ออลล์ อินสไปร์ เดินหน้าลงทุนธุรกิจคาร์บอนเครดิตรายแรกของประเทศไทย หวังเป็นฐานรายได้ใหม่ของประเทศ เสริมสร้างธุรกิจสีเขียวและยั่งยืน พร้อมการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป

20 May 2022

บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประกาศการลงทุนในธุรกิจคาร์บอนเครดิต พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จัดตั้งธุรกิจคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย กับพันธมิตรระดับโลก บริษัท GSI เจ้าของแพลตฟอร์มจัดการธุรกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิตด้วยบล็อกเชนรายแรกของโลก เพื่อดำเนินการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย หวังให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม สร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เติบโต สร้างผลกำไรให้กับนักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ออลล์ อินสไปร์ เดินหน้าลงทุนธุรกิจคาร์บอนเครดิตรายแรกของประเทศไทย หวังเป็นฐานรายได้ใหม่ของประเทศ เสริมสร้างธุรกิจสีเขียวและยั่งยืน พร้อมการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป

คุณธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากแนวคิด All New Era" ออลล์ อินสไปร์ ยุคใหม่" ที่ไม่หยุดแค่อสังหาริมทรัพย์อีกต่อไป แต่แสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ในการนำพาองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่การลดการสร้างมลภาวะในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ Net-Zero Future จึงมีการประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) จัดตั้งธุรกิจคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย กับพันธมิตรระดับโลกคือ บริษัท GSI เจ้าของแพลตฟอร์มจัดการธุรกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิตด้วยบล็อกเชนรายแรกของโลก ที่มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี

นับเป็นก้าวที่สำคัญของบริษัทฯ ที่ทำให้ ออลล์ อินสไปร์ เป็นนักลงทุนรายแรกของประเทศไทยที่เข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนเครดิต ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่จะประกอบด้วย บริษัทร่วมทุนในประเทศไทยและในสิงคโปร์เพื่อครอบคลุมธุรกิจทั้งภายในประเทศไทยและในภูมิภาค

สำหรับระยะเวลาในการดำเนินงานนั้นช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ถึง ไตรมาสที่ 1/2565 ทำการสร้างทีมบริหารจัดการ และPartnership Agreement ถัดมาในไตรมาสที่ 2-3/2565 จะเป็นการพัฒนาระบบ infrastructure ของแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นในไตรมาสที่ 3/2565 จะทำการเปิดตัว Marketplace / Platform ให้เป็นที่รู้จักและเริ่มเปิดการใช้งานลูกค้าสามารถเข้ามาใช้แพลตฟอร์มได้ ขณะเดียวกันก็จะดำเนินการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มเติม features ต่างๆ ให้เต็มรูปแบบมากขึ้น ภายในไตรมาสที่ 4/2565 จะมีการจัดตั้ง Investment Fund เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไป

คาดการณ์ปริมาณการซื้อ-ขายผ่าน Marketplace ของบริษัทฯ ในปี 2022 (Q4) เท่ากับ 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปี2023 เท่ากับ 15.28 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปี 2024 เท่ากับ 28.86 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปี 2025 เท่ากับ 44.95 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และปี 2026 เท่ากับ 50.77 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โดยปี 2565 นี้ บริษัทฯ ต้องการบรรลุเป้าหมายปริมาณในการค้าคาร์บอนเครดิต (Trade Carbon credit) ไว้ที่ 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2566 เป็นต้นไป พร้อมขยายธุรกิจไปสู่ Global Market ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะสร้างความแข็งแกร่ง หากเป็นไปตามเป้าหมาย และแผนการที่วางไว้ บริษัทมุ่งหวังที่จะนำบริษัทคาร์บอนเครดิตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นลำดับถัดไป

เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตฯ

ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลกระทบกับชีวิตคนทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตและพัฒนาโลกโดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลานาน นับวันผลกระทบเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น พันธกิจการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นพันธกิจที่ต้องการความร่วมมือ จากทุกฝ่าย ทุกคน ร่วมกันสร้าง Net Zero คือ การไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มเติม หมายความว่าเราต้องทั้งลดการปล่อยก๊าซให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทั้งกำจัดก๊าซในปริมาณที่เทียบเท่ากันกับการปล่อยออกมา ภายใต้ Paris Agreement (ข้อตกลงปารีส) : ซึ่งเป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

เมื่อเดือนเมษายน 2564 มีประเทศที่ให้สัตยาบันในพันธกิจลดการปล่อยก๊าซถึง 195 ประเทศ นับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่จะนำไปสู่การหยุดยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และถ้าเป็นไปได้จะควบคุมไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เป็นพันธกิจที่มนุษยชาติต้องร่วมด้วยช่วยกัน คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2030 และ ลดให้เป็น Net Zero ภายในปี 2050

คาร์บอนเครดิต คือ การนำปริมาณการลดใช้ก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่าเป้าหมายในแต่ละแห่งมาเปลี่ยนแปลงให้สามารถซื้อ-ขายได้ เปรียบเหมือนเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับเป็นใบอนุญาตการซื้อขายที่ก่อให้เกิดสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ สู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

คาร์บอนเครดิต ถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพันธกิจ Net Zero เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก / ผู้ประกอบการรายใด ที่ยังไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ ก็ยังสามารถทดแทนด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้ผูประกอบการในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ในตลาดโลก

ภาพรวมของตลาดคาร์บอนเครดิต (MARKET SIZE) เมื่อปี 2020 มีมูลค่าประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ ประมาณ 12,000 ล้านบาท) คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดจะสูงถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 750,000 ล้านบาท ในปี 2030 ทั้งนี้ มูลค่าตลาดคาร์บอนเครดิตขึ้นอยู่กับความสามารถในการบรรลุพันธกิจ Net Zero ของทุกภาคส่วนทั่วโลก

ประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลกโดย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยนั้น อยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก อยู่ที่ราว 256 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็น 1% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งโลกที่ถูกปล่อยออกมา ก๊าซเรือนกระจกนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากภาคการผลิตไฟฟ้าถึง 39% สำหรับประเทศไทยตัวเลขในปี 2021 จำนวนประชากรประมาณ 67 ล้านคน ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยเทียบเท่าประมาณ 3.8 ล้านตัน ต่อปีแม้ว่าจะมีมาตรการมากมายเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ตัวเลข emissions ในไทยกลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 53% จากปี 2000 (พ.ศ.2543)

สำหรับตลาดการซื้อ-ขาย Carbon Credits จะใช้หลัก Cap and Trade (การกำหนดเพดานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดสรรสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉพาะก๊าซ CO2) ในรูปของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ปล่อยได้ ผู้ทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตคือ บริษัทที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า cap ที่กำหนดไว้ ทำให้มี surplus (ส่วนเกิน) ที่สามารถขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ กับบริษัทที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการผลิตมากกว่า cap ที่กำหนดไว้ (excess GHG emissions) สิ่งที่บริษัทต้องทำ คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์หรือซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อทดแทน offset