<strong>เนอร์มาคอมจากบริษัทเฮเทอโร ได้รับการรับรองคุณสมบัติเบื้องต้นจากองค์การอนามัยโลก เป็นยาแพกซ์โลวิดชนิดยาสามัญแบบรับประทานตัวแรกของโลกเพื่อรักษาโรคโควิด-19</strong>

27 Dec 2022
  • 'เนอร์มาคอม' (เนอร์มาเทรลเวียร์) ของบริษัทเฮเทอโร ซึ่งนำยาแพกซ์โลวิดต้านไวรัสโควิด-19 แบบรับประทานของไฟเซอร์มาพัฒนาเป็นยาสามัญ ได้นำมาบรรจุร่วมกับยาริโตนาเวียร์แบบเม็ด
  • เฮเทอโรหวังเปิดตัวยาเนอร์มาคอม เพื่อให้ประเทศกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง รวมถึงอินเดีย รวม 95 แห่ง เข้าถึงยาต้านไวรัสที่มีความล้ำหน้าเช่นนี้

เฮเทอโร (Hetero) บริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำของอินเดียที่ดำเนินธุรกิจครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลก ประกาศว่า ยาเนอร์มาเทรลเวียร์ (nirmatrelvir) ซึ่งเป็นยารักษาไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทานในรูปแบบยาสามัญที่บริษัทกำลังพัฒนา ได้รับการรับรองคุณสมบัติขั้นต้นตามโครงการรับรองคุณสมบัติเวชภัณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization Prequalification of Medicines Program หรือ WHO PQ) แล้ว นับเป็นการรับรองคุณสมบัติขั้นต้นครั้งแรกให้กับยาสามัญที่พัฒนาต่อยอดมาจากยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ต้านไวรัสโควิด-19 แบบรับประทานของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกยกให้เป็นตัวเลือกการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยความเสี่ยงสูงนับจนถึงทุกวันนี้[1]

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำแนะนำอย่างจริงจัง ในการใช้ยาเนอร์มาเทรลเวียร์และริโตนาเวียร์ (ritonavir) รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการไม่รุนแรงถึงปานกลางที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เช่น ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ

เฮเทอโรนำยาทั้งสองตัวนี้มาพัฒนาเป็นยาชุดชื่อเนอร์มาคอม (Nirmacom) ซึ่งจะประกอบด้วยยาเนอร์มาเทรลเวียร์ 150 มิลลิกรัม (2 เม็ด) และยาริโตนาเวียร์ 100 มิลลิกรัม (1 เม็ด) โดยต้องมีใบสั่งยาเท่านั้น และควรให้ยาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังวินิจฉัยพบโรคโควิด-19 และภายใน 5 วันหลังเริ่มแสดงอาการ ทั้งนี้ เนอร์มาคอมจะผลิตที่โรงงานของเฮเทอโรในอินเดีย

ดร.วัมสี คริชนา บันดี ( Vamsi Krishna Bandi) กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทเฮเทอโร กล่าวว่า "การที่ WHO รับรองคุณสมบัติเบื้องต้นให้เนอร์มาคอมนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 เพราะเปิดโอกาสให้เราขยายการเข้าถึงยาต้านรีโทรไวรัสที่มีความล้ำหน้าเช่นนี้แก่ผู้ที่ต้องการ เรามุ่งมั่นในการเร่งให้เนอร์มาคอมเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลงในประเทศกลุ่ม LMIC รวม 95 แห่ง เช่นเดียวกับอินเดีย"

เฮเทอโรได้บรรลุข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิอย่างสมัครใจโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวกับองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (Medicines Patent Pool หรือ MPP) ในการผลิตและจัดจำหน่ายยาเนอร์มาเทรลเวียร์ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากยาต้านไวรัสโควิด-19 แบบรับประทานของบริษัทไฟเซอร์ ให้เป็นยาสามัญ โดยนำมาบรรจุร่วมกับยาริโตนาเวียร์ (เนอร์มาเทรลเวียร์ ริโตนาเวียร์) ในประเทศกลุ่ม LMIC

ชาร์ลส์ กอร์ ( Charles Gore) กรรมการบริหารองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้เห็นยาเนอร์มาเทรลเวียร์ในรูปแบบยาสามัญตัวแรกภายใต้ใบอนุญาต MPP กับไฟเซอร์ ได้รับการรับรองคุณภาพจาก WHO นับเป็นความสำเร็จอันน่าประทับใจจากเฮเทอโร หลังจากที่เราได้ประเทศข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงเมื่อเพียง 9 เดือนที่แล้ว ปัจจุบัน โรคโควิด-19 กลับมาระบาดจนมีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกครั้ง เราจำเป็นต้องทำให้ประเทศกลุ่ม LMIC มีการรักษาเพียบพร้อม เพื่อไม่ให้ใครถูกทอดทิ้ง"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮเทอโร ได้ที่ www.hetero.com 

[1] https://www.who.int/news/item/22-04-2022-who-recommends-highly-successful-covid-19-therapy-and-calls-for-wide-geographical-distribution-and-transparency-from-originator  

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1974465/Hetero_Logo.jpg