metronidazole ยา Isotretinoin ที่ใช้รักษาสิว ยา Omeprazole สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ยา Terbinafine สำหรับรักษาเชื้อรา เป็นต้น

สำหรับการดูแลตัวเองสำหรับโรคผื่นกุหลาบ ได้แก่ อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรือน้ำอุ่นจัด เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสูตรอ่อนโยน และไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมหลีกเลี่ยงการเกาผื่น ถูผื่นแรง ๆ และตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากการเกา สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ก่อให้เกิดการเสียดสีระคายเคืองต่อผิวหนัง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน เพราะสภาพอากาศที่อบอ้าวและการมีเหงื่อออกมากอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และหากผู้ป่วยบางรายสังเกตตัวเองว่า มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นได้บ่อยก็อาจหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ยาบางชนิด อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง เหงื่อ สิ่งแวดล้อมบางอย่าง เป็นต้น คำแนะนำในการปฏิบัติตนและพยากรณ์โรค จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจภาวะที่เป็นมากขึ้น ไม่เครียดไม่กังวลจนเกินไป การรักษาตามอาการ เช่น ยารับประทานลดอาการคัน หรือยาทากลุ่ม Steroid จะช่วยบรรเทาอาการคันได้ หากสงสัยในอาการเจ็บป่วยสามารถพบแพทย์ผ่านทาง Telemedicine แอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรึกษาเรื่องสุขภาพ โทรสายด่วนสุขภาพ สนพ. 1646 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


ข่าวเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

กทม. เฝ้าระวังโควิด 19 ในกลุ่มเด็กเล็ก เน้นย้ำมาตรการป้องกันช่วงเปิดเทอม

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด 19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-4 ปี ซึ่งพบว่า มีรายงานการป่วยจำนวนมาก โดย สนพ.ได้ประสานกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิด โดยตั้งแต่ เม.ย. 8 พ.ค. 68 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการโรงพยาบาลในสังกัดรวม 1,974 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยใน (IPD) 11 ราย

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. ยกระดับเฝ้าระวังไข้หวัดนก-เร่งตรวจตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม...

กทม. เร่งเพิ่มบุคลากร รพ.รัตนประชารักษ์ รองรับการให้บริการเต็มรูปแบบ

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการโรงพยาบาลรัตนประชารักษ์ (โรงพยาบาลคลองสามวา) เพื่อให้บริการประชาชนอย่างเต็มรูปแบบว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลรัตนประชารักษ์...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เปิดให้บริการ รพ.บุษราคัมจิตการุณย์ เขตสายไหม พร้อมเปิดเต็มรูปแบบปี 70 — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการข...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. รุกเข้มมาตรการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก เน้นย้ำคนกรุงปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป. — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าว...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มเฝ้าระวังโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ - เตรียมพร้อมสถานพยาบาลรองรับผู้ป่วย — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถ...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มเฝ้าระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จัดระบบบริการสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงสถานกา...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมสถานพยาบาลรองรับโรคในช่วงฤดูฝน แนะ 7 กลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม....