"โมลด์เมท" บริษัทผลิตยางตันรถยก ใช้เทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สู้ตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--สวทช. แม้ว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก แต่ก็ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ราคาจึงขึ้นลงตามตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องมากจากความต้องการของผู้บริโภคยางพารา คือ บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ๆ เช่น บริดจ์สโตน กู๊ดเยียร์ มิชิลิน เป็นต้น ซึ่งไม่มีบริษัทใดเลยที่เป็นของคนไทย ในช่วงเวลาที่ตลาดยางพารามีราคาตกต่ำ รัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้กลไกต่างๆ เพื่อเข้าไปพยุงราคายาง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยการแทรกแซงราคา เช่น รับจำนำยางพารา กว้านซื้อมาเก็บ และ มาตรการล่าสสุดคือใช้ความร่วมมือของประเทศผู้ส่งออกยางพาราทั้งหมดในอาเซี่ยน เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง แต่ไม่ว่ามาตรการใดๆ ก็ไม่สามารถบรรลุผลเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากการจะสร้างราคาที่แท้จริงได้ ต้องมีการเพิ่มความต้องการใช้ยางพาราของประเทศในช่วงที่ราคาตกต่ำอย่างแท้จริง ปริมาณการส่งออกก็จะลดลง ในขณะเดียวกันจะทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นโดยปริยาย บริษัท โมลด์เมท จำกัด ผู้ผลิตยางต้นสำหรับรถโพล์คคลิฟรายใหญ่ในประเทศรายหนึ่ง ที่มีการใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบกว่าปีละ 1,300 ตัน จึงเป็นเอกชนรายหนึ่งที่รัฐควรให้ความสน และน่าที่จะเป็นแบบอย่างในการสร้าง และสนับสนุนอุตสาหกรรมประเภทนี้ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศไทยได้อย่างถาวร นายสุพจน์ เตชานุรักษ์ ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่า บริษัทเริ่มต้นธุรกิจเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ด้วยความคิดว่าที่ประเทศไทยผลิตน้ำยางพาราสูงติดอันดับโลก จึงน่าที่จะดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ประกอบกับขณะนี้ในเมืองไทยยังไม่มีการผลิตน้ำยางข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ บริษัทจึงเริ่มต้นทำธุรกิจจากวัตถุดิบน้ำยางข้นกับน้ำยางแท่ง ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทเล็ก ๆ ที่ทำชิ้นส่วนยางในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง หลังจากบริษัทเริ่มดำเนินกิจการได้ประมาณหนึ่งปี เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหา เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นที่ร่วมทุนด้วยเป็นบริษัทขนาดเล็กจึงได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จึงขอถอนหุ้นออกทำให้โมลด์เมดประสบปัญหา โดยยอดสั่งซื้อสินค้าลดลงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ "ช่วงนั้นผู้บริหารต้องนั่งประชุมกันว่าจะดำเนินธุรกิจต่อหรือไม่อย่างไร หากดำเนินธุรกิจต่อจะขายสินค้าอะไร ซึ่งบริษัทต้องใช้เวลาถึง 2-3 ปี ในการทดลองทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาทดลองขายในตลาด โดยตัวผลิตภัณฑ์ยังเกี่ยวเนื่องกับวัตถุดิบน้ำยางข้นเหมือนเดิม ประกอบกับช่วงนั้นยางตันเป็นสินค้าที่น่าสนใจ เพราะยังไม่มีผู้ผลิตรายใดในประเทศทำการผลิต บริษัทจึงเริ่มพัฒนายางตันที่ใช้กับรถโฟล์คลิฟต์ที่วิ่งใช้งานในระดับความเร็วไม่มาก เรื่องของปัญหาความปลอดภัยจึงไม่มีปัญหา แต่กลับพบปัญหาในเรื่องในตัวโฟล์ดลิฟต์ที่ใช้งานหนักและใช้งานอยู่ตลอดเวลา จึงต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับในช่วงนั้นเป็นวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2539 โมล์ดเมดต้องพบกับวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ ส่งผลให้บริษัทขนาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่ด้วยเหตุที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่ดีมองการณ์ไกล จึงเริ่มเปลี่ยนแผนการตลาดใหม่ด้วยการหันไปทำตลาดต่างประเทศแทนตลาดในประเทศ" นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าไปขอรับคำแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐหลายๆ หน่วยงาน โดยแต่ละหน่วยงานก็จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญหลายๆ สาขาเข้ามาให้ความรู้กับพนักงานซึ่งนักวิชาการเหล่านั้นล้วนมีมุมมองที่หลากหลายช่วยให้กระบวนการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของบริษัทดำเนินไปได้ด้วยดี นายสุพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าบริษัท โมลด์เมดจะประสบผลสำเร็จในเรื่องการผลิตยางตันแล้วก็ตาม แต่ยังพบว่าในส่วนกระบวนการผลิตนั้นยังมีปัญหาอยู่มาก จึงขอรับความช่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมไทย หรือ ITAP ในชื่อโครงการ "การปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางตันรถยก" ด้วยมองว่า ทาง สวทช. มีผู้เชี่ยวชาญที่รอบรู้หลายสาขา จึงน่าที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือบริษัทได้ โดยการขอรับความช่วยเหลือนั้นบริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงคุณภาพยาง เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ในที่นี้ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ทีเดียว แต่บริษัทนำสินค้าที่มีอยู่แล้ว ก็คือ ยางตัน มาเพิ่มคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากสินค้าที่มีอยู่ในตลาด เช่น คุณภาพยางตันที่สามารถทนต่อการฉีดขาดได้ถ้านำไปใช้ในโรงงานทำแก้ว เป็นต้น "เราต้องฉีกตัวสินค้าจาก Need Mating ให้เป็น Need Mating อีกขั้นหนึ่ง ตรงนี้เป็นผลมาจากการศึกษาปัญหาที่เกิดกับลูกค้าที่ใช้สินค้าของบริษัท ซึ่งทาง สวทช. ได้เข้ามาช่วยเหลือ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาชิ้นงานให้ตรงตามความต้องการ นับเป็นสิ่งที่ดีถ้าเทียบจากอดีตที่ไม่เคยมีหน่วยงานใดเข้ามาแนะนำให้กับผู้ประกอบการเล็ก ๆ หรือ SMEs ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการเล็ก ๆ จะอยู่ที่การทำงาน ถ้าเราทำงานแบบไหนก็จะทำงานแบบนั้นไปเรื่อย ๆ การพัฒนาจะไม่เกิดขึ้น แต่พอมีหน่วยงานของรัฐ เช่น สวทช. เข้ามาช่วยเหลือแนะนำทำให้บริษัทมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งขณะนี้บริษัท โมลด์เมดกำลังตั้งแผนกพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อขยายการทำงานออกไป สรุปได้ ความรู้ใหม่ที่จาก สวทช. ผนวกเข้ากับความรู้เก่าที่บริษัทมีอยู่ ทำให้องค์เกิดความเข้มแข็งขึ้น" ผู้จัดการทั่วไปกล่าวทิ้งท้าย คุณหงษ์สุดา สอนกลิ่น ที่ปรึกษาเทคโนโลยีโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การที่ สวทช.เข้าไปให้ความช่วยเหลือบริษัท โมลด์เมด จำกัด เนื่องจากเล็งเห็นว่าบริษัทโมลด์เมดสามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นได้ด้วยตัวเอง จึงคิดว่าหากได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและเป็นระบบบริษัทน่าจะพัฒนาเทคโนโลยีได้สูงขึ้น นายสุพจน์ กล่าวตอนท้ายว่า การขอรับความช่วยเหลือจาก สวทช.ครั้งนี้ส่งผลให้บริษัทได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้บริษัทมียอดขายสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลงแล้ว สิ่งหนึ่งที่บริษัทได้รับก็คือ ความสำคัญของบุคคลากร เพราะบุคลากรถือเป็นุบคคลสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้บริษัทพัฒนาและก้าวหน้าต่อไปได้ การรู้จักช่องทางและแสวงความช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและเอกชนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้บริษัท โมลด์เมด จำกัด ประสบผลสำเร็จในการผลิตยางตันรถยกของเมืองไทยได้เป็นอย่างดี--จบ-- -รก-

ข่าวพัฒนาผลิตภัณฑ์+ผลิตภัณฑ์ใหม่วันนี้

CIBA DPU ตอบรับเทรนด์รักษ์โลก ใน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568" ชูผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า ภายใต้แนวคิด 'Zero Waste'

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมนำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากผ้าทอมือลายวิจิตรนนทรี ภายในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)" โดยผลงานดังกล่าว อยู่ภายใต้โครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 6 ชูแนวคิด Zero Waste ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษผ้า เพื่อลดปริมาณขยะและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษผ้าที่เหลือทิ้งจากการตัดเย็บ อาทิ กิ๊บติดผม โบว์ กระเป๋า และอื่น ๆ เจาะกลุ่มตลาดวัยรุ่น ตั้งเป้าเพื่อเพิ่มราย

ดร.วรวัฒน์ ชิ้นปิ่นเกลียว ประธานเจ้าหน้าท... COCOCO เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ดันนวัตกรรมมะพร้าวไทยสู่เวทีโลก ในงาน THAIFEX - Anuga Asia 2025 — ดร.วรวัฒน์ ชิ้นปิ่นเกลียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผ...

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย Data Analytic &... DIPROM เชิญชวนเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย Data Analytic & Plug-in Media — กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย Data Analytic & Plug-in Media สาขาของใช้ ขอ...

CH เผยผลประกอบการปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง ... CH ฟอร์มสวย อวดงบปี 67 รายได้ 2,275 ลบ. กำไรพุ่ง 125.44% แง้มข่าวดีเตรียมจ่ายปันผล 0.10 บาท/หุ้น — CH เผยผลประกอบการปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง กวาดรายได้ 2,2...

IUX ได้ร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ BITA ผู้เชี่... IUX ร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ BITA ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดัชนีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ — IUX ได้ร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ BITA ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดัชนี เพ...

FORTRON (โฟรตรอน) ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง ... เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ FORTRON SUPREME LONG LIFE COOLANT ครั้งแรก ในงาน MOTOR EXPO 2024 — FORTRON (โฟรตรอน) ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง และสารเพิ่มประสิทธิภาพเคร...